คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานที่อนุมัติในหลักการให้กระทรวงศึกษาธิการบรรจุผู้สำเร็จการศึกษาตามโครงการผลิตครูขั้นพื้นฐานปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) โครงการเพชรในตมและทุนรัฐบาลตามความต้องการของส่วนราชการ ทุนสนับสนุนการศึกษาของคนพิการทางการเห็น ทางการได้ยิน และทางการเคลื่อนไหว (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2553) โดยให้คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐพิจารณาจัดสรรอัตราจากผลเกษียณอายุข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอกับการขาดแคลนอัตรากำลังที่แท้จริงโดยไม่รวมกับการจัดสรรคืนร้อยละ 50 ในกรณีปกติ
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550 กระทรวงศึกษาธิการได้ตรวจสอบแล้วพบว่าขณะนี้มีโครงการผลิตครูซึ่งมีเงื่อนไขเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1.1 โครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) จำนวน 2,500 คน
1.2 โครงการเพชรในตม จำนวนปีละ 30 คน
1.3 ทุนรัฐบาลตามความต้องการของส่วนราชการ (ทุนสนับสนุนการศึกษาของคนพิการ) จำนวน 6 ทุน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ และการศึกษาเพื่อคนพิการในปีการศึกษา 2549 มีสถานศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ รวม 31,673 โรง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 โรง โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 25 โรง โรงเรียนศึกษาพิเศษ 43 โรง และศูนย์การศึกษาพิเศษ อีกจำนวน 76 ศูนย์ มีนักเรียนทั้งหมด 8,710,409 คน จำแนกเป็นนักเรียนปกติ 8,680,670 คน และนักเรียนพิการ 29,739 คน ซึ่งในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี สามารถขยายผลการจัดการศึกษาได้ในเชิงปริมาณ แต่ด้านคุณภาพยังไม่เป็นที่น่าพอใจสืบ
เนื่องจากสถานศึกษาโดยรวมในสังกัดประสบปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังครูสะสมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ถึงปัจจุบัน สาเหตุเกิดจากผลกระทบการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การปรับขนาดกำลังคนภาครัฐมีอัตราเกษียณและเกษียณก่อนกำหนด จำนวน 74,784 อัตรา ถูกยุบเลิกไปแล้ว จำนวน 53,948 อัตราและได้รับการจัดสรรคืน จำนวน 20,836 อัตรา ซึ่งไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูซึ่งโดยรวมขณะนี้โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเมื่อหักอัตราพนักงานราชการออกแล้วยังขาดครู จำนวน 72,162 อัตรา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์และศึกษาสงเคราะห์ขาดครู จำนวน 1,821 อัตรา และโรงเรียนศึกษาพิเศษ/ศูนย์การศึกษาพิเศษขาดครู จำนวน 3,937 อัตรา หากพิจารณาในเชิงคุณภาพยังขาดครูตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 72,127 อัตรา จำแนกได้ ดังนี้
1. ภาษาต่างประเทศ จำนวน 15,000 อัตรา
2. วิทยาศาสตร์ จำนวน 12,062 อัตรา
3. คณิตศาสตร์ จำนวน 11,617 อัตรา
4. คอมพิวเตอร์ (การงานอาชีพ) จำนวน 7,483 อัตรา
5. ภาษาไทย จำนวน 7,075 อัตรา
6. ศิลปศึกษา จำนวน 7,211 อัตรา
7. สุขศึกษา / พลศึกษา จำนวน 6,390 อัตรา
8. สังคมศึกษา จำนวน 5,289 อัตรา
กระทรวงศึกษาธิการจึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550 กระทรวงศึกษาธิการได้ตรวจสอบแล้วพบว่าขณะนี้มีโครงการผลิตครูซึ่งมีเงื่อนไขเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1.1 โครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) จำนวน 2,500 คน
1.2 โครงการเพชรในตม จำนวนปีละ 30 คน
1.3 ทุนรัฐบาลตามความต้องการของส่วนราชการ (ทุนสนับสนุนการศึกษาของคนพิการ) จำนวน 6 ทุน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ และการศึกษาเพื่อคนพิการในปีการศึกษา 2549 มีสถานศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ รวม 31,673 โรง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 โรง โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 25 โรง โรงเรียนศึกษาพิเศษ 43 โรง และศูนย์การศึกษาพิเศษ อีกจำนวน 76 ศูนย์ มีนักเรียนทั้งหมด 8,710,409 คน จำแนกเป็นนักเรียนปกติ 8,680,670 คน และนักเรียนพิการ 29,739 คน ซึ่งในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี สามารถขยายผลการจัดการศึกษาได้ในเชิงปริมาณ แต่ด้านคุณภาพยังไม่เป็นที่น่าพอใจสืบ
เนื่องจากสถานศึกษาโดยรวมในสังกัดประสบปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังครูสะสมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ถึงปัจจุบัน สาเหตุเกิดจากผลกระทบการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การปรับขนาดกำลังคนภาครัฐมีอัตราเกษียณและเกษียณก่อนกำหนด จำนวน 74,784 อัตรา ถูกยุบเลิกไปแล้ว จำนวน 53,948 อัตราและได้รับการจัดสรรคืน จำนวน 20,836 อัตรา ซึ่งไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูซึ่งโดยรวมขณะนี้โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเมื่อหักอัตราพนักงานราชการออกแล้วยังขาดครู จำนวน 72,162 อัตรา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์และศึกษาสงเคราะห์ขาดครู จำนวน 1,821 อัตรา และโรงเรียนศึกษาพิเศษ/ศูนย์การศึกษาพิเศษขาดครู จำนวน 3,937 อัตรา หากพิจารณาในเชิงคุณภาพยังขาดครูตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 72,127 อัตรา จำแนกได้ ดังนี้
1. ภาษาต่างประเทศ จำนวน 15,000 อัตรา
2. วิทยาศาสตร์ จำนวน 12,062 อัตรา
3. คณิตศาสตร์ จำนวน 11,617 อัตรา
4. คอมพิวเตอร์ (การงานอาชีพ) จำนวน 7,483 อัตรา
5. ภาษาไทย จำนวน 7,075 อัตรา
6. ศิลปศึกษา จำนวน 7,211 อัตรา
7. สุขศึกษา / พลศึกษา จำนวน 6,390 อัตรา
8. สังคมศึกษา จำนวน 5,289 อัตรา
กระทรวงศึกษาธิการจึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--