คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ปี 2550 ครั้งที่ 1 ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 56,686 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 83 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2549 (52,313 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,373 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 11,360 และ 7,706 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 84 และ 81 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกัน จำนวน 19,066 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. สภาพน้ำ
สภาพความเค็ม ณ จุดที่เฝ้าระวังของแม่น้ำสายหลักต่างๆ ข้อมูล ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550
แม่น้ำ จุดเฝ้าระวัง ความเค็ม เกณฑ์
(กรัม/ลิตร)
เจ้าพระยา จ.นนทบุรี 0.160 ปกติ
ท่าจีน อ.สามพราน จ.นครปฐม 0.197 ปกติ
แม่กลอง ปากคลองดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 0.176 ปกติ
นครนายก ประตูระบายน้ำสมบูรณ์ จ.นครนายก 1.800 ปกติ
หมายเหตุ : เกณฑ์เฝ้าระวังค่าความเค็ม น้ำเพื่อการเกษตร ไม่เกิน 2.0 กรัม/ลิตร
น้ำเพื่อการผลิตน้ำประปา ไม่เกิน 0.25 กรัม/ลิตร
เพื่อเป็นการป้องกัน แก้ไขปัญหา และลดความเสียหายด้านการเกษตรจากภัยแล้ง กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ จึงได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2550 ซึ่งประกอบด้วย การเตรียมรับสถานการณ์ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย ดังนี้
1. การเตรียมรับสถานการณ์ก่อนเกิดภัย
(1) กำหนดมาตรการและเป้าหมายการปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 12.71 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 9.88 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 2.83 ล้านไร่ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 ได้ดำเนินการปลูกแล้ว 8.86 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 6.24 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 2.62 ล้านไร่
ในเขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม
เป้าหมาย ผล เป้าหมาย ผล เป้าหมาย ผล
ในเขตชลประทาน 7.80 5.73 0.87 0.51 8.67 6.24
นอกเขตชลประทาน 2.08 1.70 1.96 0.92 4.04 2.62
รวม 9.88 7.43 2.83 1.43 12.71 8.86
(2) กำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องและเพียงพอกับการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง
(3) การเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ 1,200 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 295 คัน (เฉพาะภาคตะวันออก เพื่อช่วยเหลือพื้นที่สวนผลไม้ 55 คัน)
(4) แผนจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 8 ศูนย์ โดยขอรับการสนับสนุนฝนหลวงได้ที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด
(5) การประชาสัมพันธ์แนะนำการทำการเกษตร ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และให้มีการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตตามแนวทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) การปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
(6) การสำรองปัจจัยที่จำเป็นในการประกอบเกษตรกรรม ทั้งด้านพืช เสบียงอาหารสัตว์ และเวชภัณฑ์
2. การช่วยเหลือขณะเกิดภัย
2.1 การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ ขณะนี้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำแล้ว จำนวน 556 เครื่อง ในพื้นที่ 43 จังหวัด แยกเป็นสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 528 เครื่อง และการอุปโภคบริโภค จำนวน 28 เครื่อง การปฏิบัติการฝนหลวง การสนับสนุนอาหารสัตว์และการดูแลสุขภาพสัตว์
2.2 การปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักต่ำในช่วงต้นปี 2550 จำนวน 2 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำทับเสลา และอ่างเก็บน้ำลำนางรอง มีปริมาณน้ำเก็บกัก 33% และ 32%ของความจุอ่างฯ โดยเริ่มปฏิบัติการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 3 หน่วย ได้แก่
1) ภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่เป้าหมาย 14 จังหวัด
2) ภาคใต้ตอนบน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัด
3) ภาคใต้ตอนล่าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่เป้าหมาย 6 จังหวัด
ในช่วงระยะเวลานี้มีผู้ขอรับบริการฝนหลวง จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ลพบุรี สระแก้ว ชลบุรี และยโสธร
ผลการปฏิบัติการ ช่วงวันที่ 1-8 กุมภาพันธ์ 2550 ในช่วงสัปดาห์นี้ยังไม่ได้มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง เนื่องจากสภาพอากาศโดยทั่วไปต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม และมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
2.3 การสนับสนุนเสบียงสัตว์ สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 128,150 กิโลกรัม แร่ธาตุ 126 ก้อน
3. การช่วยเหลือหลังเกิดภัย เร่งรัดการสำรวจความเสียหายของพื้นที่ประสบภัย ผ่านคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระดับอำเภอและระดับจังหวัด และให้ความช่วยเหลือในระยะฉุกเฉินภายใต้ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด และเงินในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ กรณีการช่วยเหลือเกิน 3 เดือน นับจากเกิดภัยให้เสนอของบกลางช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนต่อไป
ผลกระทบด้านการเกษตร ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550
ด้านพืช พื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง รวม 43 จังหวัด 12,464,710 ไร่ แยกเป็น ระดับน้อย 7,186,620 ไร่ ระดับปานกลาง 3,512,070 ไร่ ระดับมาก 1,766,020 ไร่ แยกเป็นรายภาคได้ดังนี้
ภาค จังหวัด พื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง (ไร่)
น้อย ปานกลาง มาก รวม
เหนือ 9 716,442 553,835 246,164 1,516,441
ตะวันออกเฉียงเหนือ 7 219,462 157,659 92,790 469,911
กลาง 4 77,025 257,996 519,575 854,596
ตะวันออก 8 3,820,637 756,628 168,021 4,745,286
ตะวันตก 5 534,379 622,257 387,583 1,544,219
ใต้ 10 1,818,675 1,163,695 351,887 3,334,257
รวม 43 7,186,620 3,512,070 1,766,020 12,464,710
หมายเหตุ น้อย หมายถึง คาดพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งจะได้รับความเสียหาย น้อยกว่า ร้อยละ 40
ปานกลาง หมายถึง คาดว่าพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งจะได้รับความเสียหาย น้อยกว่า ร้อยละ40-70
มาก หมายถึง คาดว่าพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งจะได้รับความเสียหาย น้อยกว่า ร้อยละ 70 ขึ้นไป
ด้านปศุสัตว์ ได้รับรายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบ 1 จังหวัด คือ จังหวัดปราจีนบุรี สัตว์ได้รับผลกระทบ 2,563 ตัว แยกเป็น โค 1,586 ตัว และกระบือ 977 ตัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 56,686 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 83 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2549 (52,313 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,373 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 11,360 และ 7,706 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 84 และ 81 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกัน จำนวน 19,066 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. สภาพน้ำ
สภาพความเค็ม ณ จุดที่เฝ้าระวังของแม่น้ำสายหลักต่างๆ ข้อมูล ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550
แม่น้ำ จุดเฝ้าระวัง ความเค็ม เกณฑ์
(กรัม/ลิตร)
เจ้าพระยา จ.นนทบุรี 0.160 ปกติ
ท่าจีน อ.สามพราน จ.นครปฐม 0.197 ปกติ
แม่กลอง ปากคลองดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 0.176 ปกติ
นครนายก ประตูระบายน้ำสมบูรณ์ จ.นครนายก 1.800 ปกติ
หมายเหตุ : เกณฑ์เฝ้าระวังค่าความเค็ม น้ำเพื่อการเกษตร ไม่เกิน 2.0 กรัม/ลิตร
น้ำเพื่อการผลิตน้ำประปา ไม่เกิน 0.25 กรัม/ลิตร
เพื่อเป็นการป้องกัน แก้ไขปัญหา และลดความเสียหายด้านการเกษตรจากภัยแล้ง กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ จึงได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2550 ซึ่งประกอบด้วย การเตรียมรับสถานการณ์ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย ดังนี้
1. การเตรียมรับสถานการณ์ก่อนเกิดภัย
(1) กำหนดมาตรการและเป้าหมายการปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 12.71 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 9.88 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 2.83 ล้านไร่ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 ได้ดำเนินการปลูกแล้ว 8.86 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 6.24 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 2.62 ล้านไร่
ในเขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม
เป้าหมาย ผล เป้าหมาย ผล เป้าหมาย ผล
ในเขตชลประทาน 7.80 5.73 0.87 0.51 8.67 6.24
นอกเขตชลประทาน 2.08 1.70 1.96 0.92 4.04 2.62
รวม 9.88 7.43 2.83 1.43 12.71 8.86
(2) กำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องและเพียงพอกับการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง
(3) การเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ 1,200 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 295 คัน (เฉพาะภาคตะวันออก เพื่อช่วยเหลือพื้นที่สวนผลไม้ 55 คัน)
(4) แผนจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 8 ศูนย์ โดยขอรับการสนับสนุนฝนหลวงได้ที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด
(5) การประชาสัมพันธ์แนะนำการทำการเกษตร ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และให้มีการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตตามแนวทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) การปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
(6) การสำรองปัจจัยที่จำเป็นในการประกอบเกษตรกรรม ทั้งด้านพืช เสบียงอาหารสัตว์ และเวชภัณฑ์
2. การช่วยเหลือขณะเกิดภัย
2.1 การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ ขณะนี้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำแล้ว จำนวน 556 เครื่อง ในพื้นที่ 43 จังหวัด แยกเป็นสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 528 เครื่อง และการอุปโภคบริโภค จำนวน 28 เครื่อง การปฏิบัติการฝนหลวง การสนับสนุนอาหารสัตว์และการดูแลสุขภาพสัตว์
2.2 การปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักต่ำในช่วงต้นปี 2550 จำนวน 2 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำทับเสลา และอ่างเก็บน้ำลำนางรอง มีปริมาณน้ำเก็บกัก 33% และ 32%ของความจุอ่างฯ โดยเริ่มปฏิบัติการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 3 หน่วย ได้แก่
1) ภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่เป้าหมาย 14 จังหวัด
2) ภาคใต้ตอนบน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัด
3) ภาคใต้ตอนล่าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่เป้าหมาย 6 จังหวัด
ในช่วงระยะเวลานี้มีผู้ขอรับบริการฝนหลวง จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ลพบุรี สระแก้ว ชลบุรี และยโสธร
ผลการปฏิบัติการ ช่วงวันที่ 1-8 กุมภาพันธ์ 2550 ในช่วงสัปดาห์นี้ยังไม่ได้มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง เนื่องจากสภาพอากาศโดยทั่วไปต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม และมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
2.3 การสนับสนุนเสบียงสัตว์ สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 128,150 กิโลกรัม แร่ธาตุ 126 ก้อน
3. การช่วยเหลือหลังเกิดภัย เร่งรัดการสำรวจความเสียหายของพื้นที่ประสบภัย ผ่านคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระดับอำเภอและระดับจังหวัด และให้ความช่วยเหลือในระยะฉุกเฉินภายใต้ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด และเงินในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ กรณีการช่วยเหลือเกิน 3 เดือน นับจากเกิดภัยให้เสนอของบกลางช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนต่อไป
ผลกระทบด้านการเกษตร ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550
ด้านพืช พื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง รวม 43 จังหวัด 12,464,710 ไร่ แยกเป็น ระดับน้อย 7,186,620 ไร่ ระดับปานกลาง 3,512,070 ไร่ ระดับมาก 1,766,020 ไร่ แยกเป็นรายภาคได้ดังนี้
ภาค จังหวัด พื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง (ไร่)
น้อย ปานกลาง มาก รวม
เหนือ 9 716,442 553,835 246,164 1,516,441
ตะวันออกเฉียงเหนือ 7 219,462 157,659 92,790 469,911
กลาง 4 77,025 257,996 519,575 854,596
ตะวันออก 8 3,820,637 756,628 168,021 4,745,286
ตะวันตก 5 534,379 622,257 387,583 1,544,219
ใต้ 10 1,818,675 1,163,695 351,887 3,334,257
รวม 43 7,186,620 3,512,070 1,766,020 12,464,710
หมายเหตุ น้อย หมายถึง คาดพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งจะได้รับความเสียหาย น้อยกว่า ร้อยละ 40
ปานกลาง หมายถึง คาดว่าพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งจะได้รับความเสียหาย น้อยกว่า ร้อยละ40-70
มาก หมายถึง คาดว่าพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งจะได้รับความเสียหาย น้อยกว่า ร้อยละ 70 ขึ้นไป
ด้านปศุสัตว์ ได้รับรายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบ 1 จังหวัด คือ จังหวัดปราจีนบุรี สัตว์ได้รับผลกระทบ 2,563 ตัว แยกเป็น โค 1,586 ตัว และกระบือ 977 ตัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--