แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
ประมวลกฎหมายอาญา
กระทรวงยุติธรรม
คณะรัฐมนตรี
กฎกระทรวง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติและร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยสิ่งของต้องห้ามนำเข้ามาหรือเก็บรักษาไว้ในสถานที่กักขัง พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2506 ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บางมาตราไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ทำให้การปฏิบัติต่อผู้ต้องกักขังในภารกิจหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องบทบัญญัติรับรองสิทธิของผู้ต้องกักขัง อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเป็นต้องทำการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวเสียใหม่ และโดยที่กฎกระทรวง (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังฯ ได้กำหนดสิ่งของต้องห้ามไว้แต่ไม่ครอบคลุมเพียงพอ โดยยังมิได้กำหนดสิ่งของบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี เป็นสิ่งของต้องห้ามนำเข้ามาหรือเก็บรักษาไว้ในสถานที่กักขัง ดังนั้นสมควรกำหนดให้สิ่งของดังกล่าวเป็นสิ่งของต้องห้ามนำเข้ามาหรือเก็บรักษาไว้ในสถานที่กักขัง เพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องกักขังนำเข้ามาใช้ในการกระทำความผิดระหว่างที่ถูกกักขังในสถานที่กักขัง ประกอบกับสมควรกำหนดยกเว้นให้สิ่งของเหล่านี้สามารถมีไว้ในสถานที่กักขังเพื่อใช้ในราชการได้ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติราชการ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติและร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
1. ร่างพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2506 ดังนี้
1.1 กำหนดข้อยกเว้นโดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องกักขังที่วิกลจริตและกรณีการควบคุมตัวผู้ต้องกักขังออกไปนอกสถานที่กักขังได้ (ร่างมาตรา 3 เพิ่มเติมเป็นมาตรา 5/1)
1.2 กำหนดบทบัญญัติรับรองสิทธิของผู้ต้องกักขังที่จะสามารถยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ยื่นเรื่องราวใด ๆ และถวายฎีกา (ร่างมาตรา 4 เพิ่มเติมเป็นมาตรา 5/2)
1.3 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบจดหมาย เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่น หรือสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารที่มีจาก หรือถึงผู้ต้องกักขังได้ (ร่างมาตรา 5 เพิ่มเติมเป็นมาตรา 5/3)
1.4 กำหนดให้ผู้ต้องกักขังหญิงมีครรภ์ถือเป็นผู้ป่วยเจ็บโดยอนุโลม (ร่างมาตรา 6 เพิ่มเติมเป็นมาตรา 8 วรรค 4)
1.5 เพิ่มระวางโทษสำหรับผู้ต้องกักขังที่ถูกปล่อยตัวไปกรณีมีเหตุฉุกเฉินไม่ปลอดภัยแก่การคุมขัง แล้วไม่กลับมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันควร เฉพาะในส่วนของโทษปรับ โดยเพิ่มจากเดิมปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท เป็นไม่เกินสองหมื่นบาท (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 วรรค 2)
1.6 กำหนดให้การรับเงินตราหรือสิ่งของต้องห้ามและการนำออกไปซึ่งสิ่งของดังกล่าวจากสถานที่กักขังถือเป็นความผิด และเพิ่มระวางโทษแก่ผู้ที่กระทำความผิด จากเดิมจำคุกไม่เกินสามเดือน ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นจำคุกไม่เกินหนึ่งปีปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบทรัพย์สินเช่นว่านั้นตกเป็นของแผ่นดิน (ร่างมาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 10)
1.7 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาสถานที่กักขังมีอำนาจที่จะดำเนินการลงโทษทางวินัยแทนการส่งเรื่องเพื่อดำเนินคดีอาญา กรณีผู้ต้องกักขังแทนค่าปรับกระทำผิดอาญาในความผิดลหุโทษ หรือความผิดมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัตินี้ในสถานที่กักขัง (ร่างมาตรา 9 เพิ่มเติมเป็นมาตรา 10/1)
2. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยสิ่งของต้องห้ามนำเข้ามาหรือเก็บรักษาไว้ในสถานที่กักขัง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท สารระเหย สุราหรือของเมาอย่างอื่น อุปกรณ์สำหรับเล่นการพนัน เครื่องมืออันเป็นอุปกรณ์ในการหลบหนี เครื่องมือสำหรับสักร่างกาย อาวุธ เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง สิ่งเทียมอาวุธปืน น้ำมันเชื้อเพลิง สัตว์มีชีวิต ของเน่าเสียหรือของมีพิษต่อร่างกาย เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่น รวมทั้งอุปกรณ์สำหรับสิ่งของดังกล่าว และวัตถุ เอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือเสื่อมเสียต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นสิ่งของต้องห้ามนำเข้ามาหรือเก็บรักษาไว้ในสถานที่กักขัง ยกเว้นสิ่งของดังกล่าวมีไว้เพื่อใช้ในราชการ (ร่างข้อ 2 และร่างข้อ 3)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยสิ่งของต้องห้ามนำเข้ามาหรือเก็บรักษาไว้ในสถานที่กักขัง พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2506 ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บางมาตราไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ทำให้การปฏิบัติต่อผู้ต้องกักขังในภารกิจหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องบทบัญญัติรับรองสิทธิของผู้ต้องกักขัง อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเป็นต้องทำการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวเสียใหม่ และโดยที่กฎกระทรวง (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังฯ ได้กำหนดสิ่งของต้องห้ามไว้แต่ไม่ครอบคลุมเพียงพอ โดยยังมิได้กำหนดสิ่งของบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี เป็นสิ่งของต้องห้ามนำเข้ามาหรือเก็บรักษาไว้ในสถานที่กักขัง ดังนั้นสมควรกำหนดให้สิ่งของดังกล่าวเป็นสิ่งของต้องห้ามนำเข้ามาหรือเก็บรักษาไว้ในสถานที่กักขัง เพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องกักขังนำเข้ามาใช้ในการกระทำความผิดระหว่างที่ถูกกักขังในสถานที่กักขัง ประกอบกับสมควรกำหนดยกเว้นให้สิ่งของเหล่านี้สามารถมีไว้ในสถานที่กักขังเพื่อใช้ในราชการได้ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติราชการ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติและร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
1. ร่างพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2506 ดังนี้
1.1 กำหนดข้อยกเว้นโดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องกักขังที่วิกลจริตและกรณีการควบคุมตัวผู้ต้องกักขังออกไปนอกสถานที่กักขังได้ (ร่างมาตรา 3 เพิ่มเติมเป็นมาตรา 5/1)
1.2 กำหนดบทบัญญัติรับรองสิทธิของผู้ต้องกักขังที่จะสามารถยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ยื่นเรื่องราวใด ๆ และถวายฎีกา (ร่างมาตรา 4 เพิ่มเติมเป็นมาตรา 5/2)
1.3 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบจดหมาย เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่น หรือสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารที่มีจาก หรือถึงผู้ต้องกักขังได้ (ร่างมาตรา 5 เพิ่มเติมเป็นมาตรา 5/3)
1.4 กำหนดให้ผู้ต้องกักขังหญิงมีครรภ์ถือเป็นผู้ป่วยเจ็บโดยอนุโลม (ร่างมาตรา 6 เพิ่มเติมเป็นมาตรา 8 วรรค 4)
1.5 เพิ่มระวางโทษสำหรับผู้ต้องกักขังที่ถูกปล่อยตัวไปกรณีมีเหตุฉุกเฉินไม่ปลอดภัยแก่การคุมขัง แล้วไม่กลับมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันควร เฉพาะในส่วนของโทษปรับ โดยเพิ่มจากเดิมปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท เป็นไม่เกินสองหมื่นบาท (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 วรรค 2)
1.6 กำหนดให้การรับเงินตราหรือสิ่งของต้องห้ามและการนำออกไปซึ่งสิ่งของดังกล่าวจากสถานที่กักขังถือเป็นความผิด และเพิ่มระวางโทษแก่ผู้ที่กระทำความผิด จากเดิมจำคุกไม่เกินสามเดือน ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นจำคุกไม่เกินหนึ่งปีปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบทรัพย์สินเช่นว่านั้นตกเป็นของแผ่นดิน (ร่างมาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 10)
1.7 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาสถานที่กักขังมีอำนาจที่จะดำเนินการลงโทษทางวินัยแทนการส่งเรื่องเพื่อดำเนินคดีอาญา กรณีผู้ต้องกักขังแทนค่าปรับกระทำผิดอาญาในความผิดลหุโทษ หรือความผิดมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัตินี้ในสถานที่กักขัง (ร่างมาตรา 9 เพิ่มเติมเป็นมาตรา 10/1)
2. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยสิ่งของต้องห้ามนำเข้ามาหรือเก็บรักษาไว้ในสถานที่กักขัง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท สารระเหย สุราหรือของเมาอย่างอื่น อุปกรณ์สำหรับเล่นการพนัน เครื่องมืออันเป็นอุปกรณ์ในการหลบหนี เครื่องมือสำหรับสักร่างกาย อาวุธ เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง สิ่งเทียมอาวุธปืน น้ำมันเชื้อเพลิง สัตว์มีชีวิต ของเน่าเสียหรือของมีพิษต่อร่างกาย เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่น รวมทั้งอุปกรณ์สำหรับสิ่งของดังกล่าว และวัตถุ เอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือเสื่อมเสียต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นสิ่งของต้องห้ามนำเข้ามาหรือเก็บรักษาไว้ในสถานที่กักขัง ยกเว้นสิ่งของดังกล่าวมีไว้เพื่อใช้ในราชการ (ร่างข้อ 2 และร่างข้อ 3)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--