คณะรัฐมนตรีรับทราบการปรับปรุงการบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. เนื่องจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในขณะนี้ได้พัฒนาไปอีกระดับหนึ่งแล้ว การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงควรเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยให้ราษฎรในพื้นที่มีส่วนร่วม ประการสำคัญคือให้นำมาตรการและกำลังเจ้าหน้าที่ตามปกติมาใช้แก้ไขปัญหา ทั้งนี้ เพราะสภาพปัญหาหลักในพื้นที่เป็นเรื่องของกลุ่มโจรมิจฉาชีพ กลุ่มผลประโยชน์ ตลอดจนกลุ่มธุรกิจผิดกฎหมายเป็นส่วนใหญ่มากกว่าการก่อการร้ายเพื่อหวังผลทางการเมืองดังในอดีต
2. ดังนั้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนหรือลักลั่นในการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ จึงควรยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 56/2539 ลงวันที่ 23 เมษายน 2539 และคำสั่งเกี่ยวเนื่องอันจะมีผลให้การปฏิบัติภารกิจของคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภารใต้ (ปชต.)สำนักงานคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สชต.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองบัญชาการผสมพลเรือนตำรวจทหาร ที่ 43 (พตท. 43) สิ้นสุดลง โดยโอนอำนาจหน้าที่ งบประมาณ บุคลากร และทรัพย์สินต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดเดิมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ให้ทุกหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามปกติ ไม่ว่าฝ่ายทหาร ตำรวจ หรือพลเรือน ประสานความร่วมมือและการปฏิบัติเพื่อดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย แก้ไขปัญหาอาชญากรรมและปัญหาอื่น ๆ ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ให้แต่ละหน่วยงานเร่งออกระเบียบ คำสั่งหรือคำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของตน เพื่อให้การประสานความร่วมมือและการปฏิบัติต่อไปเป็นไปโดยเรียบร้อยมิให้เกิดความขัดแย้ง ลักลั่น ซ้ำซ้อน หรือเกิดช่องว่างขึ้น
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 123/2545 เรื่อง การปรับปรุงการบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 โดยคำสั่งดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2545 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีพลัง ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ โดยให้จังหวัดนราธิวาสยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา เป็นจังหวัดในระบบบูรณาการ (CEO) ตามโครงการของกระทรวงมหาดไทย แต่ในชั้นต้นอาจมีความแตกต่างจากจังหวัดอื่นที่อยู่ในระบบนี้บ้าง โดยให้มีรองปลัดกระทรวงมหาดไทยผู้หนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแล และประสานงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การรายงานผลการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากต้องรายงานต่อกระทรวงมหาดไทยตามปกติแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีด้วย
ทั้งนี้ ได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยกำหนดรายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 เม.ย 45--จบ--
-สส-
1. เนื่องจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในขณะนี้ได้พัฒนาไปอีกระดับหนึ่งแล้ว การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงควรเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยให้ราษฎรในพื้นที่มีส่วนร่วม ประการสำคัญคือให้นำมาตรการและกำลังเจ้าหน้าที่ตามปกติมาใช้แก้ไขปัญหา ทั้งนี้ เพราะสภาพปัญหาหลักในพื้นที่เป็นเรื่องของกลุ่มโจรมิจฉาชีพ กลุ่มผลประโยชน์ ตลอดจนกลุ่มธุรกิจผิดกฎหมายเป็นส่วนใหญ่มากกว่าการก่อการร้ายเพื่อหวังผลทางการเมืองดังในอดีต
2. ดังนั้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนหรือลักลั่นในการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ จึงควรยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 56/2539 ลงวันที่ 23 เมษายน 2539 และคำสั่งเกี่ยวเนื่องอันจะมีผลให้การปฏิบัติภารกิจของคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภารใต้ (ปชต.)สำนักงานคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สชต.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองบัญชาการผสมพลเรือนตำรวจทหาร ที่ 43 (พตท. 43) สิ้นสุดลง โดยโอนอำนาจหน้าที่ งบประมาณ บุคลากร และทรัพย์สินต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดเดิมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ให้ทุกหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามปกติ ไม่ว่าฝ่ายทหาร ตำรวจ หรือพลเรือน ประสานความร่วมมือและการปฏิบัติเพื่อดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย แก้ไขปัญหาอาชญากรรมและปัญหาอื่น ๆ ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ให้แต่ละหน่วยงานเร่งออกระเบียบ คำสั่งหรือคำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของตน เพื่อให้การประสานความร่วมมือและการปฏิบัติต่อไปเป็นไปโดยเรียบร้อยมิให้เกิดความขัดแย้ง ลักลั่น ซ้ำซ้อน หรือเกิดช่องว่างขึ้น
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 123/2545 เรื่อง การปรับปรุงการบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 โดยคำสั่งดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2545 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีพลัง ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ โดยให้จังหวัดนราธิวาสยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา เป็นจังหวัดในระบบบูรณาการ (CEO) ตามโครงการของกระทรวงมหาดไทย แต่ในชั้นต้นอาจมีความแตกต่างจากจังหวัดอื่นที่อยู่ในระบบนี้บ้าง โดยให้มีรองปลัดกระทรวงมหาดไทยผู้หนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแล และประสานงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การรายงานผลการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากต้องรายงานต่อกระทรวงมหาดไทยตามปกติแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีด้วย
ทั้งนี้ ได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยกำหนดรายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 เม.ย 45--จบ--
-สส-