คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสภาวะอากาศและผลกระทบจากสภาวะอากาศหนาวดังกล่าว ได้จัดทำสรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2550) และการเตรียมการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าปี 2550 ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2550)
1.1 ในขณะนี้ยังไม่มีจังหวัดใดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากภัยหนาวแต่อย่างใด สำหรับพื้นที่ยอดดอยและยอดภู อุณหภูมิในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-16 พ.ย.2550) อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 9-13 องศาเซลเซียส
1.2 จังหวัดที่คาดว่าจะประสบภัยหนาวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออกและภาคกลาง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว ปี 2550-2551 ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแล้ว และมี 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี หนองบัวลำภู น่าน กำแพงเพชร ตาก แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ แพร่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน เลย อุดรธานี ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และสุรินทร์ รายงานว่าได้มอบผ้าห่มกันหนาวให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งได้รับมอบผ้าห่มจาก บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาคม มูลนิธิ อบต.ฯ ไปแล้ว รวม 163,000 ผืน
1.3 ได้เร่งรัดให้จังหวัดสำรวจความขาดแคลนและกำหนดแผนการแจกจ่ายเครื่องกันหนาว โดยให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1) สำรวจข้อมูลประชาชนที่ยากไร้ซึ่งขาดแคลนเครื่องกันหนาว(ผ้าห่ม)ประจำปี 2550 โดยให้จัดทำบัญชีแยกเป็นรายอำเภอ ตำบล หมู่บ้านให้ชัดเจน โดยมีเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยหนาว อย่างน้อยต้องมีผ้าห่ม 1 ผืนต่อคน และหากวงเงินงบประมาณไม่เพียงพอให้พิจารณาขอยกเว้นการปฏิบัตินอกเหนือหลักเกณฑ์ฯ ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เพื่อขยายวงเงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) ดำเนินการจัดหาเครื่องกันหนาวให้แก่ผู้ประสบภัยเพิ่มเติม
2) กำหนดแผนการแจกจ่าย และมาตรการในการมอบเครื่องกันหนาวผ้าห่มกันหนาวที่จะไปมอบให้ประชาชนโดยคำนึงถึงระยะทาง วัน เวลา และสถานที่ที่ประชาชนจะมารับมอบเครื่องกันหนาว โดยให้มีผู้แทนประชาคมหมู่บ้าน องค์กร หรือผู้แทนภาคเอกชน ร่วมกันเป็นผู้กำหนด วัน เวลาและสถานที่ เพื่อมิให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในการเดินทางมารับเครื่องกันหนาวอีก และให้มีการประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนและการกระจายความช่วยเหลือให้ทั่วถึง เมื่อดำเนินการแล้วให้มีการประชาสัมพันธ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านทางสื่อต่างๆด้วย
3) เนื่องจากขณะนี้ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดการเลือกตั้งสาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 แล้ว จึงให้จังหวัดดำเนินการมอบเครื่องกันหนาวให้แก่ผู้ประสบภัยด้วยความรอบคอบ และพึงระมัดระวังอย่าให้มีการดำเนินการที่อาจเข้าข่ายลักษณะความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งเกิดขึ้น
2. การเตรียมการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี 2551
ในคราวประชุมกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) ได้มีบัญชาให้จังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน เตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่อากาศแห้ง เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน รวมทั้งต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งให้ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนดังกล่าว ดำเนินการ ดังนี้
1) จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าระดับจังหวัดและระดับอำเภอ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนร่วมเป็นกรรมการ
2) บูรณาการการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการและมาตรการที่จังหวัดจัดทำไว้ในห้วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 — เมษายน 2551 โดยเน้นการดำเนินการทั้งมาตรการด้านการควบคุมการป้องกัน และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ดังนี้
(1) การควบคุมการเผาในพื้นที่ชุมชนและเกษตรกรรม จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องจัดให้มีระบบจัดเก็บ คัดแยก และจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี ดำเนินมาตรการห้ามเผาขยะมูลฝอยในเขตชุมชนและเผาหญ้าบริเวณริมทางเด็ดขาด ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ปลอดการเผา ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการเกษตรปลอดการเผา การจัดระเบียบการเผา การจัดการใช้ประโยชน์เศษวัสดุการเกษตร ส่งเสริมให้มีศูนย์บริการเครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผา และเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา
(2) การควบคุมไฟป่า พื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติต้องมีการดำเนินมาตรการควบคุม ป้องกัน แจ้งเตือนสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมในการระงับเหตุไฟป่า ประสานสนธิกำลัง ในพื้นที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและกองทัพภาคในการปฏิบัติการกรณีวิกฤติไฟป่า ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดูแลรักษาพื้นที่และป้องกันไฟป่าอย่างจริงจัง
(3) การรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รณรงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสถานการณ์หมอกควันและไฟป่าอย่างต่อเนื่อง เผยแพร่องค์ความรู้ผลกระทบหมอกควันและไฟป่าที่มีต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม รณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการควบคุมการเผาขยะและสิ่งปฏิกูลและการป้องกันไฟป่าจัดให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และการเรียนการสอน ในสถานศึกษาเพื่อให้ทราบถึงผลกระทบของหมอกควันและไฟป่า
(4) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่า ตั้งแต่กระบวนการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และแก้ปัญหา ตลอดจนการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ภายใต้กรอบ ดังนี้
- พัฒนาระบบข้อมูล ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการจัดการทรัพยากรและการป้องกันแก้ปัญหาหมอกควันภาคประชาชน
- รณรงค์สร้างความเข้าใจ และสร้างสำนึกความรับผิดชอบในการแก้ปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษหมอกควัน
- เสริมสร้างความเข้มแข็ง และสนับสนุนองค์กรชุมชนให้มีศักยภาพในการฟื้นฟูระบบนิเวศ การป้องกันแก้ปัญหาหมอกควัน
- พัฒนาองค์ความรู้และการจัดการที่เหมาะสม
- บูรณาการแผนงาน/กิจกรรมในระดับต่างๆ ทั้งระดับชุมชนท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด ภาค ให้เอื้ออำนวยและนำไปสู่การแก้ปัญหาระยะยาวได้
3) กรณีที่เกิดปัญหาหมอกควันและไฟป่ารุนแรงในพื้นที่ ซึ่งมาตรการขอความร่วมมือดำเนินการแล้วไม่ได้ผล ให้จังหวัดพิจารณาใช้มาตรการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด เช่น พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 เป็นต้น
4) รายงานผลการดำเนินการ ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทราบ เพื่อจักได้รายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติและศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพื่อทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2550--จบ--
1. สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2550)
1.1 ในขณะนี้ยังไม่มีจังหวัดใดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากภัยหนาวแต่อย่างใด สำหรับพื้นที่ยอดดอยและยอดภู อุณหภูมิในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-16 พ.ย.2550) อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 9-13 องศาเซลเซียส
1.2 จังหวัดที่คาดว่าจะประสบภัยหนาวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออกและภาคกลาง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว ปี 2550-2551 ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแล้ว และมี 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี หนองบัวลำภู น่าน กำแพงเพชร ตาก แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ แพร่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน เลย อุดรธานี ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และสุรินทร์ รายงานว่าได้มอบผ้าห่มกันหนาวให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งได้รับมอบผ้าห่มจาก บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาคม มูลนิธิ อบต.ฯ ไปแล้ว รวม 163,000 ผืน
1.3 ได้เร่งรัดให้จังหวัดสำรวจความขาดแคลนและกำหนดแผนการแจกจ่ายเครื่องกันหนาว โดยให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1) สำรวจข้อมูลประชาชนที่ยากไร้ซึ่งขาดแคลนเครื่องกันหนาว(ผ้าห่ม)ประจำปี 2550 โดยให้จัดทำบัญชีแยกเป็นรายอำเภอ ตำบล หมู่บ้านให้ชัดเจน โดยมีเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยหนาว อย่างน้อยต้องมีผ้าห่ม 1 ผืนต่อคน และหากวงเงินงบประมาณไม่เพียงพอให้พิจารณาขอยกเว้นการปฏิบัตินอกเหนือหลักเกณฑ์ฯ ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เพื่อขยายวงเงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) ดำเนินการจัดหาเครื่องกันหนาวให้แก่ผู้ประสบภัยเพิ่มเติม
2) กำหนดแผนการแจกจ่าย และมาตรการในการมอบเครื่องกันหนาวผ้าห่มกันหนาวที่จะไปมอบให้ประชาชนโดยคำนึงถึงระยะทาง วัน เวลา และสถานที่ที่ประชาชนจะมารับมอบเครื่องกันหนาว โดยให้มีผู้แทนประชาคมหมู่บ้าน องค์กร หรือผู้แทนภาคเอกชน ร่วมกันเป็นผู้กำหนด วัน เวลาและสถานที่ เพื่อมิให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในการเดินทางมารับเครื่องกันหนาวอีก และให้มีการประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนและการกระจายความช่วยเหลือให้ทั่วถึง เมื่อดำเนินการแล้วให้มีการประชาสัมพันธ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านทางสื่อต่างๆด้วย
3) เนื่องจากขณะนี้ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดการเลือกตั้งสาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 แล้ว จึงให้จังหวัดดำเนินการมอบเครื่องกันหนาวให้แก่ผู้ประสบภัยด้วยความรอบคอบ และพึงระมัดระวังอย่าให้มีการดำเนินการที่อาจเข้าข่ายลักษณะความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งเกิดขึ้น
2. การเตรียมการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี 2551
ในคราวประชุมกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) ได้มีบัญชาให้จังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน เตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่อากาศแห้ง เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน รวมทั้งต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งให้ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนดังกล่าว ดำเนินการ ดังนี้
1) จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าระดับจังหวัดและระดับอำเภอ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนร่วมเป็นกรรมการ
2) บูรณาการการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการและมาตรการที่จังหวัดจัดทำไว้ในห้วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 — เมษายน 2551 โดยเน้นการดำเนินการทั้งมาตรการด้านการควบคุมการป้องกัน และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ดังนี้
(1) การควบคุมการเผาในพื้นที่ชุมชนและเกษตรกรรม จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องจัดให้มีระบบจัดเก็บ คัดแยก และจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี ดำเนินมาตรการห้ามเผาขยะมูลฝอยในเขตชุมชนและเผาหญ้าบริเวณริมทางเด็ดขาด ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ปลอดการเผา ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการเกษตรปลอดการเผา การจัดระเบียบการเผา การจัดการใช้ประโยชน์เศษวัสดุการเกษตร ส่งเสริมให้มีศูนย์บริการเครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผา และเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา
(2) การควบคุมไฟป่า พื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติต้องมีการดำเนินมาตรการควบคุม ป้องกัน แจ้งเตือนสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมในการระงับเหตุไฟป่า ประสานสนธิกำลัง ในพื้นที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและกองทัพภาคในการปฏิบัติการกรณีวิกฤติไฟป่า ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดูแลรักษาพื้นที่และป้องกันไฟป่าอย่างจริงจัง
(3) การรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รณรงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสถานการณ์หมอกควันและไฟป่าอย่างต่อเนื่อง เผยแพร่องค์ความรู้ผลกระทบหมอกควันและไฟป่าที่มีต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม รณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการควบคุมการเผาขยะและสิ่งปฏิกูลและการป้องกันไฟป่าจัดให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และการเรียนการสอน ในสถานศึกษาเพื่อให้ทราบถึงผลกระทบของหมอกควันและไฟป่า
(4) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่า ตั้งแต่กระบวนการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และแก้ปัญหา ตลอดจนการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ภายใต้กรอบ ดังนี้
- พัฒนาระบบข้อมูล ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการจัดการทรัพยากรและการป้องกันแก้ปัญหาหมอกควันภาคประชาชน
- รณรงค์สร้างความเข้าใจ และสร้างสำนึกความรับผิดชอบในการแก้ปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษหมอกควัน
- เสริมสร้างความเข้มแข็ง และสนับสนุนองค์กรชุมชนให้มีศักยภาพในการฟื้นฟูระบบนิเวศ การป้องกันแก้ปัญหาหมอกควัน
- พัฒนาองค์ความรู้และการจัดการที่เหมาะสม
- บูรณาการแผนงาน/กิจกรรมในระดับต่างๆ ทั้งระดับชุมชนท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด ภาค ให้เอื้ออำนวยและนำไปสู่การแก้ปัญหาระยะยาวได้
3) กรณีที่เกิดปัญหาหมอกควันและไฟป่ารุนแรงในพื้นที่ ซึ่งมาตรการขอความร่วมมือดำเนินการแล้วไม่ได้ผล ให้จังหวัดพิจารณาใช้มาตรการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด เช่น พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 เป็นต้น
4) รายงานผลการดำเนินการ ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทราบ เพื่อจักได้รายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติและศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพื่อทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2550--จบ--