คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยให้เพิ่มกรรมการในคณะกรรมการวัตถุอันตรายตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมรัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ควบคุม ส่งเสริมและติดตามดูแลการดำเนินงานของเลขานุการ (ร่างมาตรา 3)
2. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ร่างมาตรา 4 — 6)
3. เพิ่มเติมให้รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบโดยความเห็นของคณะกรรมการ มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดปริมาณวัตถุอันตราย การดำเนินการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย การให้มีการประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย ชีวิต หรือทรัพย์สิน และกำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 20 (1) และ (1/1) (ร่างมาตรา 7)
4. กำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรเฉพาะซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกำหนด โดยความเห็นของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ร่างมาตรา 8)
5. แก้ไขเพิ่มเติมให้ใบรับแจ้งดำเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 มีอายุไม่เกินสามปี ให้ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 มีอายุไม่เกินหกปี และให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 ต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบและเพิ่มเติมการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (ร่างมาตรา 9 ร่างมาตรา 10 และร่างมาตรา 11)
6. แก้ไขเพิ่มเติมให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบอนุญาตให้มีการผลิต นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เฉพาะกรณี เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ประกาศระบุว่าวัตถุใดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ร่างมาตรา 13)
7. แก้ไขให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ส่งคืนวัตถุอันตราย และเพิ่มเติมอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งการให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการแก้ไขในกรณีที่การประกอบกิจการมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหาย หรือความเดือดร้อนแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน (ร่างมาตรา 14 และร่างมาตรา 15)
8. เพิ่มเติมกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิด ให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย (ร่างมาตรา 20)
9. เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อรองรับให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คำขอที่ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 หรือใบรับแจ้งการดำเนินการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่ออกให้ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คงใช้ได้ต่อไปตามระยะเวลาที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่..) พ.ศ. .... แล้วเห็นชอบด้วย เว้นแต่ในเรื่องขององค์ประกอบคณะกรรมการวัตถุอันตรายตามร่างมาตรา 4 เห็นควรให้เพิ่มเติมอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และผู้แทนสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นกรรมการในคณะกรรมการวัตถุอันตรายด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมรัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ควบคุม ส่งเสริมและติดตามดูแลการดำเนินงานของเลขานุการ (ร่างมาตรา 3)
2. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ร่างมาตรา 4 — 6)
3. เพิ่มเติมให้รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบโดยความเห็นของคณะกรรมการ มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดปริมาณวัตถุอันตราย การดำเนินการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย การให้มีการประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย ชีวิต หรือทรัพย์สิน และกำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 20 (1) และ (1/1) (ร่างมาตรา 7)
4. กำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรเฉพาะซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกำหนด โดยความเห็นของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ร่างมาตรา 8)
5. แก้ไขเพิ่มเติมให้ใบรับแจ้งดำเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 มีอายุไม่เกินสามปี ให้ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 มีอายุไม่เกินหกปี และให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 ต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบและเพิ่มเติมการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (ร่างมาตรา 9 ร่างมาตรา 10 และร่างมาตรา 11)
6. แก้ไขเพิ่มเติมให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบอนุญาตให้มีการผลิต นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เฉพาะกรณี เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ประกาศระบุว่าวัตถุใดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ร่างมาตรา 13)
7. แก้ไขให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ส่งคืนวัตถุอันตราย และเพิ่มเติมอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งการให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการแก้ไขในกรณีที่การประกอบกิจการมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหาย หรือความเดือดร้อนแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน (ร่างมาตรา 14 และร่างมาตรา 15)
8. เพิ่มเติมกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิด ให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย (ร่างมาตรา 20)
9. เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อรองรับให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คำขอที่ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 หรือใบรับแจ้งการดำเนินการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่ออกให้ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คงใช้ได้ต่อไปตามระยะเวลาที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่..) พ.ศ. .... แล้วเห็นชอบด้วย เว้นแต่ในเรื่องขององค์ประกอบคณะกรรมการวัตถุอันตรายตามร่างมาตรา 4 เห็นควรให้เพิ่มเติมอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และผู้แทนสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นกรรมการในคณะกรรมการวัตถุอันตรายด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--