คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปสถานการณ์อุทกภัย และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2550) ตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์สภาวะฝนตกหนักในห้วงระหว่างวันที่ 20-27 สิงหาคม 2550 โดยสรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูลถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2550) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 20-27 สิงหาคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย จำนวน 3 จังหวัด 12 อำเภอ 53 ตำบล 274 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา และเชียงใหม่
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 32,473 คน 11,427 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 1 หลัง เสียหายบางส่วน 22 หลัง ถนน 184 สาย สะพาน 6 แห่ง ท่อระบายน้ำ 46 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง บ่อปลา 60 บ่อ พื้นที่การเกษตรเสียหาย 150 ไร่
3) มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.3 สถานการณ์อุทกภัยได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้วในทุกจังหวัดตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2550 แยกได้ ดังนี้
1. จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2550 ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้มีน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ รวม 3 อำเภอ 11 ตำบล 70 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 3,098 คน 1,078 ครัวเรือน บ้านเสียหายทั้งหลัง 1 หลัง บางส่วน 20 หลัง ถนน 1 สาย สะพาน/คอสะพาน 2 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง
1) อำเภอพนม จำนวน 6 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลพนม (หมู่ที่ 1-13) ตำบลต้นยวน (หมู่ที่ 1-12) ตำบลพลูเถื่อน (หมู่ที่ 1-5) ตำบลคลองศก (หมู่ที่ 1-8) ตำบลพังกาญจน์ (หมู่ที่ 1-5) และตำบลคลองชอุ่ม (หมู่ที่ 1-13) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 112 ครัวเรือน 528 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 1 หลัง บางส่วน 20 หลัง ถนน 1 สาย สะพาน/คอสะพาน 2 แห่ง
2) อำเภอบ้านตาขุน มีน้ำท่วม 3 ตำบล 12 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลพะแสง (หมู่ที่ 1-6) ตำบลพรุไทย (หมู่ที่ 1,5,8) ตำบลเขาวง (หมู่ที่ 2,3,5) ราษฎรเดือดร้อน 2,150 คน 470 ครัวเรือน
3) อำเภอพระแสง มีน้ำท่วม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลบางสวรรค์ (หมู่ที่ 6) ตำบลไทรโสภา (หมู่ที่ 5) ราษฎรเดือดร้อน 80 ครัวเรือน 420 คน โรงเรียน 1 แห่ง
สถานการณ์อุทกภัยได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้วตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2550
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิกุศลศรัทธา สุราษฎร์ธานี อปพร. อาสาสมัครต่างๆเข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลืออพยพประชาชนและขนย้ายสิ่งของไปไว้ยังที่สูง
2) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี สนับสนุนเรือท้องแบน 22 ลำ รถบรรทุกติดตั้งปั้นจั่น 1 คัน พร้อมเจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือประชานชนที่ประสบภัยในพื้นที่
3) กำลังพลที่เข้าร่วมปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ทหารในพื้นที่ 50 นาย เจ้าหน้าที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30 นาย อปพร. 25 นาย ฝ่ายปกครอง 30 นาย มูลนิธิกุศลศรัทธาสุราษฎร์ธานี 20 นาย
4) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอพนม สนับสนุนสิ่งของสำรองจ่าย 120 ชุด และข้าวกล่อง 600 กล่อง น้ำดื่ม 600 ขวด
2. จังหวัดพังงา เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 8 อำเภอ 41 ตำบล 203 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอตะกั่วป่า เมืองฯ ท้ายเหมือง เกาะยาว กะปง ตะกั่วทุ่ง ทับปุด และคุระบุรี ราษฎรเดือดร้อน 29,375 คน 10,349 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2 หลัง บ่อปลา 60 บ่อ ถนน 183 สาย ท่อระบายน้ำ 46 แห่ง สะพาน 4 แห่ง พื้นที่การเกษตร 150 ไร่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) อำเภอตะกั่วป่า เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 7 ตำบล 1 เทศบาล 51 หมู่บ้าน ได้แก่ เทศบาลเมืองตะกั่วป่า จำนวน 7 ชุมชน ตำบลโคกเคียน (หมู่ที่ 1-9) ตำบลบางไทร (หมู่ที่ 1-7) ตำบลบางนายสี (หมู่ที่ 1-9) ตำบลบางม่วง (หมู่ที่ 1-8) ตำบลคึกคัก (หมู่ที่ 1-7) ตำบลเกาะคอเขา (หมู่ที่ 1-5) และตำบลตำตัว (หมู่ที่ 1-6) ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 8,500 คน 2,050 ครัวเรือน
2) อำเภอเมืองฯ เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 6 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลถ้ำน้ำผุด (หมู่ที่ 2,3) ตำบลบางเตย (หมู่ที่ 2,3,5,7) ตำบลนบปริง (หมู่ที่ 4,5,7,8) ตำบลป่ากอ (หมู่ที่ 1-5) ตำบลตากแดด (หมู่ที่ 2,3) ตำบลทุ่งคาโงก (หมู่ที่ 2) ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 6,840 คน 1,112 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2 หลัง บ่อปลา 20 บ่อ พื้นที่การเกษตร 150 ไร่ ถนน 21 สาย ท่อระบายน้ำ 6 แห่ง ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายแล้ว
3) อำเภอท้ายเหมือง น้ำท่วม 6 ตำบล 27 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลท้ายเหมือง (หมู่ที่ 1,6) ตำบลลำแก่น (หมู่ที่ 1,3) ตำบลลำภี (หมู่ที่ 1,2,3,5,6,7) ตำบลบางทอง (หมู่ที่ 1-7) ตำบลนาเตย (หมู่ที่ 3,4,5,9) ตำบลทุ่งมะพร้าว (หมู่ที่ 2,3,4,6,7,8) ราษฎรเดือดร้อน 2,000 คน 300 ครัวเรือน ถนน 42 สาย
4) อำเภอเกาะยาว น้ำท่วม 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลเกาะยาวน้อย (หมู่ที่ 1-7) ตำบลเกาะยาวใหญ่ (หมู่ที่ 1-4) ตำบลพรุใน (หมู่ที่ 1-7) ราษฎรเดือดร้อน 890 คน 275 ครัวเรือน ถนน 19 สาย บ่อปลา 20 บ่อ ไก่พื้นเมือง 620 ตัว สะพาน 2 แห่ง ท่อระบายน้ำ 20 แห่ง
5) อำเภอกะปง น้ำท่วม 5 ตำบล 20 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลท่านา (หมู่ที่1-4) ตำบลกะปง (หมู่ที่ 1-4) ตำบลเหมาะ (หมู่ที่ 1-4) ตำบลเหล (หมู่ที่ 1,2,3,6) ตำบลรมณีย์ (หมู่ที่ 1-4) เทศบาลท่านา 2 ชุมชน ราษฎรเดือดร้อน 250 ครัวเรือน 1,125 คน ถนน 42 สาย
6) อำเภอตะกั่วทุ่ง มีน้ำท่วม 6 ตำบล 24 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกะไหล (หมู่ที่ 3,6,8,10) ตำบลโคกกลอย (หมู่ที่ 3,5,7,9,12) ตำบลถ้ำ (หมู่ที่ 9) ตำบลหล่อยูง (หมู่ที่ 1-10) ตำบลกระโสม (หมู่ที่ 5,7,8) ตำบลคลองเคียน (หมู่ที่ 2) ราษฎรเดือดร้อน 2,015 ครัวเรือน 6,520 คน ถนน 20 สาย ท่อระบายน้ำ 4 แห่ง
7) อำเภอทับปุด มีน้ำท่วม 5 ตำบล 22 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลมะรุ่ย (หมู่ที่ 3,4,7) ตำบลทับปุด (หมู่ที่ 1,3,4,5,6) ตำบลถ้ำทองหลาง (หมู่ที่ 1,3,4) ตำบลบางเหรียง (หมู่ที่ 1,2,4,5) ตำบลโคกเจริญ (หมู่ที่ 1-6,8) ถนน 40 สาย
8) อำเภอคุระบุรี มีน้ำท่วม 3 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลคุระ (หมู่ที่ 1,2,3,6,7,9,12) ตำบลบางวัน (หมู่ที่ 1-9) ตำบลแม่นางขาว (หมู่ที่ 1-6,8) ราษฎรเดือดร้อน 3,500 คน 610 ครัวเรือน ถนน 19 สาย บ่อปลา 20 บ่อ สะพาน 2 แห่ง ท่อระบายน้ำ 20 แห่ง
สถานการณ์อุทกภัยของจังหวัดพังงาในปัจจุบันได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้วตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2550 แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังเฉพาะพื้นที่ลุ่มการเกษตร
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัดพังงา อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อปพร. อาสาสมัครต่างๆ เข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลืออพยพประชาชน และขนย้ายสิ่งของไปไว้ยังที่สูง
2) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา สนับสนุนเรือท้องแบน 3 ลำ เรือยาง 2 ลำ เต็นท์ที่พักชั่วคราว พร้อมเจ้าหน้าที่และ อบจ.ได้มอบถุงยังชีพ 300 ถุง พร้อมได้จัดอาหารกล่อง 2,000 กล่อง เวชภัณฑ์ 200 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่อพยพ
3) กำลังพลจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 46 จำนวน 25 นาย อปพร. 40 คน มูลนิธิโพธิธรรมประภาส รวม 30 นาย ได้สนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย
4) สิ่งของพระราชทาน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 นายแพทย์ดำรง เหรียญประยูร รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก ได้นำถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 660 ชุด ไปมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยที่ตำบลโคกเคียน ตำบลบางไทร และตำบลตำตัว อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
3. จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2550 ได้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรบริเวณตำบลแม่งอน (หมู่ 6) บ้านยาง อำเภอฝาง ได้อพยพราษฎรในที่ลุ่มเชิงเขาไปไว้ในที่ปลอดภัย สถานการณ์อุทกภัยได้ยุติแล้วตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2550
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อปพร. อาสาสมัครต่าง ๆ เข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลือขนย้ายสิ่งของและอพยพราษฎรไปไว้ในที่ปลอดภัย
2) จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ได้เร่งสำรวจความเสียหาย และช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) แล้ว
2. การคาดหมายลักษณะอากาศในห้วงระหว่างวันที่ 24-30 สิงหาคม 2550
กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดหมายลักษณะอากาศว่าในระยะนี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย และมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามและลาวตอนบนเกือบตลอดช่วง สำหรับในช่วงวันที่ 27-30 ส.ค. ร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อไปอีก โดยจะมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ ข้อควรระวัง ในระยะนี้ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ หนองคาย สกลนคร อุดรธานี และนครพนม ควรเฝ้าระวังอันตรายภัยจากสภาวะฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ไว้ด้วย
3. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่มและคลื่นลมแรง ที่สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6,7,8,9,10 และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ คือ จังหวัดหนองคาย เลย หนองบัวลำภู นครพนม อุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา และเชียงราย แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะวันที่ 23-28 สิงหาคม 2550 และให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 20-27 สิงหาคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย จำนวน 3 จังหวัด 12 อำเภอ 53 ตำบล 274 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา และเชียงใหม่
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 32,473 คน 11,427 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 1 หลัง เสียหายบางส่วน 22 หลัง ถนน 184 สาย สะพาน 6 แห่ง ท่อระบายน้ำ 46 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง บ่อปลา 60 บ่อ พื้นที่การเกษตรเสียหาย 150 ไร่
3) มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.3 สถานการณ์อุทกภัยได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้วในทุกจังหวัดตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2550 แยกได้ ดังนี้
1. จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2550 ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้มีน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ รวม 3 อำเภอ 11 ตำบล 70 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 3,098 คน 1,078 ครัวเรือน บ้านเสียหายทั้งหลัง 1 หลัง บางส่วน 20 หลัง ถนน 1 สาย สะพาน/คอสะพาน 2 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง
1) อำเภอพนม จำนวน 6 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลพนม (หมู่ที่ 1-13) ตำบลต้นยวน (หมู่ที่ 1-12) ตำบลพลูเถื่อน (หมู่ที่ 1-5) ตำบลคลองศก (หมู่ที่ 1-8) ตำบลพังกาญจน์ (หมู่ที่ 1-5) และตำบลคลองชอุ่ม (หมู่ที่ 1-13) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 112 ครัวเรือน 528 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 1 หลัง บางส่วน 20 หลัง ถนน 1 สาย สะพาน/คอสะพาน 2 แห่ง
2) อำเภอบ้านตาขุน มีน้ำท่วม 3 ตำบล 12 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลพะแสง (หมู่ที่ 1-6) ตำบลพรุไทย (หมู่ที่ 1,5,8) ตำบลเขาวง (หมู่ที่ 2,3,5) ราษฎรเดือดร้อน 2,150 คน 470 ครัวเรือน
3) อำเภอพระแสง มีน้ำท่วม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลบางสวรรค์ (หมู่ที่ 6) ตำบลไทรโสภา (หมู่ที่ 5) ราษฎรเดือดร้อน 80 ครัวเรือน 420 คน โรงเรียน 1 แห่ง
สถานการณ์อุทกภัยได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้วตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2550
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิกุศลศรัทธา สุราษฎร์ธานี อปพร. อาสาสมัครต่างๆเข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลืออพยพประชาชนและขนย้ายสิ่งของไปไว้ยังที่สูง
2) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี สนับสนุนเรือท้องแบน 22 ลำ รถบรรทุกติดตั้งปั้นจั่น 1 คัน พร้อมเจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือประชานชนที่ประสบภัยในพื้นที่
3) กำลังพลที่เข้าร่วมปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ทหารในพื้นที่ 50 นาย เจ้าหน้าที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30 นาย อปพร. 25 นาย ฝ่ายปกครอง 30 นาย มูลนิธิกุศลศรัทธาสุราษฎร์ธานี 20 นาย
4) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอพนม สนับสนุนสิ่งของสำรองจ่าย 120 ชุด และข้าวกล่อง 600 กล่อง น้ำดื่ม 600 ขวด
2. จังหวัดพังงา เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 8 อำเภอ 41 ตำบล 203 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอตะกั่วป่า เมืองฯ ท้ายเหมือง เกาะยาว กะปง ตะกั่วทุ่ง ทับปุด และคุระบุรี ราษฎรเดือดร้อน 29,375 คน 10,349 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2 หลัง บ่อปลา 60 บ่อ ถนน 183 สาย ท่อระบายน้ำ 46 แห่ง สะพาน 4 แห่ง พื้นที่การเกษตร 150 ไร่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) อำเภอตะกั่วป่า เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 7 ตำบล 1 เทศบาล 51 หมู่บ้าน ได้แก่ เทศบาลเมืองตะกั่วป่า จำนวน 7 ชุมชน ตำบลโคกเคียน (หมู่ที่ 1-9) ตำบลบางไทร (หมู่ที่ 1-7) ตำบลบางนายสี (หมู่ที่ 1-9) ตำบลบางม่วง (หมู่ที่ 1-8) ตำบลคึกคัก (หมู่ที่ 1-7) ตำบลเกาะคอเขา (หมู่ที่ 1-5) และตำบลตำตัว (หมู่ที่ 1-6) ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 8,500 คน 2,050 ครัวเรือน
2) อำเภอเมืองฯ เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 6 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลถ้ำน้ำผุด (หมู่ที่ 2,3) ตำบลบางเตย (หมู่ที่ 2,3,5,7) ตำบลนบปริง (หมู่ที่ 4,5,7,8) ตำบลป่ากอ (หมู่ที่ 1-5) ตำบลตากแดด (หมู่ที่ 2,3) ตำบลทุ่งคาโงก (หมู่ที่ 2) ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 6,840 คน 1,112 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2 หลัง บ่อปลา 20 บ่อ พื้นที่การเกษตร 150 ไร่ ถนน 21 สาย ท่อระบายน้ำ 6 แห่ง ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายแล้ว
3) อำเภอท้ายเหมือง น้ำท่วม 6 ตำบล 27 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลท้ายเหมือง (หมู่ที่ 1,6) ตำบลลำแก่น (หมู่ที่ 1,3) ตำบลลำภี (หมู่ที่ 1,2,3,5,6,7) ตำบลบางทอง (หมู่ที่ 1-7) ตำบลนาเตย (หมู่ที่ 3,4,5,9) ตำบลทุ่งมะพร้าว (หมู่ที่ 2,3,4,6,7,8) ราษฎรเดือดร้อน 2,000 คน 300 ครัวเรือน ถนน 42 สาย
4) อำเภอเกาะยาว น้ำท่วม 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลเกาะยาวน้อย (หมู่ที่ 1-7) ตำบลเกาะยาวใหญ่ (หมู่ที่ 1-4) ตำบลพรุใน (หมู่ที่ 1-7) ราษฎรเดือดร้อน 890 คน 275 ครัวเรือน ถนน 19 สาย บ่อปลา 20 บ่อ ไก่พื้นเมือง 620 ตัว สะพาน 2 แห่ง ท่อระบายน้ำ 20 แห่ง
5) อำเภอกะปง น้ำท่วม 5 ตำบล 20 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลท่านา (หมู่ที่1-4) ตำบลกะปง (หมู่ที่ 1-4) ตำบลเหมาะ (หมู่ที่ 1-4) ตำบลเหล (หมู่ที่ 1,2,3,6) ตำบลรมณีย์ (หมู่ที่ 1-4) เทศบาลท่านา 2 ชุมชน ราษฎรเดือดร้อน 250 ครัวเรือน 1,125 คน ถนน 42 สาย
6) อำเภอตะกั่วทุ่ง มีน้ำท่วม 6 ตำบล 24 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกะไหล (หมู่ที่ 3,6,8,10) ตำบลโคกกลอย (หมู่ที่ 3,5,7,9,12) ตำบลถ้ำ (หมู่ที่ 9) ตำบลหล่อยูง (หมู่ที่ 1-10) ตำบลกระโสม (หมู่ที่ 5,7,8) ตำบลคลองเคียน (หมู่ที่ 2) ราษฎรเดือดร้อน 2,015 ครัวเรือน 6,520 คน ถนน 20 สาย ท่อระบายน้ำ 4 แห่ง
7) อำเภอทับปุด มีน้ำท่วม 5 ตำบล 22 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลมะรุ่ย (หมู่ที่ 3,4,7) ตำบลทับปุด (หมู่ที่ 1,3,4,5,6) ตำบลถ้ำทองหลาง (หมู่ที่ 1,3,4) ตำบลบางเหรียง (หมู่ที่ 1,2,4,5) ตำบลโคกเจริญ (หมู่ที่ 1-6,8) ถนน 40 สาย
8) อำเภอคุระบุรี มีน้ำท่วม 3 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลคุระ (หมู่ที่ 1,2,3,6,7,9,12) ตำบลบางวัน (หมู่ที่ 1-9) ตำบลแม่นางขาว (หมู่ที่ 1-6,8) ราษฎรเดือดร้อน 3,500 คน 610 ครัวเรือน ถนน 19 สาย บ่อปลา 20 บ่อ สะพาน 2 แห่ง ท่อระบายน้ำ 20 แห่ง
สถานการณ์อุทกภัยของจังหวัดพังงาในปัจจุบันได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้วตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2550 แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังเฉพาะพื้นที่ลุ่มการเกษตร
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัดพังงา อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อปพร. อาสาสมัครต่างๆ เข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลืออพยพประชาชน และขนย้ายสิ่งของไปไว้ยังที่สูง
2) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา สนับสนุนเรือท้องแบน 3 ลำ เรือยาง 2 ลำ เต็นท์ที่พักชั่วคราว พร้อมเจ้าหน้าที่และ อบจ.ได้มอบถุงยังชีพ 300 ถุง พร้อมได้จัดอาหารกล่อง 2,000 กล่อง เวชภัณฑ์ 200 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่อพยพ
3) กำลังพลจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 46 จำนวน 25 นาย อปพร. 40 คน มูลนิธิโพธิธรรมประภาส รวม 30 นาย ได้สนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย
4) สิ่งของพระราชทาน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 นายแพทย์ดำรง เหรียญประยูร รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก ได้นำถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 660 ชุด ไปมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยที่ตำบลโคกเคียน ตำบลบางไทร และตำบลตำตัว อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
3. จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2550 ได้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรบริเวณตำบลแม่งอน (หมู่ 6) บ้านยาง อำเภอฝาง ได้อพยพราษฎรในที่ลุ่มเชิงเขาไปไว้ในที่ปลอดภัย สถานการณ์อุทกภัยได้ยุติแล้วตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2550
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อปพร. อาสาสมัครต่าง ๆ เข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลือขนย้ายสิ่งของและอพยพราษฎรไปไว้ในที่ปลอดภัย
2) จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ได้เร่งสำรวจความเสียหาย และช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) แล้ว
2. การคาดหมายลักษณะอากาศในห้วงระหว่างวันที่ 24-30 สิงหาคม 2550
กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดหมายลักษณะอากาศว่าในระยะนี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย และมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามและลาวตอนบนเกือบตลอดช่วง สำหรับในช่วงวันที่ 27-30 ส.ค. ร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อไปอีก โดยจะมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ ข้อควรระวัง ในระยะนี้ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ หนองคาย สกลนคร อุดรธานี และนครพนม ควรเฝ้าระวังอันตรายภัยจากสภาวะฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ไว้ด้วย
3. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่มและคลื่นลมแรง ที่สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6,7,8,9,10 และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ คือ จังหวัดหนองคาย เลย หนองบัวลำภู นครพนม อุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา และเชียงราย แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะวันที่ 23-28 สิงหาคม 2550 และให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--