คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างนโยบายและแผนแม่บทการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช พ.ศ. 2545 - 2549
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายเศรษฐกิจ)
ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานกรรมการฯ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นเพิ่มเติมของ
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงแรง
งานและสวัสดิการสังคม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ
สิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ (Project
Steering Committee) และคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ขึ้น เพื่อกำหนดกิจกรรมและการปฏิบัติงานตามโครงการ มาตรการ
การควบคุมที่เหมาะสม การปฏิรูปนโยบายเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช (Appropriate Regulatory
Measures and Policy Reform For Pesticide Risk Reduction) ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมที่คณะกรรมการบริหารโครงการได้กำหนดขึ้น
คือ การจัดทำยกร่างนโยบายและแผนแม่บทการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อใช้เป็นกรอบในการ
ปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการควบคุม
วัตุถอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ในระหว่างการจัดทำ กรมวิชาการเกษตร และ
องค์การเพื่อความร่วมมือทางวิชาการแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน [(Deutsche Gesellschaft fur Technische
Zusammenarbeit : GTZ) Gmbh
] ได้จัดประชุมระดมสมองนักวิชาการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อ
ยกร่างนโยบายและแผนแม่บทฯ รวม 3 ครั้ง และเมื่อกรมวิชาการเกษตรดำเนินการแก้ไขร่างนโยบายและแผนแม่บทฯ
เสร็จแล้วจึงได้จัดทำเป็นรูปเล่มฉบับเต็ม และส่งให้ GTZ นำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นกรมวิชาการเกษตรได้จัดทำ
ร่างนโยบายและแผนแม่บทฯ ฉบับสรุป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของนโยบายสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
กลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์
1. ผู้ผลิต | ผู้จำหน่าย - เพื่อให้มีการนำพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องไปใช้
ในการดำเนินงานด้านสารป้องกันศัตรูพืชให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. เกษตรกรผู้ใช้สารเคมี - เพื่อให้มีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
- เพื่อส่งเสริมการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีการธรรมชาติ และลดการใช้สารเคมีป้องกัน
กำจัดศัตรูพืช
3. ประชาชนทั่วไป - เพื่อเผยแพร่ข้อมูล และให้ความรู้เกี่ยวกับสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชต่อประชาชนทุกเพศทุกวัย และระดับการศึกษาต่าง ๆ
4. ระบบบริหารของรัฐ - เพื่อประสานการบริหารจัดการสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งใน
โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อพัฒนาบุคลากรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในด้านต่าง ๆ ทั้งด้าน
ปริมาณและคุณภาพ
5. สิ่งแวดล้อม - เพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้สารฯ ต่อสภาพแวดล้อม
2. ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
2.1 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการนำพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และ
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการดำเนินงานด้านสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2.2 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านให้มีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
2.3 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการส่งเสริมการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีการธรรมชาติ
และลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
2.4 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการเผยแพร่ข้อมูล และให้ความรู้เกี่ยวกับสารป้องกันและ
กำจัดศัตรูพืชให้ประชาชนทุกเพศทุกวัย และระดับการศึกษาต่าง ๆ
2.5 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการประสานงานการจัดการกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้
เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2.6 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาบุคลากรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัด
ศัตรูพืชในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
2.7 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการลดความเสี่ยงจากการใช้สารฯ ต่อสภาพแวดล้อม
3. แผนปฏิบัติงานได้แบ่งมาตรการดำเนินงานเป็น 2 ประเภท คือ แผนงานหลัก ประกอบด้วย 20
โครงการ และแผนงานเสริม 18 โครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 มี.ค. 45--จบ--
-สส-
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายเศรษฐกิจ)
ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานกรรมการฯ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นเพิ่มเติมของ
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงแรง
งานและสวัสดิการสังคม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ
สิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ (Project
Steering Committee) และคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ขึ้น เพื่อกำหนดกิจกรรมและการปฏิบัติงานตามโครงการ มาตรการ
การควบคุมที่เหมาะสม การปฏิรูปนโยบายเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช (Appropriate Regulatory
Measures and Policy Reform For Pesticide Risk Reduction) ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมที่คณะกรรมการบริหารโครงการได้กำหนดขึ้น
คือ การจัดทำยกร่างนโยบายและแผนแม่บทการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อใช้เป็นกรอบในการ
ปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการควบคุม
วัตุถอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ในระหว่างการจัดทำ กรมวิชาการเกษตร และ
องค์การเพื่อความร่วมมือทางวิชาการแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน [(Deutsche Gesellschaft fur Technische
Zusammenarbeit : GTZ) Gmbh
] ได้จัดประชุมระดมสมองนักวิชาการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อ
ยกร่างนโยบายและแผนแม่บทฯ รวม 3 ครั้ง และเมื่อกรมวิชาการเกษตรดำเนินการแก้ไขร่างนโยบายและแผนแม่บทฯ
เสร็จแล้วจึงได้จัดทำเป็นรูปเล่มฉบับเต็ม และส่งให้ GTZ นำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นกรมวิชาการเกษตรได้จัดทำ
ร่างนโยบายและแผนแม่บทฯ ฉบับสรุป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของนโยบายสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
กลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์
1. ผู้ผลิต | ผู้จำหน่าย - เพื่อให้มีการนำพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องไปใช้
ในการดำเนินงานด้านสารป้องกันศัตรูพืชให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. เกษตรกรผู้ใช้สารเคมี - เพื่อให้มีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
- เพื่อส่งเสริมการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีการธรรมชาติ และลดการใช้สารเคมีป้องกัน
กำจัดศัตรูพืช
3. ประชาชนทั่วไป - เพื่อเผยแพร่ข้อมูล และให้ความรู้เกี่ยวกับสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชต่อประชาชนทุกเพศทุกวัย และระดับการศึกษาต่าง ๆ
4. ระบบบริหารของรัฐ - เพื่อประสานการบริหารจัดการสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งใน
โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อพัฒนาบุคลากรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในด้านต่าง ๆ ทั้งด้าน
ปริมาณและคุณภาพ
5. สิ่งแวดล้อม - เพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้สารฯ ต่อสภาพแวดล้อม
2. ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
2.1 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการนำพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และ
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการดำเนินงานด้านสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2.2 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านให้มีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
2.3 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการส่งเสริมการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีการธรรมชาติ
และลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
2.4 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการเผยแพร่ข้อมูล และให้ความรู้เกี่ยวกับสารป้องกันและ
กำจัดศัตรูพืชให้ประชาชนทุกเพศทุกวัย และระดับการศึกษาต่าง ๆ
2.5 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการประสานงานการจัดการกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้
เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2.6 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาบุคลากรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัด
ศัตรูพืชในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
2.7 ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการลดความเสี่ยงจากการใช้สารฯ ต่อสภาพแวดล้อม
3. แผนปฏิบัติงานได้แบ่งมาตรการดำเนินงานเป็น 2 ประเภท คือ แผนงานหลัก ประกอบด้วย 20
โครงการ และแผนงานเสริม 18 โครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 มี.ค. 45--จบ--
-สส-