คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่มเดือนกันยายน — ตุลาคม 2550 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม ได้ดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายฯ เพิ่มอีก 2 จังหวัด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร รวมทั้งสิ้นเป็น 21 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มสูง จึงได้เร่งดำเนินการก่อน สำหรับจังหวัดที่เหลือ 30 จังหวัด จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
2. การซักซ้อมเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม ได้ซักซ้อมแผนการเฝ้าระวังและกระตุ้นเตือนเครือข่ายฯ ที่จัดตั้งไว้แล้ว ในพื้นที่ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง พังงา นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี โดยมีผลการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม ในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2550 ดังนี้
2.1 กรมทรัพยากรธรณี ได้ประกาศเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยผ่านสื่อต่าง ๆ รวม 14 ครั้ง หน่วยเคลื่อนที่เร็วออกสำรวจ 3 ครั้ง ไม่พบการเกิดเหตุดินถล่มที่รุนแรง มีแต่เหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบางพื้นที่
2.2 การดำเนินการของเครือข่ายฯ ได้ประสานให้ผู้ใหญ่บ้านออกเสียงตามสายให้เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก
2.3 การเกิดเหตุการณ์ดินถล่มในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2550 จำนวน 14 เหตุการณ์ ในจังหวัดเชียงราย เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ น่าน ตรัง ตาก เชียงใหม่ พังงา ตราด พิจิตร ขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร ลำปาง อุตรดิตถ์ และระนอง มีราษฎรเสียชีวิต 10 คน บาดเจ็บ 14 คน บ้านเรือนเสียหาย 666 หลังคาเรือน พื้นที่เกษตรเสียหายบางส่วน การคมนาคมไม่สามารถสัญจรได้ ราษฎรเดือดร้อน 4,822 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
1. การจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม ได้ดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายฯ เพิ่มอีก 2 จังหวัด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร รวมทั้งสิ้นเป็น 21 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มสูง จึงได้เร่งดำเนินการก่อน สำหรับจังหวัดที่เหลือ 30 จังหวัด จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
2. การซักซ้อมเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม ได้ซักซ้อมแผนการเฝ้าระวังและกระตุ้นเตือนเครือข่ายฯ ที่จัดตั้งไว้แล้ว ในพื้นที่ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง พังงา นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี โดยมีผลการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม ในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2550 ดังนี้
2.1 กรมทรัพยากรธรณี ได้ประกาศเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยผ่านสื่อต่าง ๆ รวม 14 ครั้ง หน่วยเคลื่อนที่เร็วออกสำรวจ 3 ครั้ง ไม่พบการเกิดเหตุดินถล่มที่รุนแรง มีแต่เหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบางพื้นที่
2.2 การดำเนินการของเครือข่ายฯ ได้ประสานให้ผู้ใหญ่บ้านออกเสียงตามสายให้เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก
2.3 การเกิดเหตุการณ์ดินถล่มในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2550 จำนวน 14 เหตุการณ์ ในจังหวัดเชียงราย เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ น่าน ตรัง ตาก เชียงใหม่ พังงา ตราด พิจิตร ขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร ลำปาง อุตรดิตถ์ และระนอง มีราษฎรเสียชีวิต 10 คน บาดเจ็บ 14 คน บ้านเรือนเสียหาย 666 หลังคาเรือน พื้นที่เกษตรเสียหายบางส่วน การคมนาคมไม่สามารถสัญจรได้ ราษฎรเดือดร้อน 4,822 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--