แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอว่า ด้วยปัญหาการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคล รวมทั้งสตรีเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก ขณะเดียวกันประเทศต่าง ๆ ได้มีความพยายามที่จะผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติ ซึ่งในบางประเทศก็สามารถผลักดันกฎหมายที่ห้ามการเลือกปฏิบัติโดยสาเหตุเกี่ยวกับเพศเป็นการเฉพาะได้แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในลักษณะดังกล่าว ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 ได้กำหนดให้บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียกัน ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองและพิทักษ์สตรีและการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย จึงได้มีการศึกษาและยกร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. .... ขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อเป็นกฎหมายเฉพาะด้านที่ส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมกันเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมและคุ้มครองผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิอันเนื่องมาจากเหตุแห่งเพศ และเพื่อให้เป็นกฎหมายที่รองรับการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบของสหประชาชาติ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อพิจารณา
ในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันพุธที่ 17 ตุลาคม 2550 ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. .... (นางจุรี วิจิตรวาทการ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) แล้วลงมติอนุมัติให้คณะรัฐมนตรีรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปพิจารณาก่อนรับหลักการโดยให้รอการพิจารณาไว้ภายในกำหนดเวลา 30 วัน ตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ข้อ 111 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะครบกำหนดเวลาในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ส่งเสริมให้มีการกำหนดนโยบาย มาตรการ กลไก แผนปฏิบัติงานและประสานการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตลอดจนเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย คุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (ร่างมาตรา 6)
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมทางเพศ (อทพ.) กำหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติและวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ การพ้นจากตำแหน่ง องค์ประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 9 ถึงร่างมาตรา 15)
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) สาขาต่าง ๆ กำหนดคุณสมบัติและวาระการดำรงตำแหน่ง (ร่างมาตรา 17 ถึงร่างมาตรา 19)
4. กำหนดให้สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวรับผิดชอบงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการ อทพ. และคณะกรรมการ วลพ. (ร่างมาตรา 21)
5. กำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องเมื่อมีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมโดยกำหนดให้ต้องยื่นเป็นหนังสือและกำหนดรายละเอียดของคำร้องและวิธีการยื่นและรับคำร้องผู้เสียหาย (ร่างมาตรา 22 — ร่างมาตรา 23)
6. กำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติของคณะกรรมการ ผู้ยื่นคำร้องและการดำเนินการ (ร่างมาตรา 24 และร่างมาตรา 26 ถึงร่างมาตรา 35)
7. กำหนดวิธีการการให้ความช่วยเหลือและการสงเคราะห์ผู้เสียหาย (ร่างมาตรา 36 — ร่างมาตรา 40)
8. กำหนดให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ กำหนดวัตถุประสงค์ ที่มาและกรอบการใช้จ่ายเงินในกองทุน (ร่างมาตรา 41 ถึงร่างมาตรา 44)
9. กำหนดบทกำหนดโทษ (ร่างมาตรา 45 ถึงร่างมาตรา 50)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอว่า ด้วยปัญหาการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคล รวมทั้งสตรีเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก ขณะเดียวกันประเทศต่าง ๆ ได้มีความพยายามที่จะผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติ ซึ่งในบางประเทศก็สามารถผลักดันกฎหมายที่ห้ามการเลือกปฏิบัติโดยสาเหตุเกี่ยวกับเพศเป็นการเฉพาะได้แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในลักษณะดังกล่าว ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 ได้กำหนดให้บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียกัน ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองและพิทักษ์สตรีและการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย จึงได้มีการศึกษาและยกร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. .... ขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อเป็นกฎหมายเฉพาะด้านที่ส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมกันเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมและคุ้มครองผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิอันเนื่องมาจากเหตุแห่งเพศ และเพื่อให้เป็นกฎหมายที่รองรับการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบของสหประชาชาติ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อพิจารณา
ในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันพุธที่ 17 ตุลาคม 2550 ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. .... (นางจุรี วิจิตรวาทการ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) แล้วลงมติอนุมัติให้คณะรัฐมนตรีรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปพิจารณาก่อนรับหลักการโดยให้รอการพิจารณาไว้ภายในกำหนดเวลา 30 วัน ตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ข้อ 111 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะครบกำหนดเวลาในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ส่งเสริมให้มีการกำหนดนโยบาย มาตรการ กลไก แผนปฏิบัติงานและประสานการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตลอดจนเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย คุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (ร่างมาตรา 6)
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมทางเพศ (อทพ.) กำหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติและวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ การพ้นจากตำแหน่ง องค์ประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 9 ถึงร่างมาตรา 15)
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) สาขาต่าง ๆ กำหนดคุณสมบัติและวาระการดำรงตำแหน่ง (ร่างมาตรา 17 ถึงร่างมาตรา 19)
4. กำหนดให้สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวรับผิดชอบงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการ อทพ. และคณะกรรมการ วลพ. (ร่างมาตรา 21)
5. กำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องเมื่อมีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมโดยกำหนดให้ต้องยื่นเป็นหนังสือและกำหนดรายละเอียดของคำร้องและวิธีการยื่นและรับคำร้องผู้เสียหาย (ร่างมาตรา 22 — ร่างมาตรา 23)
6. กำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติของคณะกรรมการ ผู้ยื่นคำร้องและการดำเนินการ (ร่างมาตรา 24 และร่างมาตรา 26 ถึงร่างมาตรา 35)
7. กำหนดวิธีการการให้ความช่วยเหลือและการสงเคราะห์ผู้เสียหาย (ร่างมาตรา 36 — ร่างมาตรา 40)
8. กำหนดให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ กำหนดวัตถุประสงค์ ที่มาและกรอบการใช้จ่ายเงินในกองทุน (ร่างมาตรา 41 ถึงร่างมาตรา 44)
9. กำหนดบทกำหนดโทษ (ร่างมาตรา 45 ถึงร่างมาตรา 50)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--