1. การแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเสนอ ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ และระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ ศาสตราจารย์ คณิต ณ นคร เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายชูชัย ศุภวงศ์ นายปรีดา เตียสุวรรณ์ นางสาวรสนา โตสิตระกูล ศาสตราจารย์ วิทิต มันตาภรณ์ ศาสตราจารย์ วิษณุ เครืองาม นายสมชาย หอมลออ นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ นายสิทธิโชค ศรีเจริญ ศาสตราจารย์ สุรพล นิติไกรพจน์ และศาสตราจารย์กิตติคุณ อมรา พงศ์ศาพิชญ์
อำนาจหน้าที่
(1) ศึกษาและเสนอแนะการจัดทำกฎหมายที่จำเป็นต้องตราขึ้นเพื่ออนุวัติการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญต่อคณะรัฐมนตรี
(2) จัดทำกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายตามมาตรา 81 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
(3) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ และหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือดำเนินการตามที่คณะกรรมการฯ มอบหมาย
(4) มอบหมายหรือเสนอให้บุคคล องค์กรหรือสถาบันการศึกษาดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำกฎหมายตาม (1) และ (2)
(5) จัดหาบุคลากรเพื่อปฏิบัติงาน
(6) ประสานงานกับส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามภารกิจของคณะกรรมการฯ
(7) รายงานผลการปฏิบัติงานตลอดจนปัญหาและอุปสรรคให้คณะรัฐมนตรีทราบตามสมควร
(8) วางระเบียบปฏิบัติและดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ บรรลุผลตามเป้าหมาย
ระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่ากฎหมายจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายตามมาตรา 81 (3) ของรัฐธรรมนูญจะมีผลใช้บังคับ
2. กำหนดค่าตอบแทนคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยให้กรรมการปฏิรูปกฎหมายได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้ง ครั้งละ 6,000 บาท โดยประธานกรรมการได้รับเพิ่มขึ้นอีก 1 ใน 4
3. จัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เป็นจำนวนเงิน 50 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเบิกจ่ายในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป โดยในวาระเริ่มแรกให้ใช้จ่ายจากงบประมาณของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
4. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายในวาระเริ่มแรก จนกว่าคณะกรรมการฯ จะได้พิจารณาในเรื่องเลขานุการและหน่วยธุรการต่อไป
2. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ประธานกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่าเสนอการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า จำนวน 6 คน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ประสงค์ เอี่ยมอนันต์ 2. นายวทัญญู ณ ถลาง 3. นายสุวิชญ์ รัศมิภูติ 4. นางวณี สัมพันธารักษ์ 5. นายมานิตย์ ศิริวรรณ 6. นายบุญญวัฒน์ ทิพทัส ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไป
3. การแต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรีและกระทรวง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอรายนามผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้
ปคร. ของรองนายกรัฐมนตรีและกระทรวง
ที่ รองนายกรัฐมนตรี/กระทรวง รายนาม ปคร.
1. รองนายกรัฐมนตรี พลโท บรรเทิง พูนขำ
(พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายชาตรี ช่วยประสิทธิ์
รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายวรพัฒน์ ทิวถนอม
รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. กระทรวงวัฒนธรรม นายสมชาย เสียงหลาย
รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
5. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายพูลสุข พงษ์พัฒน์
รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเสนอ ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ และระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ ศาสตราจารย์ คณิต ณ นคร เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายชูชัย ศุภวงศ์ นายปรีดา เตียสุวรรณ์ นางสาวรสนา โตสิตระกูล ศาสตราจารย์ วิทิต มันตาภรณ์ ศาสตราจารย์ วิษณุ เครืองาม นายสมชาย หอมลออ นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ นายสิทธิโชค ศรีเจริญ ศาสตราจารย์ สุรพล นิติไกรพจน์ และศาสตราจารย์กิตติคุณ อมรา พงศ์ศาพิชญ์
อำนาจหน้าที่
(1) ศึกษาและเสนอแนะการจัดทำกฎหมายที่จำเป็นต้องตราขึ้นเพื่ออนุวัติการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญต่อคณะรัฐมนตรี
(2) จัดทำกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายตามมาตรา 81 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
(3) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ และหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือดำเนินการตามที่คณะกรรมการฯ มอบหมาย
(4) มอบหมายหรือเสนอให้บุคคล องค์กรหรือสถาบันการศึกษาดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำกฎหมายตาม (1) และ (2)
(5) จัดหาบุคลากรเพื่อปฏิบัติงาน
(6) ประสานงานกับส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามภารกิจของคณะกรรมการฯ
(7) รายงานผลการปฏิบัติงานตลอดจนปัญหาและอุปสรรคให้คณะรัฐมนตรีทราบตามสมควร
(8) วางระเบียบปฏิบัติและดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ บรรลุผลตามเป้าหมาย
ระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่ากฎหมายจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายตามมาตรา 81 (3) ของรัฐธรรมนูญจะมีผลใช้บังคับ
2. กำหนดค่าตอบแทนคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยให้กรรมการปฏิรูปกฎหมายได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายครั้ง ครั้งละ 6,000 บาท โดยประธานกรรมการได้รับเพิ่มขึ้นอีก 1 ใน 4
3. จัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เป็นจำนวนเงิน 50 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเบิกจ่ายในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป โดยในวาระเริ่มแรกให้ใช้จ่ายจากงบประมาณของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
4. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายในวาระเริ่มแรก จนกว่าคณะกรรมการฯ จะได้พิจารณาในเรื่องเลขานุการและหน่วยธุรการต่อไป
2. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ประธานกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่าเสนอการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า จำนวน 6 คน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ประสงค์ เอี่ยมอนันต์ 2. นายวทัญญู ณ ถลาง 3. นายสุวิชญ์ รัศมิภูติ 4. นางวณี สัมพันธารักษ์ 5. นายมานิตย์ ศิริวรรณ 6. นายบุญญวัฒน์ ทิพทัส ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไป
3. การแต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรีและกระทรวง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอรายนามผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้
ปคร. ของรองนายกรัฐมนตรีและกระทรวง
ที่ รองนายกรัฐมนตรี/กระทรวง รายนาม ปคร.
1. รองนายกรัฐมนตรี พลโท บรรเทิง พูนขำ
(พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายชาตรี ช่วยประสิทธิ์
รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายวรพัฒน์ ทิวถนอม
รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. กระทรวงวัฒนธรรม นายสมชาย เสียงหลาย
รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
5. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายพูลสุข พงษ์พัฒน์
รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ รักษาราชการแทน
รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550--จบ--