คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการออกพันธบัตร Samurai Bond รุ่นที่ 18 19 และ 20 ของกระทรวงการคลัง ตามที่กระทรวงการคลังรายงาน ดังนี้
1. ลงนามในความตกลงว่าด้วยการออกพันธบัตร ประกอบด้วย ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่ายพันธบัตร (Subscription Agreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นธนาคารตัวแทน (Agreement with Commissioned Companies for Bondholders) ความตกลงว่าด้วยการเป็นธนาคารตัวแทนจ่ายเงิน (Paying Agents Agreement) ความตกลงว่าด้วยการจดทะเบียนผู้ซื้อพันธบัตร (Recording Agency Agreement) และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกพันธบัตรดังกล่าว เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2544 และกระทรวงการคลังได้รับเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2544 โดยมีสาระสำคัญอยู่ภายใต้ขอบเขตเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ทุกประการ
2. กระทรวงการคลังได้โอนเงินจำนวนสุทธิ 34,813,650,000 เยน ที่ได้จากการออกพันธบัตรให้การไฟฟ้านครหลวง จำนวน 11,936,108,571 เยน และให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 22,877,541,429 เยน เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2544
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ชี้แจงความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. การออก Samurai Bond ในครั้งนี้ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของ Samurai Bond ของประเทศไทยที่จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นลดลงจากร้อยละ 2.88 ต่อปี เป็น 2.38 ต่อปี และสามารถขยายอายุเฉลี่ยของพันธบัตรจากเดิม3.2 ปี เป็น 4.1 ปี
2. การกู้เงินโดยวิธีการออก Samurai Bond ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.80 ต่อปี สำหรับพันธบัตรระยะ 3 ปี ร้อยละ 1.13 ต่อปี สำหรับพันธบัตรระยะ 5 ปี และร้อยละ 1.70 ต่อปี สำหรับพันธบัตรระยะ 7 ปี เป็นอัตราต่ำสุด นับตั้งแต่กระทรวงการคลังได้กู้เงินจากตลาดทุนญี่ปุ่นเมื่อปี 2522 เป็นต้นมา
3. การจัดจำหน่าย Samurai Bond ของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ได้รับการตอบสนองที่ดีมากจากนักลงทุน แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ผันผวนในตลาดการเงินระหว่างประเทศ เช่น วิกฤตการเงินในประเทศอาร์เจนตินา และการล้มละลายของบริษัท Mycal และบริษัท Enron ทั้งนี้เนื่องจากชื่อเสียงของประเทศไทยยังเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนในตลาดทุนญี่ปุ่นตลอดจนความมีสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ
4. การทำ Refinance เงินกู้ของการไฟฟ้านครหลวง โดยการออก Samurai Bond ในครั้งนี้สามารถประหยัดต้นทุนดอกเบี้ยได้ประมาณ 3,610 ล้านเยน หรือเทียบเท่าประมาณ 1,260 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 100 เยนต่อ 35 บาท) และในกรณีบริษัท การบินไทยฯ จะเป็นการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ที่มีต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำลงและสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้
อนึ่ง เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังปรับโครงสร้างเงินกู้ต่างประเทศ พ.ศ. 2528 กระทรวงการคลังจะต้องประกาศผลการกู้เงินรายนี้ในราชกิจจานุเบกษาภายใน 90 วันนับจากวันทำสัญญากู้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 มี.ค. 45--จบ--
-สส-
1. ลงนามในความตกลงว่าด้วยการออกพันธบัตร ประกอบด้วย ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่ายพันธบัตร (Subscription Agreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นธนาคารตัวแทน (Agreement with Commissioned Companies for Bondholders) ความตกลงว่าด้วยการเป็นธนาคารตัวแทนจ่ายเงิน (Paying Agents Agreement) ความตกลงว่าด้วยการจดทะเบียนผู้ซื้อพันธบัตร (Recording Agency Agreement) และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกพันธบัตรดังกล่าว เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2544 และกระทรวงการคลังได้รับเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2544 โดยมีสาระสำคัญอยู่ภายใต้ขอบเขตเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ทุกประการ
2. กระทรวงการคลังได้โอนเงินจำนวนสุทธิ 34,813,650,000 เยน ที่ได้จากการออกพันธบัตรให้การไฟฟ้านครหลวง จำนวน 11,936,108,571 เยน และให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 22,877,541,429 เยน เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2544
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ชี้แจงความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. การออก Samurai Bond ในครั้งนี้ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของ Samurai Bond ของประเทศไทยที่จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นลดลงจากร้อยละ 2.88 ต่อปี เป็น 2.38 ต่อปี และสามารถขยายอายุเฉลี่ยของพันธบัตรจากเดิม3.2 ปี เป็น 4.1 ปี
2. การกู้เงินโดยวิธีการออก Samurai Bond ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.80 ต่อปี สำหรับพันธบัตรระยะ 3 ปี ร้อยละ 1.13 ต่อปี สำหรับพันธบัตรระยะ 5 ปี และร้อยละ 1.70 ต่อปี สำหรับพันธบัตรระยะ 7 ปี เป็นอัตราต่ำสุด นับตั้งแต่กระทรวงการคลังได้กู้เงินจากตลาดทุนญี่ปุ่นเมื่อปี 2522 เป็นต้นมา
3. การจัดจำหน่าย Samurai Bond ของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ได้รับการตอบสนองที่ดีมากจากนักลงทุน แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ผันผวนในตลาดการเงินระหว่างประเทศ เช่น วิกฤตการเงินในประเทศอาร์เจนตินา และการล้มละลายของบริษัท Mycal และบริษัท Enron ทั้งนี้เนื่องจากชื่อเสียงของประเทศไทยยังเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนในตลาดทุนญี่ปุ่นตลอดจนความมีสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ
4. การทำ Refinance เงินกู้ของการไฟฟ้านครหลวง โดยการออก Samurai Bond ในครั้งนี้สามารถประหยัดต้นทุนดอกเบี้ยได้ประมาณ 3,610 ล้านเยน หรือเทียบเท่าประมาณ 1,260 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 100 เยนต่อ 35 บาท) และในกรณีบริษัท การบินไทยฯ จะเป็นการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ที่มีต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำลงและสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้
อนึ่ง เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังปรับโครงสร้างเงินกู้ต่างประเทศ พ.ศ. 2528 กระทรวงการคลังจะต้องประกาศผลการกู้เงินรายนี้ในราชกิจจานุเบกษาภายใน 90 วันนับจากวันทำสัญญากู้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 มี.ค. 45--จบ--
-สส-