คณะรัฐมนตรีรับทราบการตรวจสถานการณ์หมอกควันจังหวัดแม่ฮ่องสอนตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
ด้วยสภาพอากาศในเขตพื้นที่แม่ฮ่องสอนที่เกิดหมอกควันปกคลุมไปทั่วพื้นที่ และส่งผลกระทบต่อประชาชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากการติดตามสถานการณ์ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ จนถึงวันที่ 5 เมษายน 2550 พบว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM 10) ที่เกินค่ามาตรฐานต่อเนื่องมาโดยตลอด กลับยิ่งเพิ่มสูงขึ้น โดยวัดได้เท่ากับ 311 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) เท่ากับ 183 ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมทั้งการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอย่างยิ่ง
คณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือจึงได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์หมอกควัน และประชุมหารือร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อรับฟังสถานการณ์ปัญหา ผลกระทบ รวมทั้งข้อเสนอของชุมชน ในวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2550 และได้จัดการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ครั้งที่ 5/2440 ในวันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2550 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งที่ประชุมได้สรุปผลการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบที่สำคัญ สรุปข้อเสนอต่อแนวทางแก้ไขปัญหาของเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน มาตรการควบคุมหมอกควันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งบทบาทภาครัฐ และภาคประชาชน ดังนี้
สรุปผลการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบที่สำคัญ
1. การไม่รู้สาเหตุของการเกิดไฟป่าที่แท้จริง ไม่สามารถเข้าถึงต้นตอของสาเหตุการเกิดไฟป่าได้
2. การใช้มาตรการทางกฏหมายกับพี่น้องชาวบ้านซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้ง (เกิดผลในทางลบ มากกว่าผลในทางบวก)
3. การยอมรับในความเป็นจริงตามสภาพระบบนิเวศน์ว่ายังไงต้องมีการเผา ทั้งในการเผาในที่ทำกิน และการเผานอกพื้นที่ทำกิน
สรุปข้อเสนอต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา
1. แผนในการจัดการปัญหาระยะสั้น(เร่งด่วน)
1.1 บรรเทาปัญหาความหนาแน่นของหมอกควันและผลกระทบที่เกิดขึ้น
1.2 การหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการตรวจจับพี่น้องชาวบ้านที่กำลังจะเริ่มทำไร่ (เผาไร่) โดยเฉพาะที่ทำกินที่อยู่ในการเขตป่า
1.3 การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการเฝ้าระวังการเผาที่จะเกิดขึ้นใหม่ทั้งในที่ราบและพื้นที่สูง
1.4 การจัดตั้งอาสาสมัครดับไฟที่มีประสิทธิภาพ
2. แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาว
2.1 การศึกษาข้อมูลในเชิงสถิติ ปริมาณ ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเกิดไฟป่าและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมที่แท้จริง
2.2 การทบทวนนโยบาย/แนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา อาทิ การจัด Zoning การเผา รวมทั้งนโยบายอื่น ๆ เพื่อกำหนดเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายยอมรับ และสร้างให้เกิดกลไกมีส่วนร่วมในการจัดการร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาควิชาการ และภาคชุมชน
2.3 การศึกษาหาวิธีการ ทางเลือกอื่นๆ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาการเกิดไฟป่าอย่างเหมาะสม ตามรูปแบบของการเกิดไฟ บนฐานความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.4 การจัดการความรู้เข้ามาช่วยเพื่อกำหนดทางเลือกต่างๆ ในการแก้ไขปัญหา โดยนำเอาองค์ความรู้ของชาวบ้านเข้ามาช่วยผสมผสานกับความรู้ทางวิชาการ
2.5 การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน ในวิถีชีวิตที่ต้องหาความร่วมมือและทางออกร่วมกันในการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ป่า
2.6 การส่งเสริมแนะนำความรู้ทางวิชาการจากภาครัฐในการทำเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกพืชทดแทนของเดิมที่ให้ผลตอบแทนต่อหน่วยและต่อพื้นที่มากขึ้น การทำไร่นาผสมผสาน
2.7 ขอให้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ปัญหาการเผา และหมอกควันร่วมกัน
2.8 การป้องกันไฟป่าโดยวิธีการจัดการ อาทิ การทำแนวกันไฟป่า
2.9 การศึกษาภูมิศาสตร์และปฏิทินห้วงเวลาของจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า จะเป็นช่วงใดจะเป็นช่วงฝนแล้ง น้ำหลาก ดินถล่ม เพื่อนำมาใช้เตรียมการจัดทำแผนป้องกันต่อไป
2.10 การปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการป้องกันและช่วยดับไฟ
2.11 การหาต้นแบบการป้องกันและแก้ปัญหาของชุมชนที่ประสบผลสำเร็จมาใช้ เป็นกรณีศึกษาของชุมชนอื่นๆ
2.12 การกำหนดให้ปัญหาหมอกควัน เป็นวาระแห่งชาติ
2.13 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการจัดการแก้ปัญหาหมอกควันในจังหวัด ให้มีความเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ ทั้งของภาครัฐและประชาชน
2.14 การบูรณาการการป้องกันแก้ปัญหาอุบัติภัยทุกภาคส่วนทั้งด้านวิชาการและเทคโนโลยี
มาตรการ “7 วันปลอดควันวันสงกรานต์”
1. มาตรการด้านการป้องปรามและเฝ้าระวัง เป็นมาตรการเน้นหนักด้านการป้องปรามและเฝ้าระวังการเผาป่า และการเผาในที่โล่ง โดยจังหวัด/อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยควบคุมไฟป่าร่วมกับประชาชนในชุมชน จัดชุดปฏิบัติการลาดตระเวน ตรวจสอบ ป้องปราม แจ้งเหตุการณ์จุดไฟเผาในพื้นที่รับผิดชอบ
2. มาตรการด้านการควบคุม เป็นมาตรการสำหรับควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดการเผาทั้งการเผาป่า และเผาในที่โล่ง โดยใช้กติกาชุมชน/ข้อบังคับของหมู่บ้าน เป็นกลไกควบคุมเพื่อลดหมอกควัน และภาครัฐสนับสนุนการควบคุมให้บังเกิดผล
3. มาตรการด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นเตือน ปลุกจิตสำนึกให้เกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยใช้กระบวนการของการประชาสัมพันธ์จากเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ทุกชนิด และการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มเป้าหมาย
4. มาตรการด้านการปฏิบัติการดับไฟ เป็นมาตรการเพื่อให้การดับไฟป่า และดับไฟที่ในที่โล่งให้มีประสิทธิภาพ มีความรวดเร็วในการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ รวมทั้งการติดต่อสื่อสารการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดับไฟ
5. มาตรการด้านการรายงานและประเมินผล เป็นมาตรการสำหรับการบริหารจัดการปัญหาหมอกควัน โดยใช้รายงานข้อมูลการเกิดไฟในพื้นที่เป็นประจำทุกวัน จากศูนย์จังหวัด/อำเภอ มายังศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือที่ทำเนียบรัฐบาล ศูนย์ข้อมูลฯ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 เมษายน 2550--จบ--
ด้วยสภาพอากาศในเขตพื้นที่แม่ฮ่องสอนที่เกิดหมอกควันปกคลุมไปทั่วพื้นที่ และส่งผลกระทบต่อประชาชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากการติดตามสถานการณ์ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ จนถึงวันที่ 5 เมษายน 2550 พบว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM 10) ที่เกินค่ามาตรฐานต่อเนื่องมาโดยตลอด กลับยิ่งเพิ่มสูงขึ้น โดยวัดได้เท่ากับ 311 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) เท่ากับ 183 ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมทั้งการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอย่างยิ่ง
คณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือจึงได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์หมอกควัน และประชุมหารือร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อรับฟังสถานการณ์ปัญหา ผลกระทบ รวมทั้งข้อเสนอของชุมชน ในวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2550 และได้จัดการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ครั้งที่ 5/2440 ในวันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2550 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งที่ประชุมได้สรุปผลการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบที่สำคัญ สรุปข้อเสนอต่อแนวทางแก้ไขปัญหาของเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน มาตรการควบคุมหมอกควันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งบทบาทภาครัฐ และภาคประชาชน ดังนี้
สรุปผลการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบที่สำคัญ
1. การไม่รู้สาเหตุของการเกิดไฟป่าที่แท้จริง ไม่สามารถเข้าถึงต้นตอของสาเหตุการเกิดไฟป่าได้
2. การใช้มาตรการทางกฏหมายกับพี่น้องชาวบ้านซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้ง (เกิดผลในทางลบ มากกว่าผลในทางบวก)
3. การยอมรับในความเป็นจริงตามสภาพระบบนิเวศน์ว่ายังไงต้องมีการเผา ทั้งในการเผาในที่ทำกิน และการเผานอกพื้นที่ทำกิน
สรุปข้อเสนอต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา
1. แผนในการจัดการปัญหาระยะสั้น(เร่งด่วน)
1.1 บรรเทาปัญหาความหนาแน่นของหมอกควันและผลกระทบที่เกิดขึ้น
1.2 การหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการตรวจจับพี่น้องชาวบ้านที่กำลังจะเริ่มทำไร่ (เผาไร่) โดยเฉพาะที่ทำกินที่อยู่ในการเขตป่า
1.3 การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการเฝ้าระวังการเผาที่จะเกิดขึ้นใหม่ทั้งในที่ราบและพื้นที่สูง
1.4 การจัดตั้งอาสาสมัครดับไฟที่มีประสิทธิภาพ
2. แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาว
2.1 การศึกษาข้อมูลในเชิงสถิติ ปริมาณ ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเกิดไฟป่าและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมที่แท้จริง
2.2 การทบทวนนโยบาย/แนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา อาทิ การจัด Zoning การเผา รวมทั้งนโยบายอื่น ๆ เพื่อกำหนดเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายยอมรับ และสร้างให้เกิดกลไกมีส่วนร่วมในการจัดการร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาควิชาการ และภาคชุมชน
2.3 การศึกษาหาวิธีการ ทางเลือกอื่นๆ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาการเกิดไฟป่าอย่างเหมาะสม ตามรูปแบบของการเกิดไฟ บนฐานความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.4 การจัดการความรู้เข้ามาช่วยเพื่อกำหนดทางเลือกต่างๆ ในการแก้ไขปัญหา โดยนำเอาองค์ความรู้ของชาวบ้านเข้ามาช่วยผสมผสานกับความรู้ทางวิชาการ
2.5 การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน ในวิถีชีวิตที่ต้องหาความร่วมมือและทางออกร่วมกันในการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ป่า
2.6 การส่งเสริมแนะนำความรู้ทางวิชาการจากภาครัฐในการทำเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกพืชทดแทนของเดิมที่ให้ผลตอบแทนต่อหน่วยและต่อพื้นที่มากขึ้น การทำไร่นาผสมผสาน
2.7 ขอให้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ปัญหาการเผา และหมอกควันร่วมกัน
2.8 การป้องกันไฟป่าโดยวิธีการจัดการ อาทิ การทำแนวกันไฟป่า
2.9 การศึกษาภูมิศาสตร์และปฏิทินห้วงเวลาของจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า จะเป็นช่วงใดจะเป็นช่วงฝนแล้ง น้ำหลาก ดินถล่ม เพื่อนำมาใช้เตรียมการจัดทำแผนป้องกันต่อไป
2.10 การปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการป้องกันและช่วยดับไฟ
2.11 การหาต้นแบบการป้องกันและแก้ปัญหาของชุมชนที่ประสบผลสำเร็จมาใช้ เป็นกรณีศึกษาของชุมชนอื่นๆ
2.12 การกำหนดให้ปัญหาหมอกควัน เป็นวาระแห่งชาติ
2.13 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการจัดการแก้ปัญหาหมอกควันในจังหวัด ให้มีความเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ ทั้งของภาครัฐและประชาชน
2.14 การบูรณาการการป้องกันแก้ปัญหาอุบัติภัยทุกภาคส่วนทั้งด้านวิชาการและเทคโนโลยี
มาตรการ “7 วันปลอดควันวันสงกรานต์”
1. มาตรการด้านการป้องปรามและเฝ้าระวัง เป็นมาตรการเน้นหนักด้านการป้องปรามและเฝ้าระวังการเผาป่า และการเผาในที่โล่ง โดยจังหวัด/อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยควบคุมไฟป่าร่วมกับประชาชนในชุมชน จัดชุดปฏิบัติการลาดตระเวน ตรวจสอบ ป้องปราม แจ้งเหตุการณ์จุดไฟเผาในพื้นที่รับผิดชอบ
2. มาตรการด้านการควบคุม เป็นมาตรการสำหรับควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดการเผาทั้งการเผาป่า และเผาในที่โล่ง โดยใช้กติกาชุมชน/ข้อบังคับของหมู่บ้าน เป็นกลไกควบคุมเพื่อลดหมอกควัน และภาครัฐสนับสนุนการควบคุมให้บังเกิดผล
3. มาตรการด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นเตือน ปลุกจิตสำนึกให้เกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยใช้กระบวนการของการประชาสัมพันธ์จากเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ทุกชนิด และการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มเป้าหมาย
4. มาตรการด้านการปฏิบัติการดับไฟ เป็นมาตรการเพื่อให้การดับไฟป่า และดับไฟที่ในที่โล่งให้มีประสิทธิภาพ มีความรวดเร็วในการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ รวมทั้งการติดต่อสื่อสารการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดับไฟ
5. มาตรการด้านการรายงานและประเมินผล เป็นมาตรการสำหรับการบริหารจัดการปัญหาหมอกควัน โดยใช้รายงานข้อมูลการเกิดไฟในพื้นที่เป็นประจำทุกวัน จากศูนย์จังหวัด/อำเภอ มายังศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือที่ทำเนียบรัฐบาล ศูนย์ข้อมูลฯ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 เมษายน 2550--จบ--