คณะรัฐมนตรีพิจารณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยภาคกลางและภาคตะวันออก ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายเดช บุญ-หลง) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งได้รับมอบความรับผิดชอบให้ดูแลพื้นที่ประสบอุทกภัยของจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออก รวม 20 จังหวัด เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบสรุปผลการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ความพร้อม ความต้องการและข้อขัดข้องและแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ 20 จังหวัด ภาคกลางและภาคตะวันออก สรุปได้ดังนี้
1.1 ทุกจังหวัดมีการเตรียมความพร้อม โดยจัดทำแผนเฉพาะกิจและจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจไว้แล้ว และได้มีการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยและเตรียมจุดอพยพไว้พร้อม
1.2 ที่ผ่านมาจังหวัดมีระบบการช่วยเหลือประชาชนที่ค่อนข้างพร้อมตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัยและหลังเกิดภัย รวมทั้งกรณีเกิดอุทกภัยฉับพลัน โดยสามารถจัดการระบบเตือนภัยล่วงหน้าได้เร็วที่สุด 6 ชั่วโมง (จังหวัดนครนายก) ภาคตะวันออกสามารถเตือนภัยล่วงหน้าเฉลี่ย 1 - 2 วัน และภาคกลางเตือนภัยล่วงหน้าเฉลี่ย 2 - 3 วัน
1.3 ลักษณะการเกิดอุทกภัยในภาคกลาง ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่เป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมขังและน้ำป่าไหลหลากประกอบกับบางปีมีลมดีเปรสชั่นหรือลมมรสุมทำให้ฝนตกหนักติดต่อกัน ซึ่งจังหวัดที่มีปัญหาน้ำท่วมทุกปี ได้แก่ กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และสมุทรสาคร ส่วนภาคตะวันออกส่วนใหญ่มาจากสาเหตุน้ำท่วมขัง น้ำทะเลหนุนและน้ำป่า และบางพื้นที่มีสภาพเป็นแอ่ง จังหวัดที่มีปัญหาน้ำท่วมทุกปี ได้แก่ จันทบุรี และตราด
1.4 จังหวัดมีข้อขัดข้องในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะจังหวัดที่มีปัญหาน้ำท่วมทุกปีทั้ง 6 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการงบประมาณสนับสนุนแผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากเป็นกรณีเร่งด่วน ได้แก่ ขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน การสร้างอ่างเก็บน้ำ การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ (เขื่อน ค.ส.ล.) และการขุดคลองในลักษณะเลี่ยงเมือง
2. เห็นชอบให้รัฐมนตรีที่กำกับดูและกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งรัดติดตามการดำเนินงาน ดังนี้
2.1 ทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้การสนับสนุนและเร่งรัดการปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยเน้นการดำเนินงานในลักษณะแผนงานบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างยั่งยืน ตามแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจังหวัดเพชรบุรีว่า "มีสาเหตุจากที่สิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำลงทะเล และโครงการของหน่วยราชการไม่ทำให้สอดคล้องกัน"
2.2 กระทรวงมหาดไทยสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดที่ได้เตรียมแผนงานบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยไว้แล้ว และประสานผลักดันแผนงาน/โครงการที่จำเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัย อาทิ การขุดลอกคูคลองในพื้นที่อุทกภัยซ้ำซาก
2.3 กระทรวงคมนาคมดำเนินการสำรวจเส้นทางคมนาคมที่เป็นอุปสรรคกีดขวางทางไหลของน้ำโดยทำท่อลอด การสร้างสะพานยกระดับถนน หรือการเบี่ยงแนวเส้นทางหลีกเลี่ยงเส้นทางน้ำ ปรับปรุงซ่อมแซมถนนที่ชำรุดเสียหายโดยเร็ว รวมทั้งให้ความสำคัญในการขุดลอกคูคลอง และปากแม่น้ำที่ตื้นเขิน
2.4 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการขุดลอกคูคลองทางระบายน้ำในเขตรับผิดชอบ ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ โดยคำนึงถึงความสำคัญเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะยาว และเร่งรัดการพิจารณาคำขออนุญาต กรณีที่พื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำอยู่ในเขตอนุรักษ์ เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
2.5 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดการพิจารณาให้ความเห็นการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการที่เกี่ยวข้องเป็นกรณีเร่งด่วน
2.6 สำนักงบประมาณให้ความสำคัญกับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้การดำเนินแผนงานในลักษณะบูรณาการและจัดเตรียมงบประมาณสนับสนุน รวมทั้งเตรียมพร้อมงบประมาณการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการป้องกันและฟื้นฟูภายหลังน้ำลด
3. เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออกโดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายเดช บุญ-หลง) เป็นประธานกรรมการ และให้มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติภารกิจ โดยเบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปี2545 วงเงิน 959,040 บาท โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ และเป็นผู้เบิกจ่ายงบประมาณต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.พ. 45--จบ--
-สส-
1. รับทราบสรุปผลการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ความพร้อม ความต้องการและข้อขัดข้องและแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ 20 จังหวัด ภาคกลางและภาคตะวันออก สรุปได้ดังนี้
1.1 ทุกจังหวัดมีการเตรียมความพร้อม โดยจัดทำแผนเฉพาะกิจและจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจไว้แล้ว และได้มีการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยและเตรียมจุดอพยพไว้พร้อม
1.2 ที่ผ่านมาจังหวัดมีระบบการช่วยเหลือประชาชนที่ค่อนข้างพร้อมตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัยและหลังเกิดภัย รวมทั้งกรณีเกิดอุทกภัยฉับพลัน โดยสามารถจัดการระบบเตือนภัยล่วงหน้าได้เร็วที่สุด 6 ชั่วโมง (จังหวัดนครนายก) ภาคตะวันออกสามารถเตือนภัยล่วงหน้าเฉลี่ย 1 - 2 วัน และภาคกลางเตือนภัยล่วงหน้าเฉลี่ย 2 - 3 วัน
1.3 ลักษณะการเกิดอุทกภัยในภาคกลาง ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่เป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมขังและน้ำป่าไหลหลากประกอบกับบางปีมีลมดีเปรสชั่นหรือลมมรสุมทำให้ฝนตกหนักติดต่อกัน ซึ่งจังหวัดที่มีปัญหาน้ำท่วมทุกปี ได้แก่ กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และสมุทรสาคร ส่วนภาคตะวันออกส่วนใหญ่มาจากสาเหตุน้ำท่วมขัง น้ำทะเลหนุนและน้ำป่า และบางพื้นที่มีสภาพเป็นแอ่ง จังหวัดที่มีปัญหาน้ำท่วมทุกปี ได้แก่ จันทบุรี และตราด
1.4 จังหวัดมีข้อขัดข้องในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะจังหวัดที่มีปัญหาน้ำท่วมทุกปีทั้ง 6 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการงบประมาณสนับสนุนแผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากเป็นกรณีเร่งด่วน ได้แก่ ขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน การสร้างอ่างเก็บน้ำ การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ (เขื่อน ค.ส.ล.) และการขุดคลองในลักษณะเลี่ยงเมือง
2. เห็นชอบให้รัฐมนตรีที่กำกับดูและกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งรัดติดตามการดำเนินงาน ดังนี้
2.1 ทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้การสนับสนุนและเร่งรัดการปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยเน้นการดำเนินงานในลักษณะแผนงานบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างยั่งยืน ตามแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจังหวัดเพชรบุรีว่า "มีสาเหตุจากที่สิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำลงทะเล และโครงการของหน่วยราชการไม่ทำให้สอดคล้องกัน"
2.2 กระทรวงมหาดไทยสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดที่ได้เตรียมแผนงานบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยไว้แล้ว และประสานผลักดันแผนงาน/โครงการที่จำเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัย อาทิ การขุดลอกคูคลองในพื้นที่อุทกภัยซ้ำซาก
2.3 กระทรวงคมนาคมดำเนินการสำรวจเส้นทางคมนาคมที่เป็นอุปสรรคกีดขวางทางไหลของน้ำโดยทำท่อลอด การสร้างสะพานยกระดับถนน หรือการเบี่ยงแนวเส้นทางหลีกเลี่ยงเส้นทางน้ำ ปรับปรุงซ่อมแซมถนนที่ชำรุดเสียหายโดยเร็ว รวมทั้งให้ความสำคัญในการขุดลอกคูคลอง และปากแม่น้ำที่ตื้นเขิน
2.4 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการขุดลอกคูคลองทางระบายน้ำในเขตรับผิดชอบ ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ โดยคำนึงถึงความสำคัญเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะยาว และเร่งรัดการพิจารณาคำขออนุญาต กรณีที่พื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำอยู่ในเขตอนุรักษ์ เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
2.5 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดการพิจารณาให้ความเห็นการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการที่เกี่ยวข้องเป็นกรณีเร่งด่วน
2.6 สำนักงบประมาณให้ความสำคัญกับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้การดำเนินแผนงานในลักษณะบูรณาการและจัดเตรียมงบประมาณสนับสนุน รวมทั้งเตรียมพร้อมงบประมาณการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการป้องกันและฟื้นฟูภายหลังน้ำลด
3. เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออกโดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายเดช บุญ-หลง) เป็นประธานกรรมการ และให้มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติภารกิจ โดยเบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปี2545 วงเงิน 959,040 บาท โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ และเป็นผู้เบิกจ่ายงบประมาณต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.พ. 45--จบ--
-สส-