คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วรวม 2 ฉบับ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป และเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะทำงานตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยมอบให้กระทรวงแรงงานรับไปดำเนินงานต่อไป
1. ร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดให้นายจ้างจัดและดูแลสถานประกอบกิจการให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน การปฏิบัติงานของลูกจ้าง มิให้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และอนามัย (ร่างมาตรา 6)
1.2 กำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีความประสงค์จะให้บริการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานต้องขึ้นทะเบียนหรือได้รับอนุญาต ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 9 และร่างมาตรา 11)
1.3 กำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเจ็ดคนกับผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกห้าคนเป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายแผนงาน หรือมาตรการความปลอดภัย ฯ (ร่างมาตรา 24 และร่างมาตรา 25)
1.4 กำหนดอำนาจหน้าที่พนักงานตรวจความปลอดภัย ให้มีอำนาจเข้าไปในสถานประกอบกิจการ ตรวจสอบ บันทึกภาพ ใช้เครื่องมือในการตรวจวัดเก็บตัวอย่างวัสดุและสอบถามข้อเท็จจริงหรือสอบสวนเรื่องใด ๆ รวมทั้งให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ร่างมาตรา 35)
1.5 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรียกว่า “กองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ (ร่างมาตรา 44)
1.6 กำหนดให้กองทุนส่วนหนึ่งประกอบด้วยเงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล รวมทั้งให้เงินและทรัพย์สินของกองทุน ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ร่างมาตรา 45 และร่างมาตรา 47)
1.7 กำหนดให้มี “คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” มีอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละห้าคน มีอำนาจหน้าที่กำกับการจัดการและบริหารกองทุน (ร่างมาตรา 48 และร่างมาตรา 50)
2. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ยกเลิกหมวด 8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตั้งแต่มาตรการ 100 ถึงมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ร่างมาตรา 3)
2.2 แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษของนายจ้างผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ร่างมาตรา 4-ร่างมาตรา 7)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
1. ร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดให้นายจ้างจัดและดูแลสถานประกอบกิจการให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน การปฏิบัติงานของลูกจ้าง มิให้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และอนามัย (ร่างมาตรา 6)
1.2 กำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีความประสงค์จะให้บริการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานต้องขึ้นทะเบียนหรือได้รับอนุญาต ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 9 และร่างมาตรา 11)
1.3 กำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเจ็ดคนกับผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกห้าคนเป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายแผนงาน หรือมาตรการความปลอดภัย ฯ (ร่างมาตรา 24 และร่างมาตรา 25)
1.4 กำหนดอำนาจหน้าที่พนักงานตรวจความปลอดภัย ให้มีอำนาจเข้าไปในสถานประกอบกิจการ ตรวจสอบ บันทึกภาพ ใช้เครื่องมือในการตรวจวัดเก็บตัวอย่างวัสดุและสอบถามข้อเท็จจริงหรือสอบสวนเรื่องใด ๆ รวมทั้งให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ร่างมาตรา 35)
1.5 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรียกว่า “กองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ (ร่างมาตรา 44)
1.6 กำหนดให้กองทุนส่วนหนึ่งประกอบด้วยเงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล รวมทั้งให้เงินและทรัพย์สินของกองทุน ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ร่างมาตรา 45 และร่างมาตรา 47)
1.7 กำหนดให้มี “คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” มีอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละห้าคน มีอำนาจหน้าที่กำกับการจัดการและบริหารกองทุน (ร่างมาตรา 48 และร่างมาตรา 50)
2. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ยกเลิกหมวด 8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตั้งแต่มาตรการ 100 ถึงมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ร่างมาตรา 3)
2.2 แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษของนายจ้างผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ร่างมาตรา 4-ร่างมาตรา 7)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--