คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ โครงการทำงานของนักเรียน นักศึกษาในช่วงปิดภาคเรียน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2544 วันที่ 8 มกราคม และวันที่ 15 มกราคม 2545 โดยใช้ชื่อโครงการว่า "เรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชน" ซึ่งใช้งบประมาณในการดำเนินงานทั้งสิ้น 107,987,600 บาท
1. โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ
- ส่งเสริมการเรียนรู้แก่นิสิตนักศึกษาจากสภาพที่เป็นจริงของชุมชน/สังคมของประเทศโดยใช้หลักกิจกรรมพื้นฐาน (Activity Based Bearning)
- ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาได้รู้จักการทำงานในลักษณะเป็นกลุ่มสหวิทยาการ (Multidisciplinary team) เพื่อประโยชน์ในการทำงานในอนาคตหลังจบเป็นบัณฑิต
- ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาทำงานที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน และลดภาระแก่ผู้ปกครอง อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง ชุมชน/สังคม และประเทศชาติ
- ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษานำความรู้และประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติ โดยไปทำงานร่วมกับประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน และยังเป็นการปลุกจิตสำนึกให้แก่เยาวชนไทยให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมตลอดจนประเทศชาติ
- เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีรายได้จากการทำงานเพื่อเป็นทุนการศึกษาต่อไป
- เพื่อให้หน่วยราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนชุมชนได้รับประโยชน์จากผลงานที่นิสิต นักศึกษา ได้ร่วมกันทำขึ้น
- เพื่อให้มีผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน และนำมาประกวดร่วมกันหลังเสร็จกิจกรรมเพื่อให้นิสิตนักศึกษาเกิดความภาคภูมิใจในผลงาน และเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้าง
2. เป้าหมาย
2.1 เชิงปริมาณ
- นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป จำนวนประมาณ 6,080 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 304 คน จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ได้ทำงานในช่วงปิดภาคการศึกษา ใน 152 ตำบล(ชุมชน) ของ 76 จังหวัด
- มีโครงการ 152 โครงการ 1,216 กิจกรรม เชื่อมโยงกับชุมชนอย่างน้อย 152 ตำบล (ชุมชน)ของ 76 จังหวัด
- รายงานสรุปและประเมินผลการทำงาน 152 ฉบับ
- นิสิต นักศึกษา จำนวน 6,080 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 304 คน มีรายได้จากการทำงานชั่วคราวระหว่างปิดภาคประมาณ 66 ล้านคน
หมายเหตุ 1 ชุมชน มีขนาดไม่น้อยกว่า 1 ตำบล
2.2 เชิงคุณภาพ
- เสริมสร้างและพัฒนาให้นิสิตนักศึกษาใช้ชีวิตในช่วงปิดภาคการศึกษาได้อย่างมีคุณค่า ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน/สังคม
- มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนิสิตนักศึกษา อาจารย์และชุมชน ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชน
- เกิดผลงานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้พัฒนาชุมชนต่าง ๆ
- เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ แนวคิด กระบวนการใหม่ ๆ
- เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน
- เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยกระจายเม็ดเงินเข้าสู่ชุมชนผ่านกิจกรรม/โครงการ
3. ลักษณะการจัดกิจกรรม การกำหนดแผนกิจกรรมเกี่ยวกับกิจกรรมเกี่ยวกับหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล Internet ตำบล ผังเมือง/ชุมชน/หมู่บ้าน สิ่งแวดล้อม สุขภาพชุมชน/สาธารณสุข สมุนไพร/อาหารเสริม ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ในกรณีที่กลุ่มไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ครบ 8 ด้าน (8 กิจกรรม) ให้กลุ่มเลือกกิจกรรมที่มีความพร้อมจำนวน 4 กิจกรรม โดยเพิ่มจำนวนชุมชนจาก 1 ชุมชน เป็น 2 ชุมชน เพื่อให้ได้ผลงานเต็มจำนวน 8 กิจกรรมในแต่ละกลุ่ม
4. การกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงาน ทบวงมหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน และกรมการผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กำหนดพื้นที่ในการจัดกิจกรรมภาคสนามใน 76 จังหวัด ๆ ละ 2 ชุมชน รวม 152ชุมชน โดยในแต่ละชุมชนจะดำเนินกิจกรรมไม่เกิน 8 ด้าน ตามความพร้อมของนิสิตนักศึกษา และอาจารย์แต่ละกลุ่ม
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- นิสิต นักศึกษา และอาจารย์ได้รู้จักคุณค่าของเวลา ใช้เวลาช่วงปิดภาคการศึกษาให้เกิดประโยชน์
- กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการกระจายรายได้ไปยังครอบครัวนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา ตลอดจนชุมชนที่เข้าปฏิบัติงาน
- นิสิตนักศึกษาได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะจากสภาพความเป็นจริง
- เสริมสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมกับชุมชน/สังคม
- เกิดองค์ความรู้ด้านรูปแบบ วิธีการ และกระบวนการส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในระบบการศึกษาของประเทศ
- เกิดการรังสรรค์นวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างครบวงจร
- เกิดความร่วมมือในระดับท้องถิ่นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน
- สถาบันอุดมศึกษามีโอกาสพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและการศึกษาวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม/ชุมชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ก.พ. 45--จบ--
-สส-
1. โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ
- ส่งเสริมการเรียนรู้แก่นิสิตนักศึกษาจากสภาพที่เป็นจริงของชุมชน/สังคมของประเทศโดยใช้หลักกิจกรรมพื้นฐาน (Activity Based Bearning)
- ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาได้รู้จักการทำงานในลักษณะเป็นกลุ่มสหวิทยาการ (Multidisciplinary team) เพื่อประโยชน์ในการทำงานในอนาคตหลังจบเป็นบัณฑิต
- ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาทำงานที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน และลดภาระแก่ผู้ปกครอง อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง ชุมชน/สังคม และประเทศชาติ
- ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษานำความรู้และประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติ โดยไปทำงานร่วมกับประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน และยังเป็นการปลุกจิตสำนึกให้แก่เยาวชนไทยให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมตลอดจนประเทศชาติ
- เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีรายได้จากการทำงานเพื่อเป็นทุนการศึกษาต่อไป
- เพื่อให้หน่วยราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนชุมชนได้รับประโยชน์จากผลงานที่นิสิต นักศึกษา ได้ร่วมกันทำขึ้น
- เพื่อให้มีผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน และนำมาประกวดร่วมกันหลังเสร็จกิจกรรมเพื่อให้นิสิตนักศึกษาเกิดความภาคภูมิใจในผลงาน และเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้าง
2. เป้าหมาย
2.1 เชิงปริมาณ
- นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป จำนวนประมาณ 6,080 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 304 คน จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ได้ทำงานในช่วงปิดภาคการศึกษา ใน 152 ตำบล(ชุมชน) ของ 76 จังหวัด
- มีโครงการ 152 โครงการ 1,216 กิจกรรม เชื่อมโยงกับชุมชนอย่างน้อย 152 ตำบล (ชุมชน)ของ 76 จังหวัด
- รายงานสรุปและประเมินผลการทำงาน 152 ฉบับ
- นิสิต นักศึกษา จำนวน 6,080 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 304 คน มีรายได้จากการทำงานชั่วคราวระหว่างปิดภาคประมาณ 66 ล้านคน
หมายเหตุ 1 ชุมชน มีขนาดไม่น้อยกว่า 1 ตำบล
2.2 เชิงคุณภาพ
- เสริมสร้างและพัฒนาให้นิสิตนักศึกษาใช้ชีวิตในช่วงปิดภาคการศึกษาได้อย่างมีคุณค่า ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน/สังคม
- มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนิสิตนักศึกษา อาจารย์และชุมชน ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชน
- เกิดผลงานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้พัฒนาชุมชนต่าง ๆ
- เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ แนวคิด กระบวนการใหม่ ๆ
- เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน
- เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยกระจายเม็ดเงินเข้าสู่ชุมชนผ่านกิจกรรม/โครงการ
3. ลักษณะการจัดกิจกรรม การกำหนดแผนกิจกรรมเกี่ยวกับกิจกรรมเกี่ยวกับหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล Internet ตำบล ผังเมือง/ชุมชน/หมู่บ้าน สิ่งแวดล้อม สุขภาพชุมชน/สาธารณสุข สมุนไพร/อาหารเสริม ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ในกรณีที่กลุ่มไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ครบ 8 ด้าน (8 กิจกรรม) ให้กลุ่มเลือกกิจกรรมที่มีความพร้อมจำนวน 4 กิจกรรม โดยเพิ่มจำนวนชุมชนจาก 1 ชุมชน เป็น 2 ชุมชน เพื่อให้ได้ผลงานเต็มจำนวน 8 กิจกรรมในแต่ละกลุ่ม
4. การกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงาน ทบวงมหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน และกรมการผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กำหนดพื้นที่ในการจัดกิจกรรมภาคสนามใน 76 จังหวัด ๆ ละ 2 ชุมชน รวม 152ชุมชน โดยในแต่ละชุมชนจะดำเนินกิจกรรมไม่เกิน 8 ด้าน ตามความพร้อมของนิสิตนักศึกษา และอาจารย์แต่ละกลุ่ม
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- นิสิต นักศึกษา และอาจารย์ได้รู้จักคุณค่าของเวลา ใช้เวลาช่วงปิดภาคการศึกษาให้เกิดประโยชน์
- กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการกระจายรายได้ไปยังครอบครัวนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา ตลอดจนชุมชนที่เข้าปฏิบัติงาน
- นิสิตนักศึกษาได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะจากสภาพความเป็นจริง
- เสริมสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมกับชุมชน/สังคม
- เกิดองค์ความรู้ด้านรูปแบบ วิธีการ และกระบวนการส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในระบบการศึกษาของประเทศ
- เกิดการรังสรรค์นวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างครบวงจร
- เกิดความร่วมมือในระดับท้องถิ่นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน
- สถาบันอุดมศึกษามีโอกาสพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและการศึกษาวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม/ชุมชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 ก.พ. 45--จบ--
-สส-