คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ให้การสนับสนุนการศึกษา) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการคลังรายงานว่า ปัจจุบันการบริจาคเงินให้แก่สถานศึกษาของทางราชการหรือสถานศึกษาเอกชน ในกรณีผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดามีสิทธิหักค่าลดหย่อนสำหรับเงินบริจาคเท่าจำนวนที่บริจาคแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว และในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษาดังกล่าวจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการศึกษามากขึ้น จึงเห็นควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ให้การสนับสนุนการศึกษาเพิ่มขึ้น อีกทั้งมาตรการนี้มีผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ลดลงเพียงเล็กน้อย แต่จะมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาวอันเป็นฐานภาษีที่ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในด้านการศึกษาได้อีกทางหนึ่ง จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างกฎหมาย เป็นการกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ให้แก่ผู้สนับสนุนการศึกษา กรณีให้ทุนการศึกษา ทุนเพื่อการวิจัย ค้นคว้า พัฒนา ประดิษฐ์ หรือทุนเพื่อจัดหาบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2550--จบ--
กระทรวงการคลังรายงานว่า ปัจจุบันการบริจาคเงินให้แก่สถานศึกษาของทางราชการหรือสถานศึกษาเอกชน ในกรณีผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดามีสิทธิหักค่าลดหย่อนสำหรับเงินบริจาคเท่าจำนวนที่บริจาคแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว และในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษาดังกล่าวจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการศึกษามากขึ้น จึงเห็นควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ให้การสนับสนุนการศึกษาเพิ่มขึ้น อีกทั้งมาตรการนี้มีผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ลดลงเพียงเล็กน้อย แต่จะมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาวอันเป็นฐานภาษีที่ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในด้านการศึกษาได้อีกทางหนึ่ง จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างกฎหมาย เป็นการกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ให้แก่ผู้สนับสนุนการศึกษา กรณีให้ทุนการศึกษา ทุนเพื่อการวิจัย ค้นคว้า พัฒนา ประดิษฐ์ หรือทุนเพื่อจัดหาบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2550--จบ--