คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการเครื่องมือแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ให้คำแนะนำหรือความเห็นแก่รัฐมนตรีในด้านนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องมือแพทย์ และให้ความเห็นชอบในเรื่องการพักใช้และเพิกถอนใบจดทะเบียนสถานประกอบการ (ร่างมาตรา 7 และร่างมาตรา 11)
2. กำหนดการจดทะเบียนสถานประกอบการ การขออนุญาต การอนุญาต การผลิต จำหน่าย หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ (ร่างมาตรา 15 ถึงร่างมาตรา 35)
3. กำหนดการเลิกกิจการและการโอนกิจการของผู้จดทะเบียนสถานประกอบการ (ร่างมาตรา 36 ถึง ร่างมาตรา 39)
4. กำหนดหน้าที่ของผู้จดทะเบียนสถานประกอบการ ผู้รับอนุญาต ผู้แจ้งรายการละเอียด และผู้ขายเกี่ยวกับการผลิต นำเข้า ขาย หรือเก็บรักษาเครื่องมือแพทย์ (ร่างมาตรา 40 ถึงร่างมาตรา 43)
5. กำหนดให้มีฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ (ร่างมาตรา 44 ถึงร่างมาตรา 45)
6. กำหนดวิธีการควบคุมเครื่องมือแพทย์ปลอม ผิดมาตรฐาน เสื่อมคุณภาพไม่ปลอดภัยในการใช้ และการนำเข้าไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต (ร่างมาตรา 46 ถึงร่างมาตรา 56)
7. กำหนดวิธีการโฆษณา การห้ามโฆษณา และการควบคุมโฆษณาเครื่องมือแพทย์ (ร่างมาตรา 57 ถึงร่างมาตรา 61)
8. กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่ เพื่อตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ การยึดหรืออายัดเครื่องมือแพทย์ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ร่างมาตรา 62 ถึงร่างมาตรา 67)
9. กำหนดวิธีการพักใช้และการเพิกถอนใบจดทะเบียนสถานประกอบการ ใบอนุญาต หรือใบแจ้งรายการละเอียด (ร่างมาตรา 68 ถึงร่างมาตรา 74)
10. กำหนดวิธีการอุทธรณ์คำสั่งของเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (ร่างมาตรา 75 ถึงร่างมาตรา 77)
11. กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบทางแพ่งของผู้ผลิต นำเข้า หรือขายเครื่องมือแพทย์ ที่ต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายต่อผู้เสียหาย (ร่างมาตรา 78 ถึงร่างมาตรา 81)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการเครื่องมือแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ให้คำแนะนำหรือความเห็นแก่รัฐมนตรีในด้านนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องมือแพทย์ และให้ความเห็นชอบในเรื่องการพักใช้และเพิกถอนใบจดทะเบียนสถานประกอบการ (ร่างมาตรา 7 และร่างมาตรา 11)
2. กำหนดการจดทะเบียนสถานประกอบการ การขออนุญาต การอนุญาต การผลิต จำหน่าย หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ (ร่างมาตรา 15 ถึงร่างมาตรา 35)
3. กำหนดการเลิกกิจการและการโอนกิจการของผู้จดทะเบียนสถานประกอบการ (ร่างมาตรา 36 ถึง ร่างมาตรา 39)
4. กำหนดหน้าที่ของผู้จดทะเบียนสถานประกอบการ ผู้รับอนุญาต ผู้แจ้งรายการละเอียด และผู้ขายเกี่ยวกับการผลิต นำเข้า ขาย หรือเก็บรักษาเครื่องมือแพทย์ (ร่างมาตรา 40 ถึงร่างมาตรา 43)
5. กำหนดให้มีฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ (ร่างมาตรา 44 ถึงร่างมาตรา 45)
6. กำหนดวิธีการควบคุมเครื่องมือแพทย์ปลอม ผิดมาตรฐาน เสื่อมคุณภาพไม่ปลอดภัยในการใช้ และการนำเข้าไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต (ร่างมาตรา 46 ถึงร่างมาตรา 56)
7. กำหนดวิธีการโฆษณา การห้ามโฆษณา และการควบคุมโฆษณาเครื่องมือแพทย์ (ร่างมาตรา 57 ถึงร่างมาตรา 61)
8. กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่ เพื่อตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ การยึดหรืออายัดเครื่องมือแพทย์ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ร่างมาตรา 62 ถึงร่างมาตรา 67)
9. กำหนดวิธีการพักใช้และการเพิกถอนใบจดทะเบียนสถานประกอบการ ใบอนุญาต หรือใบแจ้งรายการละเอียด (ร่างมาตรา 68 ถึงร่างมาตรา 74)
10. กำหนดวิธีการอุทธรณ์คำสั่งของเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (ร่างมาตรา 75 ถึงร่างมาตรา 77)
11. กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบทางแพ่งของผู้ผลิต นำเข้า หรือขายเครื่องมือแพทย์ ที่ต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายต่อผู้เสียหาย (ร่างมาตรา 78 ถึงร่างมาตรา 81)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--