คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ อุทกภัยจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยจากภาวะอากาศหนาว โดยได้จัดทำสรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2550) และการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยหนาวปี 2550-2551 ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ (ระหว่างวันที่ 7-12 พฤศจิกายน 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ใน 11 อำเภอ 50 ตำบล 343 หมู่บ้าน (จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัย 343 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 3.5 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 2,609 หมู่บ้าน ใน 2 จังหวัด)
1.2 ความเสียหายเบื้องต้น
1) ราษฎรเดือดร้อน 42,659 คน 2,335 ครัวเรือน (จำนวนประชาชนที่ประสบภัย 42,659 คน คิดเป็นร้อยละ 1.75 ของจำนวนประชาชนทั้งหมด 2,438,596 คน ใน 2 จังหวัด)
2) ความเสียหายด้านทรัพย์สิน พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 3,747 ไร่ ถนน 432 สาย สะพาน 3 แห่ง ปศุสัตว์ 6,000 ตัว สัตว์ปีก 10,700 ตัว บ่อปลา 88 บ่อ ทำนบ 1 แห่ง ท่อระบายน้ำ 89 แห่ง
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 15,110,000 บาท
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2550)
สถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช สถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายแล้ว โดยปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย บริเวณพรุเฉวง ตำบลบ่อผุด และตลาดดาว ตำบลแม่น้ำ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. คาดว่าหากไม่มีฝนตกเพิ่มสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วันนี้ โดยมีรายละเอียดรายจังหวัด ดังนี้
1) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 6-7 พ.ย. 2550 โดยวัดได้สูงสุดที่อำเภอดอนสัก 180.0 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรใน 5 อำเภอ 19 ตำบล 82 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 10,575 คน 2,115 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 4,646 ไร่ ถนน 39 สาย สะพาน 13 แห่ง มีรายละเอียด ดังนี้
(1) อำเภอดอนสัก จำนวน 4 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลปากแพรก ตำบลไชยคราม ตำบลชลคราม และตำบลดอนสัก ราษฎรเดือดร้อน 1,200 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 4,630 ไร่ ถนน 32 สาย สะพาน 13 แห่ง
(2) อำเภอกาญจนดิษฐ์ จำนวน 5 ตำบล 27 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลท่าอุแท ตำบลป่าร่อน ตำบลป่าร่อน ตำบลคลองสระ ตำบลพลายวาส และตำบลท่าทอง
(3) อำเภอคีรีรัฐนิคม จำนวน 3 ตำบล 11 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลถ้ำสิงขร ตำบลบ้านทำเนียบ และตำบลบ้านย่านยาว
(4) อำเภอเกาะสมุย จำนวน 6 ตำบล 11 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลลิปะน้อย ตำบลหน้าเมือง ตำบลมะเร็ต ตำบลบ่อผุด ตำบลแม่น้ำ และตำบลตลิ่งงาม ถนนเสียหาย 4 สาย
(5) อำเภอท่าฉาง จำนวน 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลฉลุย พื้นที่การเกษตร 17 ไร่ ถนนเสียหาย 3 สาย
การให้ความช่วยเหลือ
(1) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานี สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 3 ลำ (อ.ดอนสัก 2 ลำ และ อบต.ปากแพรก 1 ลำ)
(2) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เหล่ากาชาด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด น้ำดื่ม 2,400 ขวด เรือท้องแบน 5 ลำ รถบรรทุก 8 คัน กระสอบทราย 5,000 ถุง เจ้าหน้าที่ สมาชิก อปพร. 50 นาย และได้ระดมเครื่องสูบน้ำไปช่วยเหลือที่อำเภอเกาะสมุย จำนวน 15 เครื่อง
2) จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2550 โดยวัดได้สูงสุดที่อำเภอเมืองฯ 241 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ 6 อำเภอ 31 ตำบล 261 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 32,084 คน 10,220 ครัวเรือน ปศุสัตว์ 6,000 ตัว สัตว์ปีก 10,700 ตัว พื้นที่การเกษตร 9,100 ไร่ บ่อปลา 88 บ่อ ถนน 393 สาย สะพาน 18 แห่ง ทำนบ 1 แห่ง ท่อระบายน้ำ 89 แห่ง มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 15,110,000 บาท โดยมีรายละเอียด ได้แก่
(1) อำเภอพระพรหม จำนวน 4 ตำบล 40 หมู่บ้าน
(2) อำเภอขนอม จำนวน 3 ตำบล 21 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลควนทอง ตำบลนอม ตำบลท้องเนียน
(3) อำเภอร่อนพิบูลย์ จำนวน 5 ตำบล 28 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลร่อนพิบูลย์ ตำบลควนชุม (หมู่ที่ 4) ตำบลควนพัง และตำบลหินตก (หมู่ที่ 1,8)
(4) อำเภอสิชล จำนวน 9 ตำบล 110 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสิชล (หมู่ที่ 6,7) ตำบลเปลี่ยน (หมู่ที่ 6,7) และตำบลสี่ขีด (หมู่ที่ 6,9,10)
(5) อำเภอเมืองฯ จำนวน 6 ตำบล 24 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลนาทราย ตำบลท่างิ้ว ตำบลไชยมนตรี ตำบลโพธิ์เสด็จ ตำบลมะม่วงสองต้น และตำบลนาเคียน ราษฎรเดือดร้อน 1,140 ครัวเรือน
(6) อำเภอนบพิตำ จำนวน 4 ตำบล 38 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกะหรอ ตำบลนบพิตำ ตำบลนาเหรง และตำบลกรุงชิง ราษฎรเดือดร้อน 2,110 ครัวเรือน
การให้ความช่วยเหลือ
(1) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานี สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 4 ลำ
(2) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งดำเนินการให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
2. การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยหนาวปี 2550-2551 ของกระทรวงมหาดไทย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยหนาวปี 2550 - 2551 ดังนี้
1) จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว ปี 2550-2551 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อติดตามสถานการณ์และประสานการช่วยเหลือ รวมทั้งรับบริจาคเครื่องกันหนาวเพื่อสนับสนุนให้แก่จังหวัดที่ประสบภัย
2) ให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปี 2550-2551 ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และให้อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปี 2550-2551 เช่นเดียวกัน
3) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดสรรงบประมาณปี 2551 ให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จำนวน 46 จังหวัด ในวงเงินจังหวัดละ 350,000 บาท รวมวงเงินทั้งสิ้น 16,100,000 บาท เพื่อจัดหาเครื่องช่วยกันหนาวเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยแล้ว
4) หากมีพื้นที่จังหวัดใดประสบภัยหนาว (อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส 3 วันติดต่อกัน) สามารถใช้เงินทดรองราชการกรณีฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2546 ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) จัดซื้อเครื่องกันหนาวได้จังหวัดละไม่เกิน 300,000 บาท และหากไม่เพียงพอให้ขอรับการสนับสนุนเครื่องกันหนาวจากกรมป้องกันฯได้อีก
5) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้จัดโครงการ “ไทยเบฟ...รวมใจต้านภัยหนาวปีที่ 8” ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและกรมป้องกันฯ กำหนดแจกจ่ายผ้าห่มกันหนาว จำนวน 200,000 ผืน ให้จังหวัดที่ประสบภัยหนาว จำนวน 15 จังหวัด โดยกำหนดแจกจ่ายในเดือนพฤศจิกายน 2550 นี้
3. การแจ้งเตือนภัยจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้
3.1 กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 3 (359/2550) ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 เรื่องฝนตกหนักและคลื่นลมแรงว่าหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนล่างได้เคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทยตอนล่าง ส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วง 12-13 พฤศจิกายน 2550 นี้
สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนในระยะแรกต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ส่งผลให้มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป
3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่มและคลื่นลมแรง ที่สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 (สุราษฎร์ธานี) เขต 12 (สงขลา) และจังหวัดที่อาจ จะได้รับผลกระทบให้แจ้งเตือนประชาชน ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในระยะนี้ และให้จัดเจ้าหน้าที่ ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ (ระหว่างวันที่ 7-12 พฤศจิกายน 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ใน 11 อำเภอ 50 ตำบล 343 หมู่บ้าน (จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัย 343 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 3.5 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 2,609 หมู่บ้าน ใน 2 จังหวัด)
1.2 ความเสียหายเบื้องต้น
1) ราษฎรเดือดร้อน 42,659 คน 2,335 ครัวเรือน (จำนวนประชาชนที่ประสบภัย 42,659 คน คิดเป็นร้อยละ 1.75 ของจำนวนประชาชนทั้งหมด 2,438,596 คน ใน 2 จังหวัด)
2) ความเสียหายด้านทรัพย์สิน พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 3,747 ไร่ ถนน 432 สาย สะพาน 3 แห่ง ปศุสัตว์ 6,000 ตัว สัตว์ปีก 10,700 ตัว บ่อปลา 88 บ่อ ทำนบ 1 แห่ง ท่อระบายน้ำ 89 แห่ง
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 15,110,000 บาท
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2550)
สถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช สถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายแล้ว โดยปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย บริเวณพรุเฉวง ตำบลบ่อผุด และตลาดดาว ตำบลแม่น้ำ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. คาดว่าหากไม่มีฝนตกเพิ่มสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วันนี้ โดยมีรายละเอียดรายจังหวัด ดังนี้
1) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 6-7 พ.ย. 2550 โดยวัดได้สูงสุดที่อำเภอดอนสัก 180.0 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรใน 5 อำเภอ 19 ตำบล 82 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 10,575 คน 2,115 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 4,646 ไร่ ถนน 39 สาย สะพาน 13 แห่ง มีรายละเอียด ดังนี้
(1) อำเภอดอนสัก จำนวน 4 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลปากแพรก ตำบลไชยคราม ตำบลชลคราม และตำบลดอนสัก ราษฎรเดือดร้อน 1,200 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 4,630 ไร่ ถนน 32 สาย สะพาน 13 แห่ง
(2) อำเภอกาญจนดิษฐ์ จำนวน 5 ตำบล 27 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลท่าอุแท ตำบลป่าร่อน ตำบลป่าร่อน ตำบลคลองสระ ตำบลพลายวาส และตำบลท่าทอง
(3) อำเภอคีรีรัฐนิคม จำนวน 3 ตำบล 11 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลถ้ำสิงขร ตำบลบ้านทำเนียบ และตำบลบ้านย่านยาว
(4) อำเภอเกาะสมุย จำนวน 6 ตำบล 11 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลลิปะน้อย ตำบลหน้าเมือง ตำบลมะเร็ต ตำบลบ่อผุด ตำบลแม่น้ำ และตำบลตลิ่งงาม ถนนเสียหาย 4 สาย
(5) อำเภอท่าฉาง จำนวน 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลฉลุย พื้นที่การเกษตร 17 ไร่ ถนนเสียหาย 3 สาย
การให้ความช่วยเหลือ
(1) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานี สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 3 ลำ (อ.ดอนสัก 2 ลำ และ อบต.ปากแพรก 1 ลำ)
(2) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เหล่ากาชาด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด น้ำดื่ม 2,400 ขวด เรือท้องแบน 5 ลำ รถบรรทุก 8 คัน กระสอบทราย 5,000 ถุง เจ้าหน้าที่ สมาชิก อปพร. 50 นาย และได้ระดมเครื่องสูบน้ำไปช่วยเหลือที่อำเภอเกาะสมุย จำนวน 15 เครื่อง
2) จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2550 โดยวัดได้สูงสุดที่อำเภอเมืองฯ 241 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ 6 อำเภอ 31 ตำบล 261 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 32,084 คน 10,220 ครัวเรือน ปศุสัตว์ 6,000 ตัว สัตว์ปีก 10,700 ตัว พื้นที่การเกษตร 9,100 ไร่ บ่อปลา 88 บ่อ ถนน 393 สาย สะพาน 18 แห่ง ทำนบ 1 แห่ง ท่อระบายน้ำ 89 แห่ง มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 15,110,000 บาท โดยมีรายละเอียด ได้แก่
(1) อำเภอพระพรหม จำนวน 4 ตำบล 40 หมู่บ้าน
(2) อำเภอขนอม จำนวน 3 ตำบล 21 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลควนทอง ตำบลนอม ตำบลท้องเนียน
(3) อำเภอร่อนพิบูลย์ จำนวน 5 ตำบล 28 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลร่อนพิบูลย์ ตำบลควนชุม (หมู่ที่ 4) ตำบลควนพัง และตำบลหินตก (หมู่ที่ 1,8)
(4) อำเภอสิชล จำนวน 9 ตำบล 110 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสิชล (หมู่ที่ 6,7) ตำบลเปลี่ยน (หมู่ที่ 6,7) และตำบลสี่ขีด (หมู่ที่ 6,9,10)
(5) อำเภอเมืองฯ จำนวน 6 ตำบล 24 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลนาทราย ตำบลท่างิ้ว ตำบลไชยมนตรี ตำบลโพธิ์เสด็จ ตำบลมะม่วงสองต้น และตำบลนาเคียน ราษฎรเดือดร้อน 1,140 ครัวเรือน
(6) อำเภอนบพิตำ จำนวน 4 ตำบล 38 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกะหรอ ตำบลนบพิตำ ตำบลนาเหรง และตำบลกรุงชิง ราษฎรเดือดร้อน 2,110 ครัวเรือน
การให้ความช่วยเหลือ
(1) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานี สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 4 ลำ
(2) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งดำเนินการให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
2. การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยหนาวปี 2550-2551 ของกระทรวงมหาดไทย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยหนาวปี 2550 - 2551 ดังนี้
1) จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว ปี 2550-2551 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อติดตามสถานการณ์และประสานการช่วยเหลือ รวมทั้งรับบริจาคเครื่องกันหนาวเพื่อสนับสนุนให้แก่จังหวัดที่ประสบภัย
2) ให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปี 2550-2551 ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และให้อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปี 2550-2551 เช่นเดียวกัน
3) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดสรรงบประมาณปี 2551 ให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จำนวน 46 จังหวัด ในวงเงินจังหวัดละ 350,000 บาท รวมวงเงินทั้งสิ้น 16,100,000 บาท เพื่อจัดหาเครื่องช่วยกันหนาวเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยแล้ว
4) หากมีพื้นที่จังหวัดใดประสบภัยหนาว (อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส 3 วันติดต่อกัน) สามารถใช้เงินทดรองราชการกรณีฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2546 ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) จัดซื้อเครื่องกันหนาวได้จังหวัดละไม่เกิน 300,000 บาท และหากไม่เพียงพอให้ขอรับการสนับสนุนเครื่องกันหนาวจากกรมป้องกันฯได้อีก
5) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้จัดโครงการ “ไทยเบฟ...รวมใจต้านภัยหนาวปีที่ 8” ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและกรมป้องกันฯ กำหนดแจกจ่ายผ้าห่มกันหนาว จำนวน 200,000 ผืน ให้จังหวัดที่ประสบภัยหนาว จำนวน 15 จังหวัด โดยกำหนดแจกจ่ายในเดือนพฤศจิกายน 2550 นี้
3. การแจ้งเตือนภัยจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้
3.1 กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 3 (359/2550) ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 เรื่องฝนตกหนักและคลื่นลมแรงว่าหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนล่างได้เคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทยตอนล่าง ส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วง 12-13 พฤศจิกายน 2550 นี้
สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนในระยะแรกต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ส่งผลให้มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป
3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่มและคลื่นลมแรง ที่สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 (สุราษฎร์ธานี) เขต 12 (สงขลา) และจังหวัดที่อาจ จะได้รับผลกระทบให้แจ้งเตือนประชาชน ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในระยะนี้ และให้จัดเจ้าหน้าที่ ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--