คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจนในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 สรุปได้ดังนี้
1. ด้านการบริหารเงินกองทุนหมุนเวียนฯ
1.1 การอนุมัติเงินกู้
การอนุมัติเงินกู้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (เดือนตุลาคม 2549 -มีนาคม 2550) และตั้งแต่ 1 มกราคม 2534 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550
ผลการอนุมัติช่วง 6 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2550 ผลการอนุมัติตั้งแต่ 1 มกราคม 2534 — 31 มีนาคม 2550
จำนวน (ราย) จำนวนเงิน (บาท) จำนวนที่ดิน (ไร่) จำนวน (ราย) จำนวนเงิน (บาท) จำนวนที่ดิน (ไร่)
419 65,363,790 3,800-1-71.8 19,718 2,552,101,420.63 208,081-0-29.1
1.2 การจ่ายและรับชำระหนี้คืนเงินกู้
1) การจ่ายเงินกู้ให้แก่ผู้ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ ในช่วงเดือนตุลาคม — มีนาคม 2550 จำนวน 410 ราย จำนวนเงิน 66.26 ล้านบาท โดยเป็นการจ่ายเงินกู้ให้แก่เกษตรกรและผู้ยากจน ตามข้อ 1.1 จำนวน 324 ราย จำนวนเงิน 54.46 ล้านบาท และการจ่ายเงินกู้ตามการอนุมัติของเดือนกันยายน 2549 จำนวน 86 ราย จำนวนเงิน 11.80 ล้านบาท
2) การรับชำระหนี้ ในช่วงเดือนตุลาคม — มีนาคม 2550 มีลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนฯ ชำระต้นเงินคืน จำนวนเงิน 78.51 ล้านบาท
3) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 กองทุนหมุนเวียนฯ มียอดต้นเงินกู้คงเหลือ จำนวนเงิน 1,265.67 ล้านบาท เป็นหนี้ปกติ จำนวนเงิน 644.92 ล้านบาท และหนี้ค้างชำระ จำนวนเงิน 620.75 ล้านบาท
จ่ายเงินกู้ รับชำระหนี้ ต้นเงินกู้คงเหลือ
ก.ย.49 ต.ค.49 - มี.ค.50 ต้นเงิน หนี้ปกติ หนี้ค้างชำระ รวม
ราย ล้านบาท ราย ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท
86 11.8 324 54.46 78.51 644.92 620.75 1,265.67
1.3 สถานะการเงินของกองทุนหมุนเวียนฯ
ในช่วง 6 เดือนแรก (ตุลาคม 2549 — มีนาคม 2550) มีรายรับทั้งสิ้น จำนวน 129,593,604.36 บาท และ
รายจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 67,215,046.93 บาท ซึ่งรายจ่ายส่วนใหญ่ เป็นการจ่ายเงินกู้ให้แก่เกษตรกร จำนวน 65,719,380 บาท
คิดเป็นร้อยละ 97.77 ของรายจ่ายทั้งหมด และ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 กองทุนมียอดเงินคงเหลือรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 742,017,845.95 บาท
2. ด้านนโยบาย
คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน ในการประชุม ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550 ที่ประชุมได้มีมติแก้ไขระเบียบ และหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ดังนี้
2.1 แก้ไขระเบียบ ว่าด้วยการบริหารกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ.2547 ข้อ 20 วรรคสอง จากเดิม “ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันมีราคาประเมินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้ แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเงินที่ให้กู้ คณะกรรมการอาจพิจารณาให้นำอสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งมิได้จำนองเป็นประกันต่อเจ้าหนี้รายอื่นมาจำนองเป็นประกันเพิ่มเติม หรืออาจให้จัดหาบุคคลมาค้ำประกันตามหลักเกณฑ์การใช้บุคคลค้ำประกันร่วมด้วยก็ได้ ตามที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อให้มีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้” แก้ไขใหม่เป็น “ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันมีราคาประเมินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนเงินที่ให้กู้ คณะกรรมการอาจพิจารณาให้นำอสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งมิได้จำนองเป็นประกันต่อเจ้าหนี้รายอื่นมาจำนองเป็นประกันเพิ่มเติม หรืออาจให้จัดหาบุคคลมาค้ำประกันตามหลักเกณฑ์การใช้บุคคลค้ำประกันร่วมด้วยก็ได้ตามที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อให้มีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้ หรือในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันมีราคาประเมินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่ให้กู้ คณะกรรมการอาจพิจารณาให้นำอสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งมิได้จำนองเป็นประกันต่อเจ้าหนี้รายอื่นมาจำนองเป็นประกันเพิ่มเติม เพื่อให้มีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้”
2.2 เห็นชอบหลักเกณฑ์การอนุมัติให้ตัดหนี้สูญ กรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้
2.3 แก้ไขมติ กชก. เรื่อง กรณีการขอกู้เงินกองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อซื้อที่ดินที่ได้สูญเสียสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ไปเนื่องจากการจำนอง ขายฝาก หรือการกู้ยืม จากเดิม “ในกรณีการขอกู้ยืมเงินกองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อซื้อคืนที่ดินที่ได้สูญเสียสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ไปไม่เกินกว่า 1 ปี กรณีเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่ที่ดินหลุดไปเนื่องจากการจำนอง ขายฝาก หรือประกันการกู้ยืม หากปรากฏว่าผู้ขอความช่วยเหลือยังทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะโดยเสียค่าเช่าหรือค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของที่ดินไม่คิดค่าเช่า ค่าตอบแทนก็ตาม และเจ้าของที่ดินประสงค์จะขายคืนให้ในราคาที่เหมาะสม ให้รับเรื่องไว้พิจารณาให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระเบียบกองทุนหมุนเวียนฯ กำหนดไว้ สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาราคาที่จะขายคืนให้ในราคาที่เหมาะสมนั้นให้อยู่ในดุลพินิจของ อชก. ที่เกษตรกร หรือผู้ยากจนยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือนั้น ๆ เป็นผู้พิจารณา” แก้ไขใหม่เป็น “ในกรณีการขอกู้ยืมเงินกองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อซื้อคืนที่ดินที่ได้สูญเสียสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ไปไม่เกินกว่า 5 ปี กรณีเกินกว่า 5 ปี แต่ ไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่ที่ดินหลุดไปเนื่องจากการจำนอง ขายฝาก หรือประกันการกู้ยืม หากปรากฏว่า ผู้ขอความช่วยเหลือยังทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะโดยเสียค่าเช่า หรือค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของที่ดินไม่คิดค่าเช่า ค่าตอบแทนก็ตาม และเจ้าของที่ดินประสงค์จะขายที่ดินคืนให้ในราคาที่เหมาะสม ให้รับเรื่องไว้พิจารณาให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระเบียบกองทุนหมุนเวียนฯ กำหนดไว้”
2.4 มอบหมายให้ประธานอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (อชก.)ส่วนอำเภอ และ อชก.เขต แต่งตั้งคณะทำงานร่วมประเมินราคาทรัพย์สินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลักประกัน ในกรณีมีข้อโต้แย้งหรือมีการอุทธรณ์การประเมินราคาที่ดินหลักประกันของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
1. ด้านการบริหารเงินกองทุนหมุนเวียนฯ
1.1 การอนุมัติเงินกู้
การอนุมัติเงินกู้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (เดือนตุลาคม 2549 -มีนาคม 2550) และตั้งแต่ 1 มกราคม 2534 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550
ผลการอนุมัติช่วง 6 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2550 ผลการอนุมัติตั้งแต่ 1 มกราคม 2534 — 31 มีนาคม 2550
จำนวน (ราย) จำนวนเงิน (บาท) จำนวนที่ดิน (ไร่) จำนวน (ราย) จำนวนเงิน (บาท) จำนวนที่ดิน (ไร่)
419 65,363,790 3,800-1-71.8 19,718 2,552,101,420.63 208,081-0-29.1
1.2 การจ่ายและรับชำระหนี้คืนเงินกู้
1) การจ่ายเงินกู้ให้แก่ผู้ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ ในช่วงเดือนตุลาคม — มีนาคม 2550 จำนวน 410 ราย จำนวนเงิน 66.26 ล้านบาท โดยเป็นการจ่ายเงินกู้ให้แก่เกษตรกรและผู้ยากจน ตามข้อ 1.1 จำนวน 324 ราย จำนวนเงิน 54.46 ล้านบาท และการจ่ายเงินกู้ตามการอนุมัติของเดือนกันยายน 2549 จำนวน 86 ราย จำนวนเงิน 11.80 ล้านบาท
2) การรับชำระหนี้ ในช่วงเดือนตุลาคม — มีนาคม 2550 มีลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนฯ ชำระต้นเงินคืน จำนวนเงิน 78.51 ล้านบาท
3) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 กองทุนหมุนเวียนฯ มียอดต้นเงินกู้คงเหลือ จำนวนเงิน 1,265.67 ล้านบาท เป็นหนี้ปกติ จำนวนเงิน 644.92 ล้านบาท และหนี้ค้างชำระ จำนวนเงิน 620.75 ล้านบาท
จ่ายเงินกู้ รับชำระหนี้ ต้นเงินกู้คงเหลือ
ก.ย.49 ต.ค.49 - มี.ค.50 ต้นเงิน หนี้ปกติ หนี้ค้างชำระ รวม
ราย ล้านบาท ราย ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท
86 11.8 324 54.46 78.51 644.92 620.75 1,265.67
1.3 สถานะการเงินของกองทุนหมุนเวียนฯ
ในช่วง 6 เดือนแรก (ตุลาคม 2549 — มีนาคม 2550) มีรายรับทั้งสิ้น จำนวน 129,593,604.36 บาท และ
รายจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 67,215,046.93 บาท ซึ่งรายจ่ายส่วนใหญ่ เป็นการจ่ายเงินกู้ให้แก่เกษตรกร จำนวน 65,719,380 บาท
คิดเป็นร้อยละ 97.77 ของรายจ่ายทั้งหมด และ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 กองทุนมียอดเงินคงเหลือรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 742,017,845.95 บาท
2. ด้านนโยบาย
คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน ในการประชุม ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550 ที่ประชุมได้มีมติแก้ไขระเบียบ และหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ดังนี้
2.1 แก้ไขระเบียบ ว่าด้วยการบริหารกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ.2547 ข้อ 20 วรรคสอง จากเดิม “ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันมีราคาประเมินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้ แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเงินที่ให้กู้ คณะกรรมการอาจพิจารณาให้นำอสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งมิได้จำนองเป็นประกันต่อเจ้าหนี้รายอื่นมาจำนองเป็นประกันเพิ่มเติม หรืออาจให้จัดหาบุคคลมาค้ำประกันตามหลักเกณฑ์การใช้บุคคลค้ำประกันร่วมด้วยก็ได้ ตามที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อให้มีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้” แก้ไขใหม่เป็น “ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันมีราคาประเมินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนเงินที่ให้กู้ คณะกรรมการอาจพิจารณาให้นำอสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งมิได้จำนองเป็นประกันต่อเจ้าหนี้รายอื่นมาจำนองเป็นประกันเพิ่มเติม หรืออาจให้จัดหาบุคคลมาค้ำประกันตามหลักเกณฑ์การใช้บุคคลค้ำประกันร่วมด้วยก็ได้ตามที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อให้มีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้ หรือในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันมีราคาประเมินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่ให้กู้ คณะกรรมการอาจพิจารณาให้นำอสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งมิได้จำนองเป็นประกันต่อเจ้าหนี้รายอื่นมาจำนองเป็นประกันเพิ่มเติม เพื่อให้มีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้”
2.2 เห็นชอบหลักเกณฑ์การอนุมัติให้ตัดหนี้สูญ กรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้
2.3 แก้ไขมติ กชก. เรื่อง กรณีการขอกู้เงินกองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อซื้อที่ดินที่ได้สูญเสียสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ไปเนื่องจากการจำนอง ขายฝาก หรือการกู้ยืม จากเดิม “ในกรณีการขอกู้ยืมเงินกองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อซื้อคืนที่ดินที่ได้สูญเสียสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ไปไม่เกินกว่า 1 ปี กรณีเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่ที่ดินหลุดไปเนื่องจากการจำนอง ขายฝาก หรือประกันการกู้ยืม หากปรากฏว่าผู้ขอความช่วยเหลือยังทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะโดยเสียค่าเช่าหรือค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของที่ดินไม่คิดค่าเช่า ค่าตอบแทนก็ตาม และเจ้าของที่ดินประสงค์จะขายคืนให้ในราคาที่เหมาะสม ให้รับเรื่องไว้พิจารณาให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระเบียบกองทุนหมุนเวียนฯ กำหนดไว้ สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาราคาที่จะขายคืนให้ในราคาที่เหมาะสมนั้นให้อยู่ในดุลพินิจของ อชก. ที่เกษตรกร หรือผู้ยากจนยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือนั้น ๆ เป็นผู้พิจารณา” แก้ไขใหม่เป็น “ในกรณีการขอกู้ยืมเงินกองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อซื้อคืนที่ดินที่ได้สูญเสียสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ไปไม่เกินกว่า 5 ปี กรณีเกินกว่า 5 ปี แต่ ไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่ที่ดินหลุดไปเนื่องจากการจำนอง ขายฝาก หรือประกันการกู้ยืม หากปรากฏว่า ผู้ขอความช่วยเหลือยังทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะโดยเสียค่าเช่า หรือค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของที่ดินไม่คิดค่าเช่า ค่าตอบแทนก็ตาม และเจ้าของที่ดินประสงค์จะขายที่ดินคืนให้ในราคาที่เหมาะสม ให้รับเรื่องไว้พิจารณาให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระเบียบกองทุนหมุนเวียนฯ กำหนดไว้”
2.4 มอบหมายให้ประธานอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (อชก.)ส่วนอำเภอ และ อชก.เขต แต่งตั้งคณะทำงานร่วมประเมินราคาทรัพย์สินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลักประกัน ในกรณีมีข้อโต้แย้งหรือมีการอุทธรณ์การประเมินราคาที่ดินหลักประกันของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--