คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. รับทราบแนวทางพิจารณาก่อสร้างถนนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดังนี้
1.1 ห้ามมิให้ตัดถนนเพื่อเป็นทางสัญจรสาธารณะขึ้นใหม่
1.2 เส้นทางสาธารณะเดิมที่มีอยู่แล้ว ไม่ให้ขยายช่องจราจร โดยให้ปรับปรุงผิวจราจร หรือ การชะลอความเร็วแทน
1.3 การปรับปรุงผิวจราจร ให้ทำไปเพื่อความปลอดภัยในการจราจรเป็นหลักและให้พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
1.4 การพัฒนาถนนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองดูแลรักษาพื้นที่ หรือการศึกษา หรือการวิจัย หรือการท่องเที่ยว ให้ทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยคำนึงถึงผลกระทบและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
2. เห็นชอบให้องค์กร ส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ รับทราบและนำแนวทางดังกล่าวตามข้อ 1 ไปปฏิบัติในการวางแผนหรือดำเนินการในการก่อสร้างถนนต่อไป
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า
1. ได้มีองค์กร ส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กรมทางหลวงชนบท กรมโยธาธิการและผังเมือง จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขออนุญาตเข้าไปก่อสร้างถนนในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตพันธุ์สัตว์ป่าอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นปรากฏว่า กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมโยธาธิการและผังเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนดำเนินการก่อสร้างถนนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์รวม 26 โครงการ
2. การก่อสร้างหรือขยายถนนในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า [เช่น โครงการขยายทางหลวงหมายเลข 304 (กบินทร์บุรี-นครราชสีมา) โครงการก่อสร้างทางหลวงผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน โครงการก่อสร้างทางหลวงเชื่อมโยงอำเภอกะเปอร์ — อำเภอไชยา ตอนบ้านนา-บ้านเขาหลัก เป็นต้น)
] จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม ทำให้การดูแลรักษาพื้นที่ทำได้ยากมีปัญหาการล่าสัตว์และถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าถูกจำกัดให้แคบลง ไม่สามารถอพยพเคลื่อนย้ายไปมาได้ ทำให้สัตว์ป่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมน้อยลง เกิดการผสมสายเลือดชิดทำให้เกิดลักษณะด้อย ส่งผลให้สัตว์ป่าอ่อนแอและตายในที่สุด นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหาราษฎรเข้าไปบุกรุกในเขตพื้นที่เพื่อเป็นที่ทำกินและเป็นที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัญหาที่ยากแก่การแก้ไขและอาจใช้เป็นเส้นทางในการบุกรุกหรือตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นตามข้อสังเกตของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ด้วย
3. การก่อสร้างถนนภายในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่มีลักษณะเป็นการยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า และมีการกระทำให้เสื่อมสภาพแก่ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีข้อยกเว้นให้สามารถดำเนินการได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใต้ระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น องค์กร ส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ จะขออนุญาตก่อสร้างถนนโดยอาศัยการเป็นผู้สนับสนุนทางด้านงบประมาณ หรือการก่อสร้างแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อกฎหมายข้างต้น ซึ่งก็คือ ให้เจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างถนน
4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชถือปฏิบัติในการพิจารณาการก่อสร้างถนนในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อจะคุ้มครองดูแลรักษาพื้นที่สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติของชาติอื่น ๆ ให้คงอยู่ มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่สาธารณชน ดังนี้
4.1 ห้ามมิให้ตัดถนนเพื่อเป็นทางสัญจรสาธารณะขึ้นใหม่
4.2 เส้นทางสาธารณะเดิมที่มีอยู่แล้ว ไม่ให้ขยายช่องจราจร โดยให้ปรับปรุงผิวจราจร หรือ การชะลอความเร็วแทน
4.3 การปรับปรุงผิวจราจร ให้ทำไปเพื่อความปลอดภัยในการจราจรเป็นหลักและให้พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
4.4 การพัฒนาถนนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองดูแลรักษาพื้นที่ หรือการศึกษา หรือการวิจัย หรือการท่องเที่ยว ให้ทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยคำนึงถึงผลกระทบและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
1. รับทราบแนวทางพิจารณาก่อสร้างถนนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดังนี้
1.1 ห้ามมิให้ตัดถนนเพื่อเป็นทางสัญจรสาธารณะขึ้นใหม่
1.2 เส้นทางสาธารณะเดิมที่มีอยู่แล้ว ไม่ให้ขยายช่องจราจร โดยให้ปรับปรุงผิวจราจร หรือ การชะลอความเร็วแทน
1.3 การปรับปรุงผิวจราจร ให้ทำไปเพื่อความปลอดภัยในการจราจรเป็นหลักและให้พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
1.4 การพัฒนาถนนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองดูแลรักษาพื้นที่ หรือการศึกษา หรือการวิจัย หรือการท่องเที่ยว ให้ทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยคำนึงถึงผลกระทบและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
2. เห็นชอบให้องค์กร ส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ รับทราบและนำแนวทางดังกล่าวตามข้อ 1 ไปปฏิบัติในการวางแผนหรือดำเนินการในการก่อสร้างถนนต่อไป
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า
1. ได้มีองค์กร ส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กรมทางหลวงชนบท กรมโยธาธิการและผังเมือง จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขออนุญาตเข้าไปก่อสร้างถนนในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตพันธุ์สัตว์ป่าอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นปรากฏว่า กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมโยธาธิการและผังเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนดำเนินการก่อสร้างถนนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์รวม 26 โครงการ
2. การก่อสร้างหรือขยายถนนในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า [เช่น โครงการขยายทางหลวงหมายเลข 304 (กบินทร์บุรี-นครราชสีมา) โครงการก่อสร้างทางหลวงผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน โครงการก่อสร้างทางหลวงเชื่อมโยงอำเภอกะเปอร์ — อำเภอไชยา ตอนบ้านนา-บ้านเขาหลัก เป็นต้น)
] จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม ทำให้การดูแลรักษาพื้นที่ทำได้ยากมีปัญหาการล่าสัตว์และถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าถูกจำกัดให้แคบลง ไม่สามารถอพยพเคลื่อนย้ายไปมาได้ ทำให้สัตว์ป่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมน้อยลง เกิดการผสมสายเลือดชิดทำให้เกิดลักษณะด้อย ส่งผลให้สัตว์ป่าอ่อนแอและตายในที่สุด นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหาราษฎรเข้าไปบุกรุกในเขตพื้นที่เพื่อเป็นที่ทำกินและเป็นที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัญหาที่ยากแก่การแก้ไขและอาจใช้เป็นเส้นทางในการบุกรุกหรือตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นตามข้อสังเกตของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ด้วย
3. การก่อสร้างถนนภายในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่มีลักษณะเป็นการยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า และมีการกระทำให้เสื่อมสภาพแก่ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีข้อยกเว้นให้สามารถดำเนินการได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใต้ระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น องค์กร ส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ จะขออนุญาตก่อสร้างถนนโดยอาศัยการเป็นผู้สนับสนุนทางด้านงบประมาณ หรือการก่อสร้างแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อกฎหมายข้างต้น ซึ่งก็คือ ให้เจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างถนน
4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชถือปฏิบัติในการพิจารณาการก่อสร้างถนนในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อจะคุ้มครองดูแลรักษาพื้นที่สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติของชาติอื่น ๆ ให้คงอยู่ มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่สาธารณชน ดังนี้
4.1 ห้ามมิให้ตัดถนนเพื่อเป็นทางสัญจรสาธารณะขึ้นใหม่
4.2 เส้นทางสาธารณะเดิมที่มีอยู่แล้ว ไม่ให้ขยายช่องจราจร โดยให้ปรับปรุงผิวจราจร หรือ การชะลอความเร็วแทน
4.3 การปรับปรุงผิวจราจร ให้ทำไปเพื่อความปลอดภัยในการจราจรเป็นหลักและให้พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
4.4 การพัฒนาถนนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองดูแลรักษาพื้นที่ หรือการศึกษา หรือการวิจัย หรือการท่องเที่ยว ให้ทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยคำนึงถึงผลกระทบและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--