คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานปัญหาการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากการจราจรในช่วงเทศกาล ระหว่างปี พ.ศ. 2544 - 2545 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุ พบว่าได้มีการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจร ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทรวงสาธารณสุขได้ศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางแก้ไข สรุปได้ดังนี้
การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตกว่า 1 หมื่นคน (จากระบบรายงานปกติซึ่งยังไม่ครอบคลุมในปี พ.ศ. 2542 มีจำนวน 14,401 ราย คาดว่าการเสียชีวิตจริงจะอยู่ในราว 20,000 คน) และบาดเจ็บอีกกว่า 1 ล้านราย (ในปี พ.ศ. 2542 เท่ากับ 937,946 ราย) TDRI ได้ประเมินความสูญเสียเป็นราคาถึงปีละ 6 หมื่น - 9 หมื่นล้านบาท (ในปี พ.ศ. 2536 อัตราแลกเปลี่ยนเดิม) แม้ว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมีผลทำให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุลดลงบ้างก็ตาม ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมาได้มีแนวโน้มว่าการบาดเจ็บและเสียชีวิตกำลังสูงขึ้นอีก ซึ่งเห็นชัดจากช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ มีเหตุการบาดเจ็บและการเสียชีวิตมากกว่าในภาวะปกติถึงประมาณ 2.5 เท่า ในปี พ.ศ. 2545 ระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร(ณ จุดที่เกิดเหตุและภายใน 24 ชั่วโมงแรก) จำนวน 543 ราย (ยังไม่รวมการเสียชีวิตหลังจากที่รับไว้รักษาซึ่งคาดว่าจะมีอีกประมาณ 1 เท่าตัว) โดยเทศกาลสงกรานต์ในแต่ละปีมีความรุนแรงมากกว่าเทศกาลปีใหม่เล็กน้อย ส่วนเทศกาลอื่นแม้จะมีการหยุดยาว ก็ไม่มีผลในด้านการเพิ่มอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิต (เช่นเทศกาลเข้าพรรษา)
แนวทางในการแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากจักรยานยนต์
แผนระดับชาติ ควรมีการกำหนดแผนในระดับชาติในการใช้จักรยานยนต์เป็นยานพาหนะทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเป็นการจำเพาะ ตลอดจนการหายานพาหนะที่ปลอดภัยกว่าแทนที่รวมทั้งระบบขนส่งมวลชน
สิทธิของผู้บริโภค
- ผู้บริโภคควรได้รับทราบความเสี่ยงของยานพาหนะที่เป็นอันตราย
- ผู้บริโภคควรได้รับทราบการลดความเสี่ยงโดยการใช้มาตรการป้องกันต่าง ๆ
- ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ควรเสี่ยงที่จะได้รับการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการกระทำของผู้ขับขี่ที่ขาดคุณสมบัติและอยู่นอกกฎหมาย
- ควรเข้มงวดกวดขันการประกันตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเพื่อใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้บาดเจ็บตั้งแต่จุดที่เกิดเหตุจนกระทั่งสิ้นสุดการรักษา
ใบอนุญาตขับขี่ การบาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกิดขึ้นมีอัตราการมีใบขับขี่เพียงร้อยละ 50 และพบว่าใบขับขี่จักรยานยนต์ในประเทศไทยมีประมาณ 6 ล้านใบ ในขณะที่จำนวนจักรยานยนต์มีประมาณ 15 ล้านคัน และยังพบว่ามีผู้ได้ใบขับขี่มาโดยไม่ผ่านขั้นตอนตามปกติอีกจำนวนมาก และพบว่าผู้บาดเจ็บกลุ่มที่สูงที่สุดคืออายุ 15 - 19 ปี ดังนั้น ควร
- เพิ่มอายุของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ให้สูงขึ้น เช่น 20 - 25 ปี
- ปรับปรุงกระบวนการออกใบขับขี่ให้เน้นที่ความสามารถและความรับผิดชอบของผู้ขับขี่
- มีการตรวจใบขับขี่อย่างเข้มงวดเพื่อให้ผู้ที่ขับขี่ทุกรายมีใบขับขี่ที่ถูกต้อง
- มาตรการใบขับขี่ควรเป็นมาตรการขั้นพื้นฐานที่ควรทำก่อน
ด้านการควบคุมทางกฎหมาย ควรเข้มงวดกวดขันในช่วงเวลาที่เป็นปัญหา
การอบรมด้านการขับขี่ปลอดภัย
- ควรมีการอบรมให้กับผู้มีใบขับขี่เป็นระยะ เช่นในระยะ 5 ปี ควรผ่านการอบรม 1 ครั้ง
- ควรให้ผู้ประกอบการเป็นผู้มีส่วนในการจัดกิจกรรมด้านความปลอดภัย
- มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีของผู้ขับขี่
- การรณรงค์เพื่อไม่ให้นำจักรยานยนต์เล่นน้ำสงกรานต์
ด้านจักรยานยนต์และผู้ผลิต
- ควรเน้นการพัฒนายานพาหนะที่ปลอดภัยและพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บให้เหมาะสมกับสภาพของอากาศในเขตร้อน
- การบังคับใช้แสงโคมไฟในการขับขี่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้อื่นเห็นได้ชัดเจนขึ้น
- ส่งเสริมให้มีการโฆษณาแข่งขันในด้านความปลอดภัยมากกว่าความเร็ว ห้ามการแข่งขันและโฆษณาในด้านความเร็ว
- ควรควบคุมความเร็วในด้านวิศวกรรมและกฎหมาย
ด้านสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาเส้นทางจำเพาะสำหรับจักรยานยนต์
- เข้มงวดกวดขันการห้ามวิ่งในเส้นทางจำเพาะบางสาย
ด้านสุราและสิ่งมึนเมา แม้ว่าจะพบว่าผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมีอัตราการดื่มสุรามาก่อนมากก็ตาม การควบคุมในด้านนี้ในประเทศที่พัฒนาแล้วที่สามารถลดการขับขี่ในขณะมึนเมาในรถยนต์ชนิดอื่นได้ยังมีปัญหาในการลดการขับขี่ในขณะมึนเมาของกลุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์ลงได้ (อัตราประมาณร้อยละ 25 ต่อ 30 ในสหรัฐอเมริกา) การแก้ปัญหานี้ควรเป็นลำดับความสำคัญหลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 เม.ย 45--จบ--
-สส-
การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตกว่า 1 หมื่นคน (จากระบบรายงานปกติซึ่งยังไม่ครอบคลุมในปี พ.ศ. 2542 มีจำนวน 14,401 ราย คาดว่าการเสียชีวิตจริงจะอยู่ในราว 20,000 คน) และบาดเจ็บอีกกว่า 1 ล้านราย (ในปี พ.ศ. 2542 เท่ากับ 937,946 ราย) TDRI ได้ประเมินความสูญเสียเป็นราคาถึงปีละ 6 หมื่น - 9 หมื่นล้านบาท (ในปี พ.ศ. 2536 อัตราแลกเปลี่ยนเดิม) แม้ว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมีผลทำให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุลดลงบ้างก็ตาม ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมาได้มีแนวโน้มว่าการบาดเจ็บและเสียชีวิตกำลังสูงขึ้นอีก ซึ่งเห็นชัดจากช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ มีเหตุการบาดเจ็บและการเสียชีวิตมากกว่าในภาวะปกติถึงประมาณ 2.5 เท่า ในปี พ.ศ. 2545 ระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร(ณ จุดที่เกิดเหตุและภายใน 24 ชั่วโมงแรก) จำนวน 543 ราย (ยังไม่รวมการเสียชีวิตหลังจากที่รับไว้รักษาซึ่งคาดว่าจะมีอีกประมาณ 1 เท่าตัว) โดยเทศกาลสงกรานต์ในแต่ละปีมีความรุนแรงมากกว่าเทศกาลปีใหม่เล็กน้อย ส่วนเทศกาลอื่นแม้จะมีการหยุดยาว ก็ไม่มีผลในด้านการเพิ่มอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิต (เช่นเทศกาลเข้าพรรษา)
แนวทางในการแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากจักรยานยนต์
แผนระดับชาติ ควรมีการกำหนดแผนในระดับชาติในการใช้จักรยานยนต์เป็นยานพาหนะทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเป็นการจำเพาะ ตลอดจนการหายานพาหนะที่ปลอดภัยกว่าแทนที่รวมทั้งระบบขนส่งมวลชน
สิทธิของผู้บริโภค
- ผู้บริโภคควรได้รับทราบความเสี่ยงของยานพาหนะที่เป็นอันตราย
- ผู้บริโภคควรได้รับทราบการลดความเสี่ยงโดยการใช้มาตรการป้องกันต่าง ๆ
- ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ควรเสี่ยงที่จะได้รับการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการกระทำของผู้ขับขี่ที่ขาดคุณสมบัติและอยู่นอกกฎหมาย
- ควรเข้มงวดกวดขันการประกันตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเพื่อใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้บาดเจ็บตั้งแต่จุดที่เกิดเหตุจนกระทั่งสิ้นสุดการรักษา
ใบอนุญาตขับขี่ การบาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกิดขึ้นมีอัตราการมีใบขับขี่เพียงร้อยละ 50 และพบว่าใบขับขี่จักรยานยนต์ในประเทศไทยมีประมาณ 6 ล้านใบ ในขณะที่จำนวนจักรยานยนต์มีประมาณ 15 ล้านคัน และยังพบว่ามีผู้ได้ใบขับขี่มาโดยไม่ผ่านขั้นตอนตามปกติอีกจำนวนมาก และพบว่าผู้บาดเจ็บกลุ่มที่สูงที่สุดคืออายุ 15 - 19 ปี ดังนั้น ควร
- เพิ่มอายุของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ให้สูงขึ้น เช่น 20 - 25 ปี
- ปรับปรุงกระบวนการออกใบขับขี่ให้เน้นที่ความสามารถและความรับผิดชอบของผู้ขับขี่
- มีการตรวจใบขับขี่อย่างเข้มงวดเพื่อให้ผู้ที่ขับขี่ทุกรายมีใบขับขี่ที่ถูกต้อง
- มาตรการใบขับขี่ควรเป็นมาตรการขั้นพื้นฐานที่ควรทำก่อน
ด้านการควบคุมทางกฎหมาย ควรเข้มงวดกวดขันในช่วงเวลาที่เป็นปัญหา
การอบรมด้านการขับขี่ปลอดภัย
- ควรมีการอบรมให้กับผู้มีใบขับขี่เป็นระยะ เช่นในระยะ 5 ปี ควรผ่านการอบรม 1 ครั้ง
- ควรให้ผู้ประกอบการเป็นผู้มีส่วนในการจัดกิจกรรมด้านความปลอดภัย
- มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีของผู้ขับขี่
- การรณรงค์เพื่อไม่ให้นำจักรยานยนต์เล่นน้ำสงกรานต์
ด้านจักรยานยนต์และผู้ผลิต
- ควรเน้นการพัฒนายานพาหนะที่ปลอดภัยและพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บให้เหมาะสมกับสภาพของอากาศในเขตร้อน
- การบังคับใช้แสงโคมไฟในการขับขี่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้อื่นเห็นได้ชัดเจนขึ้น
- ส่งเสริมให้มีการโฆษณาแข่งขันในด้านความปลอดภัยมากกว่าความเร็ว ห้ามการแข่งขันและโฆษณาในด้านความเร็ว
- ควรควบคุมความเร็วในด้านวิศวกรรมและกฎหมาย
ด้านสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาเส้นทางจำเพาะสำหรับจักรยานยนต์
- เข้มงวดกวดขันการห้ามวิ่งในเส้นทางจำเพาะบางสาย
ด้านสุราและสิ่งมึนเมา แม้ว่าจะพบว่าผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมีอัตราการดื่มสุรามาก่อนมากก็ตาม การควบคุมในด้านนี้ในประเทศที่พัฒนาแล้วที่สามารถลดการขับขี่ในขณะมึนเมาในรถยนต์ชนิดอื่นได้ยังมีปัญหาในการลดการขับขี่ในขณะมึนเมาของกลุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์ลงได้ (อัตราประมาณร้อยละ 25 ต่อ 30 ในสหรัฐอเมริกา) การแก้ปัญหานี้ควรเป็นลำดับความสำคัญหลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 เม.ย 45--จบ--
-สส-