คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2550 — 2554 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้จัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 11 (1) ของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 รายละเอียดของกระบวนการจัดทำและสาระสำคัญมี ดังนี้
1. กระบวนการจัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และใช้กระบวนการทำงานหลายรูปแบบ เช่น การศึกษาเอกสารงานวิจัยและแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษามาตรการส่งเสริมในต่างประเทศ การประชุมระดมความคิดเห็นหลายครั้ง การจัดสัมมนาพิจารณ์ครั้งใหญ่เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากภาครัฐ - ภาคเอกชน — ภาควิชาการ และการสัมภาษณ์ผู้แทนองค์กรเอกชนและผู้เชี่ยวชาญ
2. ศึกษาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ โครงสร้างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ติดตามและประเมินผลการส่งเสริม SMEs ตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2545 — 2549 (แผนฉบับที่ 1) และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2547-2549 ศึกษาบริบทการพัฒนาที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย รวมทั้งวิเคราะห์จุดอ่อน- จุดแข็ง โอกาส- ข้อจำกัดของวิสาหกิจไทย
3. ศึกษายุทธศาสตร์และแผนด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้เพื่อรองรับกระแสโลกาภิวัตน์ แผนกลยุทธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2547 — 2556 กรอบแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งมาตรการส่งเสริม SMEs ในต่างประเทศ
4. กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการส่งเสริม ยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMEs ระยะปี 2550-2554 และกลไกการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ สาระสำคัญโดยสรุปมีดังนี้
4.1 ผลการส่งเสริมที่ผ่านมา ยังไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งในเชิงโครงสร้างให้ SMEs ไทยได้ยังมีปัญหาความอ่อนด้อยด้านประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการ ขณะที่ปัจจัยและผลกระทบจากภายนอก โดยเฉพาะการเปิดเสรีและเข้าสู่ระบบตลาดของประเทศที่มีต้นทุนต่ำ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี และภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งภาวะราคาพลังงานและค่าเงินบาทได้ทำให้ต้นทุนการประกอบการสูงขึ้น ทำให้สภาพการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งทำให้ SMEs บางกลุ่มเกิดการหดตัวโดยเฉพาะในภาคการค้า และการผลิตและส่งออกของ SMEs ส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ (Primary & Labour-intensive products and services)
4.2 ในแผนการส่งเสริม SMEs ได้นำนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพภายในกิจการของวิสาหกิจไทยอย่างต่อเนื่อง และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา รวมทั้งได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริม SMEs ไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิด
4.2.1 การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิตและองค์ความรู้ — ภูมิปัญญาภายในประเทศ ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs
4.2.2 การส่งเสริมการสร้างความสมดุลในการพัฒนาระหว่างธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย
4.2.3 การสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กิจการ SMEs ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการที่ดี การลงทุนที่มีประสิทธิภาพ และไม่เกินศักยภาพ
4.2.4 การส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม ระหว่างธุรกิจรายย่อยกับรายใหญ่ และระหว่างธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
4.3 วิสัยทัศน์การส่งเสริม คือ การส่งเสริมให้ SMEs ไทยมีการเติบโตที่แข็งแรง ยั่งยืน สมดุล และสามารถก้าวไปสู่ความเป็นกิจการที่ใช้ความรู้ (Knowledge — based SMEs) ที่มีพลวัตสูง โดยได้ประมาณการและกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมในเรื่องของการเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของ SMEs การขยายตัวของการส่งออก และการเพิ่มผลิตภาพรวมและผลิตภาพแรงงานของ SMEs โดยมีทิศทางการส่งเสริมให้ SMEs มีการเติบโตและพัฒนาได้ 2 แนวทาง คือ การเติบโตในเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาขีดความสามารถทางนวัตกรรมและการเพิ่มผลิตภาพโดยรวม ในขณะที่อีกแนวทางหนึ่งเป็นการส่งเสริมการเติบโตในเชิงขนาดควบคู่ไปกับคุณภาพ โดยพัฒนากิจการจากวิสาหกิจขนาดจิ๋วเป็นขนาดย่อม ขนาดกลาง และขยายตัวไปเป็นขนาดใหญ่ในที่สุด ซึ่งก็ยังต้องให้ความสำคัญกับทักษะฝีมือ องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และผลิตภาพด้วยเช่นกัน
4.4 ทิศทางการส่งเสริม SMEs ในระยะ 5 ปีข้างหน้า จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมทั้งในระดับตัวผู้ประกอบการ ซึ่งพิจารณาตามลำดับขั้นการพัฒนาของกิจการระดับสาขาธุรกิจในภาคการผลิต การค้า บริการ และการส่งเสริมผู้ประกอบการในภูมิภาค โดยการส่งเสริมจะให้ความสำคัญกับกิจการที่มีการปรับตัวด้านความโปร่งใสและประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจตามหลักการยิ่งปรับตัวมากยิ่งได้รับการส่งเสริมมาก และส่งเสริมให้ใช้การเพิ่มผลิตภาพการผลิต — การจัดการ (Productivity) และความสามารถทางนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตขยายตัว รวมทั้ง การสร้างสภาพแวดล้อมและสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ
4.5 ยุทธศาสตร์เพื่อรองรับแนวทางและทิศทางการส่งเสริมดังกล่าวมีดังนี้
4.5.1 ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ แบ่งผู้ประกอบการออกตามระยะการพัฒนาของธุรกิจเป็นผู้ประกอบการใหม่ ผู้ประกอบการเดิมระยะเริ่มต้น ระยะเติบโต ระยะอยู่ตัว และระยะถดถอย - ปรับตัวมีทิศทาง คือ เสริมสร้างขีดความสามารถผู้ประกอบการใหม่และผู้ประกอบการเดิมในการผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ฐานความรู้ ทักษะฝีมือ และนวัตกรรม ด้วยการสร้างคุณค่าและเน้นการตอบสนองความต้องการของตลาดในระดับกลางขึ้นไป โดยให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจในการเริ่มต้นธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเทคโนโลยี บุคลากร การเงิน และการตลาดให้เหมาะสมกับระยะการเติบโตของธุรกิจ รวมทั้งการสร้างความตื่นตัวและความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจให้มีธรรมาภิบาล
4.5.2 ยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตภาพและขีดความสามารถทางนวัตกรรมของ SMEs ในภาคการผลิต มีทิศทาง คือ เพิ่มมูลค่าเพิ่มความแตกต่าง และความสามารถในการแข่งขันของสินค้าอุตสาหกรรม และปรับโครงสร้างการผลิตจากผู้รับจ้าง (OEM) ไปเป็นผู้สามารถออกแบบ (ODM) และเป็นผู้สร้างตรายี่ห้อ (OBM) โดยให้ความสำคัญกับการสร้างพันธมิตรธุรกิจและการรวมกลุ่ม SMEs สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ เตรียมพร้อมรองรับระบบการค้าเสรีและมาตรการทางการค้า-
การลงทุน และการยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
4.5.3 ยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบในภาคการค้า เนื่องจากภาคการค้าปลีก —ค้าส่งไทย ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการค้าสมัยใหม่ขนาดใหญ่ (Modern Trade) ค่อนข้างมาก ทิศทางการส่งเสริมจึงให้ความสำคัญในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ และลดผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันกับธุรกิจการค้าสมัยใหม่ขนาดใหญ่ (Modern Trade) โดยจะต้องเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของ SMEs ส่งเสริมและปรับปรุงระบบการกำกับดูแลภาคการค้าส่ง - ค้าปลีก เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม รวมทั้งสร้างและพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการในการพัฒนาธุรกิจการค้าและระบบตลาดของภาคการค้า
4.5.4 ยุทธศาสตร์การส่งเสริมขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคบริการ มีทิศทางการส่งเสริม คือ สนับสนุนการใช้องค์ความรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย และเทคโนโลยี โดยเฉพาะ ICT ในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง SMEs ภาคบริการกับธุรกิจขนาดใหญ่ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรภาคบริการทั้งด้านคุณธรรมและจรรยาบรรณ สร้างระบบความเชื่อมโยงและเครือข่ายภาคบริการ ที่มีศักยภาพพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันด้านการผลิต — การจัดการโดยใช้ความเป็นไทย (Thainess) และ ICT และเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ภาคบริการ
4.5.5 ยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMEs ในภูมิภาคและท้องถิ่น มีทิศทาง คือ ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายและความเชื่อมโยงธุรกิจของ SMEs ในภูมิภาคและสร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่ม และความแตกต่างของสินค้า — บริการให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) การส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจและการรวมกลุ่ม สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งบริกรธุรกิจ (Service provider) เพื่อให้บริการแก่ SMEs ในภูมิภาค และการบูรณาการและสร้างเครือข่ายการทำงานส่งเสริม SMEs ในภูมิภาค
4.5.6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ ทิศทางการส่งเสริม คือ การพัฒนาสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก และโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ SMEs เพื่อมุ่งยกระดับผลิตภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางนวัตกรรมให้สูงยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการปรับตัวไปสู่กิจการที่ใช้ฐานความรู้และมีพลวัตสูง การพัฒนาปัจจัยเอื้อที่สำคัญ ได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านเทคโนโลยี บุคลากร การเงิน การตลาด การสนับสนุนด้านพื้นที่ประกอบการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการด้านโลจิสติกส์ การปรับปรุงและพัฒนากฎระเบียบเพื่อลดอุปสรรคและเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ และสนับสนุนบริการด้านองค์ความรู้ / ข้อมูลและการนำไปใช้ประโยชน์รวมทั้งปรับปรุงการบริหารจัดการงานส่งเสริมของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. แผนการส่งเสริม SMEs ได้กำหนดแนวทางในการสร้างระบบกลไกและเครือข่ายการทำงานเพื่อการส่งเสริม SMEs โดยมีสำนักงานฯ เป็นหน่วยงานแกนกลางในการจัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผล รวมทั้งเป็นหน่วยสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานปฏิบัติของภาครัฐ — ภาคเอกชน ทั้งในประเทศ (ในส่วนกลางและในภูมิภาค) และในต่างประเทศในด้านองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และงบประมาณในการปฏิบัติงานส่งเสริม SMEs
แผนนี้จะนำไปใช้เป็นกรอบทิศทางหลักในการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม SMEs ปี 2550-2554 ที่สำนักงานฯ จะได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้น โดยในแผนปฏิบัติการฯ จะมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งในภาคอุตสาหกรรม การค้า บริการ และผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งมีการจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน / โครงการ ตามสภาพปัญหาความต้องการที่เร่งด่วนของ SMEs และความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานส่งเสริม SMEs ของหน่วยงานต่างๆมีทิศทางที่สอดคล้องกัน และมีพลังในการผลักดันและเสริมสร้างให้ SMEs ไทย มีความแข็งแกร่งก้าวไปสู่กิจการที่ใช้องค์ความรู้ รู้เท่าทัน และมีความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบได้อย่างเหมาะสม
กระทรวงอุตสาหกรรมจึงเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้จัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 11 (1) ของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 รายละเอียดของกระบวนการจัดทำและสาระสำคัญมี ดังนี้
1. กระบวนการจัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และใช้กระบวนการทำงานหลายรูปแบบ เช่น การศึกษาเอกสารงานวิจัยและแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษามาตรการส่งเสริมในต่างประเทศ การประชุมระดมความคิดเห็นหลายครั้ง การจัดสัมมนาพิจารณ์ครั้งใหญ่เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากภาครัฐ - ภาคเอกชน — ภาควิชาการ และการสัมภาษณ์ผู้แทนองค์กรเอกชนและผู้เชี่ยวชาญ
2. ศึกษาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ โครงสร้างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ติดตามและประเมินผลการส่งเสริม SMEs ตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2545 — 2549 (แผนฉบับที่ 1) และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2547-2549 ศึกษาบริบทการพัฒนาที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย รวมทั้งวิเคราะห์จุดอ่อน- จุดแข็ง โอกาส- ข้อจำกัดของวิสาหกิจไทย
3. ศึกษายุทธศาสตร์และแผนด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้เพื่อรองรับกระแสโลกาภิวัตน์ แผนกลยุทธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2547 — 2556 กรอบแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งมาตรการส่งเสริม SMEs ในต่างประเทศ
4. กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการส่งเสริม ยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMEs ระยะปี 2550-2554 และกลไกการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ สาระสำคัญโดยสรุปมีดังนี้
4.1 ผลการส่งเสริมที่ผ่านมา ยังไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งในเชิงโครงสร้างให้ SMEs ไทยได้ยังมีปัญหาความอ่อนด้อยด้านประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการ ขณะที่ปัจจัยและผลกระทบจากภายนอก โดยเฉพาะการเปิดเสรีและเข้าสู่ระบบตลาดของประเทศที่มีต้นทุนต่ำ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี และภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งภาวะราคาพลังงานและค่าเงินบาทได้ทำให้ต้นทุนการประกอบการสูงขึ้น ทำให้สภาพการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งทำให้ SMEs บางกลุ่มเกิดการหดตัวโดยเฉพาะในภาคการค้า และการผลิตและส่งออกของ SMEs ส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ (Primary & Labour-intensive products and services)
4.2 ในแผนการส่งเสริม SMEs ได้นำนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพภายในกิจการของวิสาหกิจไทยอย่างต่อเนื่อง และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา รวมทั้งได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริม SMEs ไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิด
4.2.1 การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิตและองค์ความรู้ — ภูมิปัญญาภายในประเทศ ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs
4.2.2 การส่งเสริมการสร้างความสมดุลในการพัฒนาระหว่างธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย
4.2.3 การสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กิจการ SMEs ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการที่ดี การลงทุนที่มีประสิทธิภาพ และไม่เกินศักยภาพ
4.2.4 การส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม ระหว่างธุรกิจรายย่อยกับรายใหญ่ และระหว่างธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
4.3 วิสัยทัศน์การส่งเสริม คือ การส่งเสริมให้ SMEs ไทยมีการเติบโตที่แข็งแรง ยั่งยืน สมดุล และสามารถก้าวไปสู่ความเป็นกิจการที่ใช้ความรู้ (Knowledge — based SMEs) ที่มีพลวัตสูง โดยได้ประมาณการและกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมในเรื่องของการเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของ SMEs การขยายตัวของการส่งออก และการเพิ่มผลิตภาพรวมและผลิตภาพแรงงานของ SMEs โดยมีทิศทางการส่งเสริมให้ SMEs มีการเติบโตและพัฒนาได้ 2 แนวทาง คือ การเติบโตในเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาขีดความสามารถทางนวัตกรรมและการเพิ่มผลิตภาพโดยรวม ในขณะที่อีกแนวทางหนึ่งเป็นการส่งเสริมการเติบโตในเชิงขนาดควบคู่ไปกับคุณภาพ โดยพัฒนากิจการจากวิสาหกิจขนาดจิ๋วเป็นขนาดย่อม ขนาดกลาง และขยายตัวไปเป็นขนาดใหญ่ในที่สุด ซึ่งก็ยังต้องให้ความสำคัญกับทักษะฝีมือ องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และผลิตภาพด้วยเช่นกัน
4.4 ทิศทางการส่งเสริม SMEs ในระยะ 5 ปีข้างหน้า จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมทั้งในระดับตัวผู้ประกอบการ ซึ่งพิจารณาตามลำดับขั้นการพัฒนาของกิจการระดับสาขาธุรกิจในภาคการผลิต การค้า บริการ และการส่งเสริมผู้ประกอบการในภูมิภาค โดยการส่งเสริมจะให้ความสำคัญกับกิจการที่มีการปรับตัวด้านความโปร่งใสและประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจตามหลักการยิ่งปรับตัวมากยิ่งได้รับการส่งเสริมมาก และส่งเสริมให้ใช้การเพิ่มผลิตภาพการผลิต — การจัดการ (Productivity) และความสามารถทางนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตขยายตัว รวมทั้ง การสร้างสภาพแวดล้อมและสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ
4.5 ยุทธศาสตร์เพื่อรองรับแนวทางและทิศทางการส่งเสริมดังกล่าวมีดังนี้
4.5.1 ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ แบ่งผู้ประกอบการออกตามระยะการพัฒนาของธุรกิจเป็นผู้ประกอบการใหม่ ผู้ประกอบการเดิมระยะเริ่มต้น ระยะเติบโต ระยะอยู่ตัว และระยะถดถอย - ปรับตัวมีทิศทาง คือ เสริมสร้างขีดความสามารถผู้ประกอบการใหม่และผู้ประกอบการเดิมในการผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ฐานความรู้ ทักษะฝีมือ และนวัตกรรม ด้วยการสร้างคุณค่าและเน้นการตอบสนองความต้องการของตลาดในระดับกลางขึ้นไป โดยให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจในการเริ่มต้นธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเทคโนโลยี บุคลากร การเงิน และการตลาดให้เหมาะสมกับระยะการเติบโตของธุรกิจ รวมทั้งการสร้างความตื่นตัวและความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจให้มีธรรมาภิบาล
4.5.2 ยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตภาพและขีดความสามารถทางนวัตกรรมของ SMEs ในภาคการผลิต มีทิศทาง คือ เพิ่มมูลค่าเพิ่มความแตกต่าง และความสามารถในการแข่งขันของสินค้าอุตสาหกรรม และปรับโครงสร้างการผลิตจากผู้รับจ้าง (OEM) ไปเป็นผู้สามารถออกแบบ (ODM) และเป็นผู้สร้างตรายี่ห้อ (OBM) โดยให้ความสำคัญกับการสร้างพันธมิตรธุรกิจและการรวมกลุ่ม SMEs สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ เตรียมพร้อมรองรับระบบการค้าเสรีและมาตรการทางการค้า-
การลงทุน และการยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
4.5.3 ยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบในภาคการค้า เนื่องจากภาคการค้าปลีก —ค้าส่งไทย ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการค้าสมัยใหม่ขนาดใหญ่ (Modern Trade) ค่อนข้างมาก ทิศทางการส่งเสริมจึงให้ความสำคัญในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ และลดผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันกับธุรกิจการค้าสมัยใหม่ขนาดใหญ่ (Modern Trade) โดยจะต้องเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของ SMEs ส่งเสริมและปรับปรุงระบบการกำกับดูแลภาคการค้าส่ง - ค้าปลีก เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม รวมทั้งสร้างและพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการในการพัฒนาธุรกิจการค้าและระบบตลาดของภาคการค้า
4.5.4 ยุทธศาสตร์การส่งเสริมขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคบริการ มีทิศทางการส่งเสริม คือ สนับสนุนการใช้องค์ความรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย และเทคโนโลยี โดยเฉพาะ ICT ในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง SMEs ภาคบริการกับธุรกิจขนาดใหญ่ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรภาคบริการทั้งด้านคุณธรรมและจรรยาบรรณ สร้างระบบความเชื่อมโยงและเครือข่ายภาคบริการ ที่มีศักยภาพพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันด้านการผลิต — การจัดการโดยใช้ความเป็นไทย (Thainess) และ ICT และเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ภาคบริการ
4.5.5 ยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMEs ในภูมิภาคและท้องถิ่น มีทิศทาง คือ ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายและความเชื่อมโยงธุรกิจของ SMEs ในภูมิภาคและสร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่ม และความแตกต่างของสินค้า — บริการให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) การส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจและการรวมกลุ่ม สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งบริกรธุรกิจ (Service provider) เพื่อให้บริการแก่ SMEs ในภูมิภาค และการบูรณาการและสร้างเครือข่ายการทำงานส่งเสริม SMEs ในภูมิภาค
4.5.6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ ทิศทางการส่งเสริม คือ การพัฒนาสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก และโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ SMEs เพื่อมุ่งยกระดับผลิตภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางนวัตกรรมให้สูงยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการปรับตัวไปสู่กิจการที่ใช้ฐานความรู้และมีพลวัตสูง การพัฒนาปัจจัยเอื้อที่สำคัญ ได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านเทคโนโลยี บุคลากร การเงิน การตลาด การสนับสนุนด้านพื้นที่ประกอบการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการด้านโลจิสติกส์ การปรับปรุงและพัฒนากฎระเบียบเพื่อลดอุปสรรคและเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ และสนับสนุนบริการด้านองค์ความรู้ / ข้อมูลและการนำไปใช้ประโยชน์รวมทั้งปรับปรุงการบริหารจัดการงานส่งเสริมของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. แผนการส่งเสริม SMEs ได้กำหนดแนวทางในการสร้างระบบกลไกและเครือข่ายการทำงานเพื่อการส่งเสริม SMEs โดยมีสำนักงานฯ เป็นหน่วยงานแกนกลางในการจัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผล รวมทั้งเป็นหน่วยสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานปฏิบัติของภาครัฐ — ภาคเอกชน ทั้งในประเทศ (ในส่วนกลางและในภูมิภาค) และในต่างประเทศในด้านองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และงบประมาณในการปฏิบัติงานส่งเสริม SMEs
แผนนี้จะนำไปใช้เป็นกรอบทิศทางหลักในการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม SMEs ปี 2550-2554 ที่สำนักงานฯ จะได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้น โดยในแผนปฏิบัติการฯ จะมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งในภาคอุตสาหกรรม การค้า บริการ และผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งมีการจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน / โครงการ ตามสภาพปัญหาความต้องการที่เร่งด่วนของ SMEs และความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานส่งเสริม SMEs ของหน่วยงานต่างๆมีทิศทางที่สอดคล้องกัน และมีพลังในการผลักดันและเสริมสร้างให้ SMEs ไทย มีความแข็งแกร่งก้าวไปสู่กิจการที่ใช้องค์ความรู้ รู้เท่าทัน และมีความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบได้อย่างเหมาะสม
กระทรวงอุตสาหกรรมจึงเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--