คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) และมอบหมายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ศปถ. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2550 มีมติเห็นชอบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 ตามที่ฝ่ายเลขานุการ ศปถ. เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ห้วงเวลาการดำเนินการช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2550-3 มกราคม 2551 (7 วันระวังอันตราย)
2. เป้าหมายการดำเนินการ เพื่อลดจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ (Admit) ให้ลดลงจากช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 (ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2549-3 มกราคม 2550) ตั้งแต่เวลา 00.01-24.00 น. ของทุกวัน โดยควรจะลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จากประมาณการจำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ (Admit) ในปี 2550 คือ จำนวนอุบัติเหตุ 4,133 ครั้ง จำนวนผู้เสียชีวิต 413 คน จำนวนผู้บาดเจ็บ (Admit) 4,568 คน
3. มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ให้ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน โดยกำหนดมาตรการเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายในการลดความสูญเสียในชีวิต ทรัพย์สิน เพิ่มความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน โดยให้เน้นหนักในมาตรการสำคัญเพิ่มเติมเป็นพิเศษ 8 มาตรการ ได้แก่ มาตรการด้านการป้องปรามผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร มาตรการด้านสังคมและชุมชน มาตรการตรวจสอบคุณภาพ มาตรการด้านการช่วยเหลือ กู้ชีพ กู้ภัย มาตรการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผล มาตรการด้านการจราจร มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย มาตรการรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและการสร้างแบบอย่างที่ดี
4. ช่วงเวลาในการดำเนินการ ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน และมาตรการเสริมต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
4.1 ช่วงการรณรงค์ (วันที่ 21 พฤศจิกายน-15 ธันวาคม 2550) โดยให้เน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
4.2 ช่วงเตรียมความพร้อม (วันที่ 16-27 ธันวาคม 2550) โดยให้เน้นหนักในด้านการตรวจจับและบังคับใช้กฎหมาย ตรวจสอบความพร้อมของสภาพถนน และเส้นทางในการจราจร รวมถึงให้มีการเตรียมซักซ้อมแผน
4.3 ช่วงปฏิบัติการเข้มข้น (วันที่ 28 ธันวาคม 2550-3 มกราคม 2551) โดยเน้นหนักด้านการบังคับใช้กฎหมายบนถนนสายหลักระหว่างวันที่ 28-30 ธันวาคม 2550 และวันที่ 2-3 มกราคม 2551 ถนนสายรองให้เน้นหนักระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2550-1 มกราคม 2551 อย่างเข้มข้น รวมทั้งการตั้งจุดสกัดกั้นตามชุมชน หมู่บ้าน โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยทางถนนและผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่และให้ทุกหน่วยงานร่วมดำเนินการตาม 4 แผนงาน
5. แผนงานดำเนินการ ดังนี้
5.1 การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 ระดับจังหวัด อำเภอ และส่วนกลาง (ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) เพื่ออำนวยการ ควบคุม กำกับดูแล ประสาน และปฏิบัติงานตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
5.2 การตั้งจุดตรวจร่วม/ตั้งด่านตรวจร่วมทั่วประเทศตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำจุดด่านตรวจร่วมอย่างน้อย 4 นาย
5.3 การตั้งจุดสกัดกั้นชุมชน หมู่บ้านเพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเบื้องต้นในระดับพื้นที่
5.4 สนับสนุนการปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จัดหน่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัด เช่น การจัดตั้งจุดบริการประชาชน การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตามภารกิจหลักของหน่วยงาน การจัดหน่วยบริการอำนวยความสะดวกในการเดินทางและใช้รถใช้ถนน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ศปถ. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2550 มีมติเห็นชอบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 ตามที่ฝ่ายเลขานุการ ศปถ. เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ห้วงเวลาการดำเนินการช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2550-3 มกราคม 2551 (7 วันระวังอันตราย)
2. เป้าหมายการดำเนินการ เพื่อลดจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ (Admit) ให้ลดลงจากช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 (ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2549-3 มกราคม 2550) ตั้งแต่เวลา 00.01-24.00 น. ของทุกวัน โดยควรจะลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จากประมาณการจำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ (Admit) ในปี 2550 คือ จำนวนอุบัติเหตุ 4,133 ครั้ง จำนวนผู้เสียชีวิต 413 คน จำนวนผู้บาดเจ็บ (Admit) 4,568 คน
3. มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ให้ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน โดยกำหนดมาตรการเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายในการลดความสูญเสียในชีวิต ทรัพย์สิน เพิ่มความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน โดยให้เน้นหนักในมาตรการสำคัญเพิ่มเติมเป็นพิเศษ 8 มาตรการ ได้แก่ มาตรการด้านการป้องปรามผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร มาตรการด้านสังคมและชุมชน มาตรการตรวจสอบคุณภาพ มาตรการด้านการช่วยเหลือ กู้ชีพ กู้ภัย มาตรการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผล มาตรการด้านการจราจร มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย มาตรการรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและการสร้างแบบอย่างที่ดี
4. ช่วงเวลาในการดำเนินการ ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน และมาตรการเสริมต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
4.1 ช่วงการรณรงค์ (วันที่ 21 พฤศจิกายน-15 ธันวาคม 2550) โดยให้เน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
4.2 ช่วงเตรียมความพร้อม (วันที่ 16-27 ธันวาคม 2550) โดยให้เน้นหนักในด้านการตรวจจับและบังคับใช้กฎหมาย ตรวจสอบความพร้อมของสภาพถนน และเส้นทางในการจราจร รวมถึงให้มีการเตรียมซักซ้อมแผน
4.3 ช่วงปฏิบัติการเข้มข้น (วันที่ 28 ธันวาคม 2550-3 มกราคม 2551) โดยเน้นหนักด้านการบังคับใช้กฎหมายบนถนนสายหลักระหว่างวันที่ 28-30 ธันวาคม 2550 และวันที่ 2-3 มกราคม 2551 ถนนสายรองให้เน้นหนักระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2550-1 มกราคม 2551 อย่างเข้มข้น รวมทั้งการตั้งจุดสกัดกั้นตามชุมชน หมู่บ้าน โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยทางถนนและผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่และให้ทุกหน่วยงานร่วมดำเนินการตาม 4 แผนงาน
5. แผนงานดำเนินการ ดังนี้
5.1 การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 ระดับจังหวัด อำเภอ และส่วนกลาง (ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) เพื่ออำนวยการ ควบคุม กำกับดูแล ประสาน และปฏิบัติงานตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
5.2 การตั้งจุดตรวจร่วม/ตั้งด่านตรวจร่วมทั่วประเทศตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำจุดด่านตรวจร่วมอย่างน้อย 4 นาย
5.3 การตั้งจุดสกัดกั้นชุมชน หมู่บ้านเพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเบื้องต้นในระดับพื้นที่
5.4 สนับสนุนการปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จัดหน่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัด เช่น การจัดตั้งจุดบริการประชาชน การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตามภารกิจหลักของหน่วยงาน การจัดหน่วยบริการอำนวยความสะดวกในการเดินทางและใช้รถใช้ถนน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--