เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2546 เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งหน่วยงานในกำกับ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ร่างพระราชบัญญัติสถาบันปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. ....)
และเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2550 เรื่อง การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเซรามิกแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
ภารกิจด้านเซรามิกและแก้วของกรมวิทยาศาสตร์บริการ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้แยกกรมวิทยาศาสตร์บริการออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่มีสถานะเป็นราชการให้คงเป็นกรมวิทยาศาสตร์บริการต่อไป และส่วนที่จะมีสถานะเป็นองค์การมหาชนให้จัดตั้งเป็นสถาบันปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปดำเนินการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอว่า เนื่องด้วยรัฐบาลให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจในระดับฐานรากมากขึ้น โดยการสร้างคน สร้างระบบ ส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยี และเร่งพัฒนาองค์ความรู้และการนำความรู้สู่การปฏิบัติที่สำคัญต่อเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมยุคใหม่ ภาคอุตสาหกรรมของไทยเป็นหน่วยผลิตที่สำคัญของประเทศ กลุ่มที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญส่วนหนึ่งในการกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นองค์การที่มีความพร้อมในหลายด้านที่จะช่วยดำเนินการทั้งในด้านเทคโนโลยีพื้นฐานที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมและชุมชน เพื่อให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และสังคมบรรลุเป้าหมาย จึงได้พิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ เห็นควรแยกภารกิจของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. ส่วนที่ 1 ภารกิจที่มีสถานะเป็นส่วนราชการ โดยมีภารกิจ ดังนี้ การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีชุมชน การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเซรามิก และการส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาและเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป รวมทั้งงานสนับสนุนบางส่วน
2. ส่วนที่ 2 ภารกิจที่มีสถานะเป็นองค์การมหาชน เพื่อจัดตั้งสถาบันปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยมีภารกิจ ดังนี้ การวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบ การบริหารจัดการทดสอบความชำนาญ การพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ การวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ การจัดทำวัสดุอ้างอิง และเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งงานสนับสนุนบางส่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ร่างพระราชบัญญัติสถาบันปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. ....)
และเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2550 เรื่อง การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเซรามิกแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
ภารกิจด้านเซรามิกและแก้วของกรมวิทยาศาสตร์บริการ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้แยกกรมวิทยาศาสตร์บริการออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่มีสถานะเป็นราชการให้คงเป็นกรมวิทยาศาสตร์บริการต่อไป และส่วนที่จะมีสถานะเป็นองค์การมหาชนให้จัดตั้งเป็นสถาบันปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปดำเนินการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอว่า เนื่องด้วยรัฐบาลให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจในระดับฐานรากมากขึ้น โดยการสร้างคน สร้างระบบ ส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยี และเร่งพัฒนาองค์ความรู้และการนำความรู้สู่การปฏิบัติที่สำคัญต่อเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมยุคใหม่ ภาคอุตสาหกรรมของไทยเป็นหน่วยผลิตที่สำคัญของประเทศ กลุ่มที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญส่วนหนึ่งในการกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นองค์การที่มีความพร้อมในหลายด้านที่จะช่วยดำเนินการทั้งในด้านเทคโนโลยีพื้นฐานที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมและชุมชน เพื่อให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และสังคมบรรลุเป้าหมาย จึงได้พิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ เห็นควรแยกภารกิจของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. ส่วนที่ 1 ภารกิจที่มีสถานะเป็นส่วนราชการ โดยมีภารกิจ ดังนี้ การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีชุมชน การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเซรามิก และการส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาและเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป รวมทั้งงานสนับสนุนบางส่วน
2. ส่วนที่ 2 ภารกิจที่มีสถานะเป็นองค์การมหาชน เพื่อจัดตั้งสถาบันปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยมีภารกิจ ดังนี้ การวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบ การบริหารจัดการทดสอบความชำนาญ การพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ การวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ การจัดทำวัสดุอ้างอิง และเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งงานสนับสนุนบางส่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--