คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการของแผนปฏิบัติการโครงการขยายผลโครงการหลวงระยะ 4 ปี (พ.ศ.2551-2554) ตามมติคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนโครงการหลวง (กปส.) ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 (ซึ่งมีกรอบงบประมาณระยะเวลา 4 ปี รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,152,966,259 บาท) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงได้รับมอบหมายจากประธานมูลนิธิโครงการหลวงให้รับผิดชอบดำเนินการช่วยเหลือและสนับสนุนหน่วยงานและชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อนำความรู้และประสบการณ์จากโครงการหลวงไปขยายผลในพื้นที่รวม 17 แห่ง ในพื้นที่ 6 จังหวัด ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีความยากจน ผลผลิตการเกษตรต่ำ มีการใช้สารเคมีเกษตรมาก ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์และขาดแคลนน้ำ รวมทั้งมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร ดังนั้น การจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการขยายผลโครงการหลวงจึงมุ่งแก้ปัญหาความยากจนของประชากรบนพื้นที่สูงควบคู่ไปกับการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยฐานความรู้จากโครงการหลวงผสมผสานกับองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นและ เน้นการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สูงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานต่างๆ
แผนปฏิบัติการโครงการขยายผลโครงการหลวงระยะ 4 ปี (พ.ศ.2551-2554) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการ
1.1 เพื่อให้การปฏิบัติการของโครงการขยายผล โครงการหลวงทุกพื้นที่สอดคล้องกับแนวทางของโครงการหลวงและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตอบสนองต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554 และแผนพัฒนาของจังหวัด
1.2 เพื่อบูรณาการกิจกรรมพัฒนาชุมชนของหน่วยงานรัฐทั้งในระดับกรมและในระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับกิจกรรมขององค์กรท้องถิ่นและเอกชนในพื้นที่
1.3 เพื่อใช้เป็นกรอบและตัวชี้วัดในการกำกับและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
2. เป้าหมายของการพัฒนา มีดังนี้
2.1 ประชาชนในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงมีการประกอบอาชีพโดยอาศัยฐานความรู้จากโครงการหลวงที่มีการปรับใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมและภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่นและสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเกษตรกรอย่างน้อยร้อยละ 60 มีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายในระยะเวลาของแผน
2.2 ชุมชนในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงมีความเข้มแข็ง โดยกระบวนการรวมกลุ่มและการจัดการกลุ่มเพื่อการพึ่งพาตนเอง มีการจัดตั้งกลุ่มต้นแบบในทุกพื้นที่โครงการทั้งกลุ่มอาชีพ กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มเยาวชน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่น
2.3 การบุกรุกพื้นที่ป่าในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงลดลงอย่างเป็นรูปธรรม โดยการกำหนดเขตป่าไม้และพื้นที่ทำกินและการจัดการเชิงพื้นที่ที่อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่กับป่าได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
3. แนวทางการพัฒนาของโครงการขยายผลโครงการหลวง ประกอบด้วย 1. ด้านการวิจัยและพัฒนาอาชีพของเกษตรกร 2. ด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ด้านการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน 4. ด้านการพัฒนาสังคมและการตลาด และ 5. ด้านการบริหารจัดการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงได้รับมอบหมายจากประธานมูลนิธิโครงการหลวงให้รับผิดชอบดำเนินการช่วยเหลือและสนับสนุนหน่วยงานและชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อนำความรู้และประสบการณ์จากโครงการหลวงไปขยายผลในพื้นที่รวม 17 แห่ง ในพื้นที่ 6 จังหวัด ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีความยากจน ผลผลิตการเกษตรต่ำ มีการใช้สารเคมีเกษตรมาก ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์และขาดแคลนน้ำ รวมทั้งมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร ดังนั้น การจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการขยายผลโครงการหลวงจึงมุ่งแก้ปัญหาความยากจนของประชากรบนพื้นที่สูงควบคู่ไปกับการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยฐานความรู้จากโครงการหลวงผสมผสานกับองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นและ เน้นการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สูงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานต่างๆ
แผนปฏิบัติการโครงการขยายผลโครงการหลวงระยะ 4 ปี (พ.ศ.2551-2554) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการ
1.1 เพื่อให้การปฏิบัติการของโครงการขยายผล โครงการหลวงทุกพื้นที่สอดคล้องกับแนวทางของโครงการหลวงและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตอบสนองต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554 และแผนพัฒนาของจังหวัด
1.2 เพื่อบูรณาการกิจกรรมพัฒนาชุมชนของหน่วยงานรัฐทั้งในระดับกรมและในระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับกิจกรรมขององค์กรท้องถิ่นและเอกชนในพื้นที่
1.3 เพื่อใช้เป็นกรอบและตัวชี้วัดในการกำกับและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
2. เป้าหมายของการพัฒนา มีดังนี้
2.1 ประชาชนในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงมีการประกอบอาชีพโดยอาศัยฐานความรู้จากโครงการหลวงที่มีการปรับใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมและภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่นและสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเกษตรกรอย่างน้อยร้อยละ 60 มีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายในระยะเวลาของแผน
2.2 ชุมชนในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงมีความเข้มแข็ง โดยกระบวนการรวมกลุ่มและการจัดการกลุ่มเพื่อการพึ่งพาตนเอง มีการจัดตั้งกลุ่มต้นแบบในทุกพื้นที่โครงการทั้งกลุ่มอาชีพ กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มเยาวชน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่น
2.3 การบุกรุกพื้นที่ป่าในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงลดลงอย่างเป็นรูปธรรม โดยการกำหนดเขตป่าไม้และพื้นที่ทำกินและการจัดการเชิงพื้นที่ที่อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่กับป่าได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
3. แนวทางการพัฒนาของโครงการขยายผลโครงการหลวง ประกอบด้วย 1. ด้านการวิจัยและพัฒนาอาชีพของเกษตรกร 2. ด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ด้านการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน 4. ด้านการพัฒนาสังคมและการตลาด และ 5. ด้านการบริหารจัดการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--