คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. …. ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ แล้วมีมติอนุมัติตามมติของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานกรรมการฯ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. …. ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
2. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาโดยเฉพาะ
3. ให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0204/ว 117 ลงวันที่ 5 กันยายน 2543 เรื่องการตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย ในข้อ 4 ที่กำหนดว่า "ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทุกแห่งเมื่อได้รับร่างกฎหมายที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ให้แจ้งความเห็นต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยเร่งด่วนอย่างช้าไม่เกิน 15 วัน ทั้งกรณีที่มีความเห็นชอบกับร่างกฎหมายนั้นหรือกรณีที่มีความเห็นแตกต่าง ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ชัดเจนและช่วยให้การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นไปโดยเร็ว" สมควรแก้ไขเป็น "ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทุกแห่งเมื่อได้รับร่างกฎหมายที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ให้แจ้งความเห็นต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยเร่งด่วน อย่างช้าไม่เกิน 14 วัน ทั้งกรณีที่มีความเห็นชอบกับร่างกฎหมายนั้นหรือกรณีที่มีความเห็นแตกต่าง หากไม่แจ้งภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าเห็นชอบ ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ชัดเจนและช่วยให้การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นไปโดยเร็ว" เพื่อจะได้เป็นมาตรการเร่งรัดการดำเนินการร่างกฎหมาย และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งเวียนให้หน่วยงานของรัฐทราบและถือปฏิบัติต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2545 เป็นต้นไป
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รักษาการตามร่างพระราชบัญญัตินี้
3. ให้มีการจัดตั้ง การขอรับใบอนุญาต การเปิดดำเนินการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
4. ให้มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยกำหนดให้องค์ประกอบ วิธีการสรรหาและการประชุมให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
5. ให้มีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประกอบด้วยอธิการบดีเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกำหนดคุณสมบัติอำนาจหน้าที่วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง วิธีการประชุม
6. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
7. กำหนดปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะ
8. กำหนดเรื่องทรัพย์สิน กองทุน รายได้และการบัญชีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
9. ให้มีการจัดตั้งกองทุนในสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งคณะกรรมการกองทุนประกอบด้วย เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการไว้
10. กำหนดวิธีการกำกับดูแล การโฆษณา การควบคุมและการเพิกถอนใบอนุญาตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
11. กำหนดวิธีการเลิกและการโอนกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
12. กำหนดโทษ สำหรับอธิการบดี รองอธิการบดี คณาจารย์ ครูปฏิบัติการ หรือผู้ฝ่าฝืนร่างพระราชบัญญัตินี้
13. กำหนดบทเฉพาะกาล เช่น ให้ใบอนุญาตในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พนักงานเจ้าหน้าที่คณาจารย์ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 ที่มีอยู่ก่อนร่างพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นไปตามร่างพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 ม.ค.45--จบ--
-สส-
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. …. ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
2. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาโดยเฉพาะ
3. ให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0204/ว 117 ลงวันที่ 5 กันยายน 2543 เรื่องการตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย ในข้อ 4 ที่กำหนดว่า "ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทุกแห่งเมื่อได้รับร่างกฎหมายที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ให้แจ้งความเห็นต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยเร่งด่วนอย่างช้าไม่เกิน 15 วัน ทั้งกรณีที่มีความเห็นชอบกับร่างกฎหมายนั้นหรือกรณีที่มีความเห็นแตกต่าง ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ชัดเจนและช่วยให้การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นไปโดยเร็ว" สมควรแก้ไขเป็น "ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทุกแห่งเมื่อได้รับร่างกฎหมายที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ให้แจ้งความเห็นต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยเร่งด่วน อย่างช้าไม่เกิน 14 วัน ทั้งกรณีที่มีความเห็นชอบกับร่างกฎหมายนั้นหรือกรณีที่มีความเห็นแตกต่าง หากไม่แจ้งภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าเห็นชอบ ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ชัดเจนและช่วยให้การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นไปโดยเร็ว" เพื่อจะได้เป็นมาตรการเร่งรัดการดำเนินการร่างกฎหมาย และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งเวียนให้หน่วยงานของรัฐทราบและถือปฏิบัติต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2545 เป็นต้นไป
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รักษาการตามร่างพระราชบัญญัตินี้
3. ให้มีการจัดตั้ง การขอรับใบอนุญาต การเปิดดำเนินการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
4. ให้มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยกำหนดให้องค์ประกอบ วิธีการสรรหาและการประชุมให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
5. ให้มีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประกอบด้วยอธิการบดีเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกำหนดคุณสมบัติอำนาจหน้าที่วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง วิธีการประชุม
6. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
7. กำหนดปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะ
8. กำหนดเรื่องทรัพย์สิน กองทุน รายได้และการบัญชีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
9. ให้มีการจัดตั้งกองทุนในสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งคณะกรรมการกองทุนประกอบด้วย เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการไว้
10. กำหนดวิธีการกำกับดูแล การโฆษณา การควบคุมและการเพิกถอนใบอนุญาตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
11. กำหนดวิธีการเลิกและการโอนกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
12. กำหนดโทษ สำหรับอธิการบดี รองอธิการบดี คณาจารย์ ครูปฏิบัติการ หรือผู้ฝ่าฝืนร่างพระราชบัญญัตินี้
13. กำหนดบทเฉพาะกาล เช่น ให้ใบอนุญาตในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พนักงานเจ้าหน้าที่คณาจารย์ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 ที่มีอยู่ก่อนร่างพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นไปตามร่างพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 ม.ค.45--จบ--
-สส-