คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ประจำปี พ.ศ. 2543 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ส่วนที่ 1 คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง คณะกรรมการประกอบด้วย นายวัฒนา รัตนวิจิตร เป็นประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นกรรมการ และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 6 คน โดยมีอำนาจหน้าที่หลักคือ สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติราชการตามพระราชบัญญัตินี้ และอำนาจหน้าที่อื่นอีก 5 ประการ
ส่วนที่ 2 ผลงานของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
1. การออกกฎกระทรวง และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติได้ออกกฎกระทรวง 1 ฉบับ และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้ 1 ฉบับ
2. การให้คำแนะนำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรวม 7 เรื่อง
3. การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- การจัดวิทยากรไปเผยแพร่ความรู้ ได้จัดส่งวิทยากรซึ่งเป็นนิติกรของสำนักงานฯ ออกไปบรรยายเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2543 รวมทั้งสิ้นจำนวน 195 ครั้ง และมีเจ้าหน้าที่ผู้เข้ารับฟังการบรรยายรวมทั้งสิ้น 12,496 คน
- การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2543 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 58 ครั้ง
ส่วนที่ 3 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค
1. การขาดความตื่นตัว และความสนใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
2. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานต่าง ๆ มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไม่เพียงพอ
3. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน มิได้บัญญัติในเรื่องสัญญาทางปกครองซึ่งมีบทบาทเป็นอย่างมากในปัจจุบัน หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองเกิดขึ้น และมีการนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง อาจจะก่อให้เกิดปัญหาช่องว่างทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าวได้
ข้อเสนอแนะ
1. คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเห็นว่า ปัจจุบันศาลปกครองเปิดดำเนินการแล้วอาจทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความตื่นตัวที่จะศึกษากฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเพิ่มมากขึ้น และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐทุกคนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ จึงควรที่จะได้มีการดำเนินการเพิ่มขึ้น ดังนี้
- กำหนดให้มีการสอบวิชากฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในการสอบแข่งขันเพื่อรับบุคคลเข้ารับราชการ หรือเลื่อนระดับข้าราชการ หรือพนักงานของรัฐ
- ควรมีการแจ้งให้หน่วยงานของรัฐตระหนักถึงความสำคัญของกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- สำนักงาน ก.พ. ควรกำหนดให้มีตำแหน่งพิเศษสำหรับข้าราชการที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านที่มีการศึกษากฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายอื่นในสาขาวิชากฎหมายมหาชนอย่างละเอียดลึกซึ้ง และกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้รับเงินประจำตำแหน่ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการศึกษากฎหมายนี้อย่างจริงจังและสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
- จัดให้มีการสอดส่องการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
2. ควรจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มจำนวนของวิทยากรประจำหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของตน
3. ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักกฎหมายปกครองให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนสำหรับหน่วยงานของรัฐ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ก.พ. 45--จบ--
-สส-
ส่วนที่ 1 คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง คณะกรรมการประกอบด้วย นายวัฒนา รัตนวิจิตร เป็นประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นกรรมการ และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 6 คน โดยมีอำนาจหน้าที่หลักคือ สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติราชการตามพระราชบัญญัตินี้ และอำนาจหน้าที่อื่นอีก 5 ประการ
ส่วนที่ 2 ผลงานของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
1. การออกกฎกระทรวง และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติได้ออกกฎกระทรวง 1 ฉบับ และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้ 1 ฉบับ
2. การให้คำแนะนำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรวม 7 เรื่อง
3. การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- การจัดวิทยากรไปเผยแพร่ความรู้ ได้จัดส่งวิทยากรซึ่งเป็นนิติกรของสำนักงานฯ ออกไปบรรยายเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2543 รวมทั้งสิ้นจำนวน 195 ครั้ง และมีเจ้าหน้าที่ผู้เข้ารับฟังการบรรยายรวมทั้งสิ้น 12,496 คน
- การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2543 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 58 ครั้ง
ส่วนที่ 3 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค
1. การขาดความตื่นตัว และความสนใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
2. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานต่าง ๆ มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไม่เพียงพอ
3. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน มิได้บัญญัติในเรื่องสัญญาทางปกครองซึ่งมีบทบาทเป็นอย่างมากในปัจจุบัน หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองเกิดขึ้น และมีการนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง อาจจะก่อให้เกิดปัญหาช่องว่างทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าวได้
ข้อเสนอแนะ
1. คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเห็นว่า ปัจจุบันศาลปกครองเปิดดำเนินการแล้วอาจทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความตื่นตัวที่จะศึกษากฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเพิ่มมากขึ้น และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐทุกคนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ จึงควรที่จะได้มีการดำเนินการเพิ่มขึ้น ดังนี้
- กำหนดให้มีการสอบวิชากฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในการสอบแข่งขันเพื่อรับบุคคลเข้ารับราชการ หรือเลื่อนระดับข้าราชการ หรือพนักงานของรัฐ
- ควรมีการแจ้งให้หน่วยงานของรัฐตระหนักถึงความสำคัญของกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- สำนักงาน ก.พ. ควรกำหนดให้มีตำแหน่งพิเศษสำหรับข้าราชการที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านที่มีการศึกษากฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายอื่นในสาขาวิชากฎหมายมหาชนอย่างละเอียดลึกซึ้ง และกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้รับเงินประจำตำแหน่ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการศึกษากฎหมายนี้อย่างจริงจังและสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
- จัดให้มีการสอดส่องการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
2. ควรจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มจำนวนของวิทยากรประจำหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของตน
3. ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักกฎหมายปกครองให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนสำหรับหน่วยงานของรัฐ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ก.พ. 45--จบ--
-สส-