คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่เห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท (พ.ศ.2550-2554) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยให้กระทรวงสาธารณสุขรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 และความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย ส่วนกรอบวงเงินแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท (พ.ศ.2550-2554) จำนวน 2,364 ล้านบาท นั้น ให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการและจัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องปรับแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2550 ที่ได้รับไปดำเนินการ ส่วนปีต่อ ๆ ไปให้พิจารณาจัดทำแผนและเสนอขอตั้งงบประมาณในเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อเป็นแผนแม่บทของประเทศ ซึ่งเป็นวิถีทางสำคัญของระบบสุขภาพของไทยในการปรับเปลี่ยนจากระบบบริการทางการแพทย์ที่เป็นแบบแผนเดียวอันได้แก่การแพทย์แผนปัจจุบันมาเป็นการแพทย์พหุลักษณ์หรือหลากหลายระบบที่มุ่งเน้นการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์หลายทางเลือกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในการดูแลบำบัดรักษาสุขภาพ และมุ่งเน้นให้เกิดการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชนและประเทศ โดยการใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิมในสังคมไทยอันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากและระดับประเทศให้เข้มแข็ง ทำให้ชุมชนและสังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญามุ่งสู่ระบบสุขภาพแบบพอเพียง ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2550-2554) ดังนี้
2.1 เป้าหมายการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศ
2.1.1 มีระบบการจัดการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่เข้มแข็งภายใน 3 ปี
2.1.2 มีระบบบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่มีมาตรฐาน/คุณภาพทัดเทียมกับระบบบริการการแพทย์แผนปัจจุบันภายใน 5 ปี
2.1.3 มีระบบสุขภาพภาคประชาชนที่เข้มแข็งโดยใช้ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในการดูแลสุขภาพของชุมชนท้องถิ่นภายใน 5 ปี
2.1.4 มีแผนแม่บทการพัฒนากำลังด้านการแพทย์พื้นบ้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอกับความต้องการภายใน 5 ปี
2.2 เป้าหมายการพัฒนาเพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ
2.2.1 มีการจัดการความรู้ภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ในทุกระดับตั้งแต่ชุมชนท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศภายใน 5 ปี
2.2.2 ยาไทยและยาสมุนไพรตั้งแต่การผลิตระดับชุมชนสถานบริการสาธารณสุขและโรงงานผลิตยาไทยมีคุณภาพ/มาตรฐานภายใน 5 ปี
2.2.3 มีการเพิ่มมูลค่า/ปริมาณการใช้ยาไทยและยาสมุนไพรอย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 5 ปี
2.2.4 มีระบบและกลไกที่เข้มแข็งในการคุ้มครองภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรภายใน 5 ปี
2.3 แผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท (พ.ศ. 2550-2554) ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
2.3.1 ยุทธศาสตร์ 1 การสร้างและจัดการความรู้ด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง และเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการใช้ประโยชน์ระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย ผู้บริหาร บุคลากรด้านสาธารณสุข นักวิชาชีพ หมอพื้นบ้าน หมอแผนไทยและประชาชนผู้รับบริการ
2.3.2 ยุทธศาสตร์ 2 การพัฒนาระบบสุขภาพการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
- วัตถุประสงค์ เพื่อให้ระบบสุขภาการแพทย์พื้นบ้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกในส่วนที่เป็นระบบสุขภาพภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของชุมชนท้องถิ่นและประชาชนในการดูแลสุขภาพ สามารถเชื่อมโยง ประสาน ผสมผสานกับระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ และเพื่อให้การบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในส่วนที่เป็นระบบบริการภาครัฐและภาคเอกชนมีมาตรฐาน
2.3.2 ยุทธศาสตร์ 3 การพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
- วัตถุประสงค์ เพื่อให้รู้สถานการณ์กำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก รวมทั้งรู้ศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของกำลังคนในด้านนี้ เพื่อที่จะได้มีทิศทางในการผลิตและพัฒนากำลังคนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และมีปริมาณอย่างเพียงพอกับความต้องการ
2.3.4 ยุทธศาสตร์ 4 การพัฒนายาไทยและยาสมุนไพร
- วัตถุประสงค์ เพื่อให้ยาไทยและยาสมุนไพรมีมาตรฐานตั้งแต่การผลิตระดับชุมชน ระดับสถานบริการสาธารณสุข และระดับโรงงานผลิตยา มีการศึกษาและวิจัยเป็นที่ยอมรับและบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติเพิ่มมากขึ้น
2.3.5 ยุทธศาสตร์ 5 การคุ้มครองภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย
- วัตถุประสงค์ เพื่อการคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนไทยและมวลมนุษยชาติไม่ตกเป็นผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม หรือเกิดความไม่เป็นธรรมในการใช้ประโยชน์การคุ้มครองภูมิปัญญาไทยต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และต้องพัฒนากลไกทางด้านกฎหมาย รวมทั้งความร่วมมือในระดับภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อเป็นแผนแม่บทของประเทศ ซึ่งเป็นวิถีทางสำคัญของระบบสุขภาพของไทยในการปรับเปลี่ยนจากระบบบริการทางการแพทย์ที่เป็นแบบแผนเดียวอันได้แก่การแพทย์แผนปัจจุบันมาเป็นการแพทย์พหุลักษณ์หรือหลากหลายระบบที่มุ่งเน้นการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์หลายทางเลือกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในการดูแลบำบัดรักษาสุขภาพ และมุ่งเน้นให้เกิดการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชนและประเทศ โดยการใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิมในสังคมไทยอันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากและระดับประเทศให้เข้มแข็ง ทำให้ชุมชนและสังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญามุ่งสู่ระบบสุขภาพแบบพอเพียง ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2550-2554) ดังนี้
2.1 เป้าหมายการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศ
2.1.1 มีระบบการจัดการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่เข้มแข็งภายใน 3 ปี
2.1.2 มีระบบบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่มีมาตรฐาน/คุณภาพทัดเทียมกับระบบบริการการแพทย์แผนปัจจุบันภายใน 5 ปี
2.1.3 มีระบบสุขภาพภาคประชาชนที่เข้มแข็งโดยใช้ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในการดูแลสุขภาพของชุมชนท้องถิ่นภายใน 5 ปี
2.1.4 มีแผนแม่บทการพัฒนากำลังด้านการแพทย์พื้นบ้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอกับความต้องการภายใน 5 ปี
2.2 เป้าหมายการพัฒนาเพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ
2.2.1 มีการจัดการความรู้ภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ในทุกระดับตั้งแต่ชุมชนท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศภายใน 5 ปี
2.2.2 ยาไทยและยาสมุนไพรตั้งแต่การผลิตระดับชุมชนสถานบริการสาธารณสุขและโรงงานผลิตยาไทยมีคุณภาพ/มาตรฐานภายใน 5 ปี
2.2.3 มีการเพิ่มมูลค่า/ปริมาณการใช้ยาไทยและยาสมุนไพรอย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 5 ปี
2.2.4 มีระบบและกลไกที่เข้มแข็งในการคุ้มครองภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรภายใน 5 ปี
2.3 แผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท (พ.ศ. 2550-2554) ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
2.3.1 ยุทธศาสตร์ 1 การสร้างและจัดการความรู้ด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง และเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการใช้ประโยชน์ระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย ผู้บริหาร บุคลากรด้านสาธารณสุข นักวิชาชีพ หมอพื้นบ้าน หมอแผนไทยและประชาชนผู้รับบริการ
2.3.2 ยุทธศาสตร์ 2 การพัฒนาระบบสุขภาพการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
- วัตถุประสงค์ เพื่อให้ระบบสุขภาการแพทย์พื้นบ้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกในส่วนที่เป็นระบบสุขภาพภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของชุมชนท้องถิ่นและประชาชนในการดูแลสุขภาพ สามารถเชื่อมโยง ประสาน ผสมผสานกับระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ และเพื่อให้การบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในส่วนที่เป็นระบบบริการภาครัฐและภาคเอกชนมีมาตรฐาน
2.3.2 ยุทธศาสตร์ 3 การพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
- วัตถุประสงค์ เพื่อให้รู้สถานการณ์กำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก รวมทั้งรู้ศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของกำลังคนในด้านนี้ เพื่อที่จะได้มีทิศทางในการผลิตและพัฒนากำลังคนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และมีปริมาณอย่างเพียงพอกับความต้องการ
2.3.4 ยุทธศาสตร์ 4 การพัฒนายาไทยและยาสมุนไพร
- วัตถุประสงค์ เพื่อให้ยาไทยและยาสมุนไพรมีมาตรฐานตั้งแต่การผลิตระดับชุมชน ระดับสถานบริการสาธารณสุข และระดับโรงงานผลิตยา มีการศึกษาและวิจัยเป็นที่ยอมรับและบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติเพิ่มมากขึ้น
2.3.5 ยุทธศาสตร์ 5 การคุ้มครองภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย
- วัตถุประสงค์ เพื่อการคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนไทยและมวลมนุษยชาติไม่ตกเป็นผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม หรือเกิดความไม่เป็นธรรมในการใช้ประโยชน์การคุ้มครองภูมิปัญญาไทยต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และต้องพัฒนากลไกทางด้านกฎหมาย รวมทั้งความร่วมมือในระดับภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--