คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงาน แนวทางการแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด (กลุ่มล้านนา) ประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน สรุปดังนี้
หลักการ การแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนจำเป็นต้องดำเนินการอย่างบูรณาการ ทั้งในเรื่องการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และขยายโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ยากจนเพื่อให้หลุดพ้นความยากจนอย่างยั่งยืน
แนวทาง สำหรับในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ปัญหาหลักที่มีความรุนแรง 2 อันดับแรก คือ ปัญหาที่ดินทำกิน และปัญหาหนี้สินภาคประชาชน มีข้อจำกัดคือ ต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการยาวมาก เพราะการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน ในขณะที่การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาให้ความรู้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพและการปรับทัศนคติค่านิยมใหม่ไม่ใช้จ่ายเกินกำลัง
แนวทางทางปฏิบัติ เพื่อลดผลกระทบจาก 2 ปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงเน้นแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ดังนี้
1.แนวทางการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ระยะแรก
1.1 การแก้ปัญหาที่ดินทำกิน เน้นเกษตรกรยากจนในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ได้ผ่านการสำรวจของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) และอยู่ระหว่างการให้กรรมสิทธิ์ให้สามารถเพิ่มผลผลิตการเกษตรที่มีคุณภาพที่ส่งขายได้และเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นการเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจได้อย่างครบวงจร โดยมีแนวทางดังนี้สร้างความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่าด้วยการสร้างฝายแม้ว (Checked Dam) ฟื้นฟูสมรรถนะที่ดินทำกิน ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่เกษตรกรทำกิน โดยการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเพิ่มสมรรถนะที่ดินสำหรับการผลิตให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของแหล่งอาหาร และรายได้ของเกษตรกร
1.2 การแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน เน้นการสร้างรายได้เสริมจากกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และชุมชนสามารถจัดการกันเองได้ ทั้งในลักษณะวิสาหกิจชุมชน (อาทิ การผลิตสินค้าและบริการ) และ Home Stay โดยมีแนวทางดังนี้
(1) ส่งเสริมการสร้าง “ชุมชนต้นแบบ” เพื่อการท่องเที่ยว โดยชุมชนร่วมกันวางแนวทางให้มีกิจกรรมที่สอดรับกับตลาดการท่องเที่ยว โดยภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์
(2) สนับสนุนสถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และบริการชุมชนมากขึ้น รวมทั้งสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันของตลาด
(3) การปรับค่านิยมในการดำรงชีวิต ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ลดความฟุ่มเฟือย ไม่ใช้จ่ายเกินตัว โดยนำกระบวนการแก้ไขปัญหาในลักษณะบูรณาการร่วมกันระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐ (Distributed Governance System) โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาและให้ประสานกับองค์กรเอกชน (NGOs) ในพื้นที่เป็นแกนในการให้ความรู้และปรับทัศนคติ และค่านิยมของประชาชนในกลุ่มนี้
2. กลไกการแก้ไขปัญหา ผลักดันให้จังหวัดดำเนินการโครงการตามแนวทางในข้อ 1. โดยให้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการโดยใช้กลไกการบริหาร และงบประมาณที่สนับสนุนการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัดแบบบูรณาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--
หลักการ การแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนจำเป็นต้องดำเนินการอย่างบูรณาการ ทั้งในเรื่องการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และขยายโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ยากจนเพื่อให้หลุดพ้นความยากจนอย่างยั่งยืน
แนวทาง สำหรับในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ปัญหาหลักที่มีความรุนแรง 2 อันดับแรก คือ ปัญหาที่ดินทำกิน และปัญหาหนี้สินภาคประชาชน มีข้อจำกัดคือ ต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการยาวมาก เพราะการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน ในขณะที่การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาให้ความรู้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพและการปรับทัศนคติค่านิยมใหม่ไม่ใช้จ่ายเกินกำลัง
แนวทางทางปฏิบัติ เพื่อลดผลกระทบจาก 2 ปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงเน้นแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ดังนี้
1.แนวทางการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ระยะแรก
1.1 การแก้ปัญหาที่ดินทำกิน เน้นเกษตรกรยากจนในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ได้ผ่านการสำรวจของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) และอยู่ระหว่างการให้กรรมสิทธิ์ให้สามารถเพิ่มผลผลิตการเกษตรที่มีคุณภาพที่ส่งขายได้และเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นการเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจได้อย่างครบวงจร โดยมีแนวทางดังนี้สร้างความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่าด้วยการสร้างฝายแม้ว (Checked Dam) ฟื้นฟูสมรรถนะที่ดินทำกิน ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่เกษตรกรทำกิน โดยการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเพิ่มสมรรถนะที่ดินสำหรับการผลิตให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของแหล่งอาหาร และรายได้ของเกษตรกร
1.2 การแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน เน้นการสร้างรายได้เสริมจากกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และชุมชนสามารถจัดการกันเองได้ ทั้งในลักษณะวิสาหกิจชุมชน (อาทิ การผลิตสินค้าและบริการ) และ Home Stay โดยมีแนวทางดังนี้
(1) ส่งเสริมการสร้าง “ชุมชนต้นแบบ” เพื่อการท่องเที่ยว โดยชุมชนร่วมกันวางแนวทางให้มีกิจกรรมที่สอดรับกับตลาดการท่องเที่ยว โดยภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์
(2) สนับสนุนสถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และบริการชุมชนมากขึ้น รวมทั้งสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันของตลาด
(3) การปรับค่านิยมในการดำรงชีวิต ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ลดความฟุ่มเฟือย ไม่ใช้จ่ายเกินตัว โดยนำกระบวนการแก้ไขปัญหาในลักษณะบูรณาการร่วมกันระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐ (Distributed Governance System) โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาและให้ประสานกับองค์กรเอกชน (NGOs) ในพื้นที่เป็นแกนในการให้ความรู้และปรับทัศนคติ และค่านิยมของประชาชนในกลุ่มนี้
2. กลไกการแก้ไขปัญหา ผลักดันให้จังหวัดดำเนินการโครงการตามแนวทางในข้อ 1. โดยให้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการโดยใช้กลไกการบริหาร และงบประมาณที่สนับสนุนการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัดแบบบูรณาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--