คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย สรุปได้ดังนี้
1. ได้ออกระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยเงินอุดหนุนโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย พ.ศ. 2543 โดยกำหนดให้มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ขอรับจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อดำเนินโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย
2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 79/2544 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการฯ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายเป็นประธานกรรมการ ซึ่งได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ช่วยปฏิบัติงาน 3 คณะ คือ คณะอนุกรรมการติดตามควบคุมการใช้จ่ายเงินและการปฏิบัติงานโครงการฯ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการดำเนินงานโครงการฯ และคณะอนุกรรมการดูแลและติดตามการจ้างที่ปรึกษาประเมินผลโครงการฯ
3. แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการดำเนินงานการเงินและการบัญชีของโครงการฯ
4. ปีงบประมาณ 2544 ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 200 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้ใช้ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยเงินอุดหนุนโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย พ.ศ. 2543เป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยได้ดำเนินการ
4.1 นำเงินฝากธนาคารกรุงไทยในบัญชีชื่อ "เงินอุดหนุนโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย" และสั่งจ่ายเงินให้มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนฯ เมื่อมูลนิธิฯ เสนอเรื่องขอเบิกจ่าย ตามแผนการดำเนินงาน/โครงการย่อยที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารโครงการฯ
4.2 คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้ประชุมพิจารณาอนุมัติแผนงานการดำเนินงานฯ รวม 20 แผนเพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่จำนวน 19 ภูมินิเวศน์ และสำนักงานมูลนิธิฯ รวมวงเงิน 200 ล้านบาท
4.3 มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนฯ ได้รับอนุมัติเบิกจ่ายแล้ว รวมเป็นเงิน 200 ล้านบาท ทั้งนี้ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ได้ใช้จ่ายเงิน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 รวมทั้งสิ้น 107.933 ล้านบาท คงเหลือ 92.067ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้อนุมัติให้ปรับแผนการดำเนินงานไปปฏิบัติงานต่อเนื่องในปี 2545
5. ผลการดำเนินงานโครงการของมูลนิธิฯ และระดับพื้นที่ภูมินิเวศน์ต่าง ๆ
5.1 ได้ดำเนินงาน 5 แผนงาน ประกอบด้วย 75 กิจกรรม การดำเนินงานใน 4 แผนงานแรก พบว่ามีความก้าวหน้าในระดับค่อนข้างดี ซึ่งดีเกินเป้าหมายจำนวน 8 กิจกรรม ที่ทำได้ร้อยละ 81 - 90 ของเป้าหมาย จำนวน 10กิจกรรม ที่ทำได้ร้อยละ 51 - 80 ของเป้าหมาย จำนวน 16 กิจกรรม ที่เหลือจำนวน 19 กิจกรรม ทำได้ต่ำกว่าครึ่งของเป้าหมายประจำปี แต่ได้ขอปรับแผนไปดำเนินการในปีถัดไป สำหรับแผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งรวม 17กิจกรรม มีความก้าวหน้าระดับปานกลาง
5.2 แผนงานวิจัยและพัฒนาในระดับพื้นที่ ยังไม่สามารถทำงานวิจัยตามแผนที่วางไว้ได้ เพราะเป็นสิ่งใหม่สำหรับชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ และมีอุปสรรคในการขอความร่วมมือจากนักวิชาการ หลายรายไม่คุ้นเคยกับการศึกษาวิจัยที่เน้นการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย แต่ในการประมูลขุดสระน้ำและการจัดซื้อพันธุ์สัตว์ ชาวบ้านในทุกภูมินิเวศน์สามารถจัดการได้ในราคาต่ำกว่าที่รัฐทำจนสามารถนำประสบการณ์มาเป็นบทเรียนแก่หน่วยงานรัฐ
5.3 การเรียนรู้ของชาวบ้านที่นำมาสู่การพัฒนาการทำงาน ได้ช่วยสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโครงการพัฒนาโดยภาคประชาชน แม้ยังไม่สำเร็จเต็มรูปแบบและมีปัญหาในทางบริหารจัดการมาก แต่ก็ได้ปรากฏให้เห็นว่ามีหลายกิจกรรมที่ประชาชนสามารถเรียนรู้และจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างหลักเกณฑ์ตัวชี้วัด และจัดทำข้อมูลพื้นฐานเพื่อการศึกษาประเมินการเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรสมาชิกโครงการนำร่อง มีความก้าวหน้าพอสมควรเกษตรกรสมาชิกมีส่วนร่วมในการเรียนรู้การจัดการไร่นา มีแนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่ความสามารถในการทำเกษตรยั่งยืนเพื่อการพึ่งตนเองได้ในอนาคต
5.4 จุดเด่นของโครงการ คือ ประชาชนเป็นผู้ควบคุมและจัดการโครงการผลประโยชน์จากโครงการไปสู่เกษตรกรสมาชิกโดยตรง เกษตรกรระดับผู้นำได้เรียนรู้ในเรื่องการบริหารจัดการ เกษตรกรระดับสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดการในระดับแปลง เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครโครงการส่วนใหญ่มีความตั้งใจมุ่งมั่นและทุ่มเทอุทิศตนเองต่อการทำงาน
5.5 ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ
1) ปัญหาระดับบริหาร ได้แก่ ปัญหาโครงสร้างอำนาจการบริหารระบบงบประมาณ และนโยบายรัฐทั้งนี้ ควรมอบอำนาจการบริหารจัดการให้มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะอำนาจในการพิจารณาแผนงานและงบประมาณ ปรับโครงสร้างการบริหารงานเพื่อลดความซ้ำซ้อนของงาน คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขนโยบายที่ขัดแย้งกับการดำเนินการโครงการฯ และสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ
2) ปัญหาระดับปฏิบัติ ได้แก่ ปัญหาระเบียบมูลนิธิ การดำเนินการในพื้นที่ ด้านบุคลากร ด้านการสื่อสาร การติดตามประเมินผล และการพัฒนาฐานข้อมูล ปัญหาอุปสรรคเหล่านี้เกิดจากจุดอ่อนของโครงการฯ ที่สำคัญคือการควบคุมบริหารจัดโครงการโดยส่วนกลาง ซึ่งรวมถึงระบบการวางแผน การทำรายงาน และการบริหารงบประมาณ ทำให้แผนงานและงบประมาณไม่สอดคล้องกับการทำงานของเกษตรกรในแปลงเกษตรและบุคลากรระดับแกนนำ และกรรมการยังมีศักยภาพไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ควรปรับกลไกและรูปแบบการบริหารจัดการ รวมทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ของมูลนิธิฯ
6. ปีงบประมาณ 2545 สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 200ล้านบาท ดำเนินงานโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย ต่อเนื่องจากปี 2544 โดยคณะกรรมการบริหารโครงการนำร่องฯ ได้พิจารณาแผนการดำเนินงานโครงการที่มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนฯ เสนอ และมีมติเห็นชอบกรอบ แผนงานโครงการ จำนวน 20 แผน วงเงินจำนวน 200 ล้านบาท ให้มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนฯ ดำเนินงานโครงการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ก.พ.45--
-สส-
1. ได้ออกระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยเงินอุดหนุนโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย พ.ศ. 2543 โดยกำหนดให้มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ขอรับจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อดำเนินโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย
2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 79/2544 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการฯ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายเป็นประธานกรรมการ ซึ่งได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ช่วยปฏิบัติงาน 3 คณะ คือ คณะอนุกรรมการติดตามควบคุมการใช้จ่ายเงินและการปฏิบัติงานโครงการฯ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการดำเนินงานโครงการฯ และคณะอนุกรรมการดูแลและติดตามการจ้างที่ปรึกษาประเมินผลโครงการฯ
3. แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการดำเนินงานการเงินและการบัญชีของโครงการฯ
4. ปีงบประมาณ 2544 ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 200 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้ใช้ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยเงินอุดหนุนโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย พ.ศ. 2543เป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยได้ดำเนินการ
4.1 นำเงินฝากธนาคารกรุงไทยในบัญชีชื่อ "เงินอุดหนุนโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย" และสั่งจ่ายเงินให้มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนฯ เมื่อมูลนิธิฯ เสนอเรื่องขอเบิกจ่าย ตามแผนการดำเนินงาน/โครงการย่อยที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารโครงการฯ
4.2 คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้ประชุมพิจารณาอนุมัติแผนงานการดำเนินงานฯ รวม 20 แผนเพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่จำนวน 19 ภูมินิเวศน์ และสำนักงานมูลนิธิฯ รวมวงเงิน 200 ล้านบาท
4.3 มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนฯ ได้รับอนุมัติเบิกจ่ายแล้ว รวมเป็นเงิน 200 ล้านบาท ทั้งนี้ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ได้ใช้จ่ายเงิน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 รวมทั้งสิ้น 107.933 ล้านบาท คงเหลือ 92.067ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้อนุมัติให้ปรับแผนการดำเนินงานไปปฏิบัติงานต่อเนื่องในปี 2545
5. ผลการดำเนินงานโครงการของมูลนิธิฯ และระดับพื้นที่ภูมินิเวศน์ต่าง ๆ
5.1 ได้ดำเนินงาน 5 แผนงาน ประกอบด้วย 75 กิจกรรม การดำเนินงานใน 4 แผนงานแรก พบว่ามีความก้าวหน้าในระดับค่อนข้างดี ซึ่งดีเกินเป้าหมายจำนวน 8 กิจกรรม ที่ทำได้ร้อยละ 81 - 90 ของเป้าหมาย จำนวน 10กิจกรรม ที่ทำได้ร้อยละ 51 - 80 ของเป้าหมาย จำนวน 16 กิจกรรม ที่เหลือจำนวน 19 กิจกรรม ทำได้ต่ำกว่าครึ่งของเป้าหมายประจำปี แต่ได้ขอปรับแผนไปดำเนินการในปีถัดไป สำหรับแผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งรวม 17กิจกรรม มีความก้าวหน้าระดับปานกลาง
5.2 แผนงานวิจัยและพัฒนาในระดับพื้นที่ ยังไม่สามารถทำงานวิจัยตามแผนที่วางไว้ได้ เพราะเป็นสิ่งใหม่สำหรับชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ และมีอุปสรรคในการขอความร่วมมือจากนักวิชาการ หลายรายไม่คุ้นเคยกับการศึกษาวิจัยที่เน้นการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย แต่ในการประมูลขุดสระน้ำและการจัดซื้อพันธุ์สัตว์ ชาวบ้านในทุกภูมินิเวศน์สามารถจัดการได้ในราคาต่ำกว่าที่รัฐทำจนสามารถนำประสบการณ์มาเป็นบทเรียนแก่หน่วยงานรัฐ
5.3 การเรียนรู้ของชาวบ้านที่นำมาสู่การพัฒนาการทำงาน ได้ช่วยสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโครงการพัฒนาโดยภาคประชาชน แม้ยังไม่สำเร็จเต็มรูปแบบและมีปัญหาในทางบริหารจัดการมาก แต่ก็ได้ปรากฏให้เห็นว่ามีหลายกิจกรรมที่ประชาชนสามารถเรียนรู้และจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างหลักเกณฑ์ตัวชี้วัด และจัดทำข้อมูลพื้นฐานเพื่อการศึกษาประเมินการเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรสมาชิกโครงการนำร่อง มีความก้าวหน้าพอสมควรเกษตรกรสมาชิกมีส่วนร่วมในการเรียนรู้การจัดการไร่นา มีแนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่ความสามารถในการทำเกษตรยั่งยืนเพื่อการพึ่งตนเองได้ในอนาคต
5.4 จุดเด่นของโครงการ คือ ประชาชนเป็นผู้ควบคุมและจัดการโครงการผลประโยชน์จากโครงการไปสู่เกษตรกรสมาชิกโดยตรง เกษตรกรระดับผู้นำได้เรียนรู้ในเรื่องการบริหารจัดการ เกษตรกรระดับสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดการในระดับแปลง เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครโครงการส่วนใหญ่มีความตั้งใจมุ่งมั่นและทุ่มเทอุทิศตนเองต่อการทำงาน
5.5 ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ
1) ปัญหาระดับบริหาร ได้แก่ ปัญหาโครงสร้างอำนาจการบริหารระบบงบประมาณ และนโยบายรัฐทั้งนี้ ควรมอบอำนาจการบริหารจัดการให้มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะอำนาจในการพิจารณาแผนงานและงบประมาณ ปรับโครงสร้างการบริหารงานเพื่อลดความซ้ำซ้อนของงาน คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขนโยบายที่ขัดแย้งกับการดำเนินการโครงการฯ และสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ
2) ปัญหาระดับปฏิบัติ ได้แก่ ปัญหาระเบียบมูลนิธิ การดำเนินการในพื้นที่ ด้านบุคลากร ด้านการสื่อสาร การติดตามประเมินผล และการพัฒนาฐานข้อมูล ปัญหาอุปสรรคเหล่านี้เกิดจากจุดอ่อนของโครงการฯ ที่สำคัญคือการควบคุมบริหารจัดโครงการโดยส่วนกลาง ซึ่งรวมถึงระบบการวางแผน การทำรายงาน และการบริหารงบประมาณ ทำให้แผนงานและงบประมาณไม่สอดคล้องกับการทำงานของเกษตรกรในแปลงเกษตรและบุคลากรระดับแกนนำ และกรรมการยังมีศักยภาพไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ควรปรับกลไกและรูปแบบการบริหารจัดการ รวมทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ของมูลนิธิฯ
6. ปีงบประมาณ 2545 สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 200ล้านบาท ดำเนินงานโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย ต่อเนื่องจากปี 2544 โดยคณะกรรมการบริหารโครงการนำร่องฯ ได้พิจารณาแผนการดำเนินงานโครงการที่มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนฯ เสนอ และมีมติเห็นชอบกรอบ แผนงานโครงการ จำนวน 20 แผน วงเงินจำนวน 200 ล้านบาท ให้มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนฯ ดำเนินงานโครงการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ก.พ.45--
-สส-