แท็ก
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
สาธารณรัฐประชาชนจีน
สำนักนายกรัฐมนตรี
กรมประชาสัมพันธ์
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยกับสถานีวิทยุจีนระหว่างประเทศ โดยมอบให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานว่า กรมประชาสัมพันธ์แจ้งว่าปัจจุบันประเทศไทยและ
สาธารณรัฐประชาชนจีน ยังไม่เคยมีความร่วมมือในกิจกรรมด้านวิทยุและโทรทัศน์ ดังนั้น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์และสถานีวิทยุจีนระหว่างประเทศ (China Radio International-CRI) ได้ร่วมจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุจีนระหว่างประเทศ
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมให้กรมประชาสัมพันธ์และสถานีวิทยุจีนระหว่างประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีและต่อเนื่องเป็นประจำ ในด้านข้อสนเทศและวิทยุกระจายเสียงที่จะนำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือของประชาชนทั้งสองประเทศ
2. มุ่งเน้นให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนรายการในสาขาข่าวและข้อสนเทศ รายการเพลงและวัฒนธรรม การฝึกอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุม การสัมมนา ทัศนศึกษาและการเยือนความร่วมมือด้านเทคโนโลยี และสาขาความร่วมมืออื่น ๆ ที่จะตกลงร่วมกันต่อไป
ทั้งนี้ มีการกำหนดการลงนามในต้นปี 2548 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ซึ่งความร่วมมือในลักษณะนี้เคยทำกับวิทยุ BBC ของอังกฤษ และ VOA ของสหรัฐอเมริกามาแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานว่า กรมประชาสัมพันธ์แจ้งว่าปัจจุบันประเทศไทยและ
สาธารณรัฐประชาชนจีน ยังไม่เคยมีความร่วมมือในกิจกรรมด้านวิทยุและโทรทัศน์ ดังนั้น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์และสถานีวิทยุจีนระหว่างประเทศ (China Radio International-CRI) ได้ร่วมจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุจีนระหว่างประเทศ
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมให้กรมประชาสัมพันธ์และสถานีวิทยุจีนระหว่างประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีและต่อเนื่องเป็นประจำ ในด้านข้อสนเทศและวิทยุกระจายเสียงที่จะนำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือของประชาชนทั้งสองประเทศ
2. มุ่งเน้นให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนรายการในสาขาข่าวและข้อสนเทศ รายการเพลงและวัฒนธรรม การฝึกอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุม การสัมมนา ทัศนศึกษาและการเยือนความร่วมมือด้านเทคโนโลยี และสาขาความร่วมมืออื่น ๆ ที่จะตกลงร่วมกันต่อไป
ทั้งนี้ มีการกำหนดการลงนามในต้นปี 2548 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ซึ่งความร่วมมือในลักษณะนี้เคยทำกับวิทยุ BBC ของอังกฤษ และ VOA ของสหรัฐอเมริกามาแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--