คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการแก้ไขปัญหายาปฏิชีวนะตกค้างในสินค้ากุ้งและไก่ส่งออกของไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) เป็นประธานกรรมการฯ โดยให้ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) หารือว่าควรใช้ทรัพยากรที่มีในกระทรวงต่าง ๆ ร่วมกันอย่างไร
สำหรับมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบเรื่องโครงการแก้ไขปัญหายาปฏิชีวนะตกค้างในสินค้ากุ้งและไก่ส่งออกของไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ 2 โครงการ คือ
1.1 โครงการตรวจสอบติดตามป้องกันยาปฏิชีวนะตกค้างในผลผลิตกุ้งของกรมประมง งบประมาณดำเนินการในปีแรก จำนวน 174.5 ล้านบาท มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อสร้างความเข้าใจในการควบคุมป้องกันยาปฏิชีวนะตกค้างในผลผลิตกุ้งที่ถูกต้องให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ผู้ผลิตอาหารกุ้ง โรงงานแปรรูป และผู้ส่งออก
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานควบคุม และตรวจสอบคุณภาพผลผลิตกุ้งของกรมประมงให้ครบอคลุมถึงสารตกค้างจากยาปฏิชีวนะในเนื้อกุ้งด้วย
- เพื่อสร้างความมั่นใจในระบบควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้ากุ้งทะเลของไทย ให้แก่ประเทศผู้นำเข้าสินค้ากุ้งจากไทย
2) เป้าหมายของโครงการ
- เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งของไทยสามารถผลิตผลผลิตกุ้งทะเลอย่างเป็นระบบ มีการจัดการฟาร์มที่ดี (Good Management Practise) และปฏิบัติตามกฎการเลี้ยงที่ถูกต้อง (Code of Conduct) ทั้งหมดได้ภายในระยะเวลา 5 ปี
- สามารถควบคุมสารตกค้างจากยาปฏิชีวนะในเนื้อกุ้งที่ห้ามใช้ได้ทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 ปี
3) วิธีดำเนินการ
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อต่าง ๆ การสัมมนา การฝึกอบรม การให้ความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมสารตกค้างจากยาปฏิชีวนะให้แก่เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ห้องเย็น ผู้ส่งออก สมาคมผู้ผลิต เป็นต้น
- กำหนดหน่วยควบคุมคุณภาพพ่อแม่พันธุ์กุ้งและลูกกุ้งเพื่อให้เกษตรกรได้รับพันธุ์กุ้งที่ปลอดโรคและแข็งแรง
- เสริมสร้างประสิทธิภาพการควบคุม และตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์น้ำ เพื่อควบคุมสูตรอาหาร สิ่งเจือปนในอาหารกุ้ง การเก็บรวบรวมตัวอย่างอาหารสัตว์น้ำมาวิเคราะห์
- พัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการตรวจสอบและปรับปรุงระบบการตรวจสอบรับรองคุณภาพผลผลิตกุ้ง และผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก
- ติดตามและประเมินผลในการดำเนินงานทุกกิจกรรม
ทั้งนี้ ระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการ 5 ปี งบประมาณรวมทั้งโครงการ จำนวน 574.5ล้านบาท โดยมีงบประมาณในปีแรกจำนวน 174.5 ล้านบาท ซึ่งมีค่าครุภัณฑ์รวมอยู่ และปีต่อ ๆ ไปเป็นค่าดำเนินงานปีละ100 ล้านบาท
1.2 โครงการแก้ไขปัญหายาปฏิชีวนะกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ตกค้างในไก่ไทยของกรมปศุสัตว์ งบประมาณดำเนินการในปีแรก จำนวน 200.2 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในปีงบประมาณ 2545 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เนื้อไก่ไทยปลอดจากการตกค้างของยาปฏิชีวนะกลุ่มไนโตรฟูแรนส์
- จัดทำมาตรการเพื่อป้องกันปัญหาสารตกค้างอื่นที่เป็นสารต้องห้ามที่มีผลกระทบต่อการส่งออก และความปลอดภัยในระบบห่วงโซ่อาหาร
2) วิธีการดำเนินการ
- ดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม และแก้ไขปัญหาการตกค้างของยาปฏิชีวนะกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ในเนื้อไก่ไทย รวมทั้งสารตกค้างอื่นที่เป็นสารต้องห้ามและมีผลกระทบต่อการส่งออก และความปลอดภัยในระบบห่วงโซ่อาหาร โดยการดูแลและควบคุมทั้งระบบตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อาหารสัตว์ การนำเข้า การจำหน่ายและการใช้ยาหรือเภสัชเคมีภัณฑ์สำหรับสัตว์ จนถึงการตรวจสอบผลิตภัณฑ์
- ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลให้เกษตรกรผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำมาตรการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะ และป้องกันการตกค้างในเนื้อไก่
- ติดตาม และประเมินผล
3) ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเมษายน - กันยายน 2545
2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพาณิชย์ รับประเด็นอภิปราย และข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ตามที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้แจ้งการตรวจพบยาปฏิชีวนะกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ (Nitrofurans) ตกค้างในไก่และกุ้งของไทยที่ด่านประเทศเนเธอร์แลนด์ ในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งสหภาพยุโรปได้แจ้งเตือนและมีมาตรการที่จะตรวจสอบยาปฏิชีวนะตกค้างในไก่และกุ้งจากประเทศไทยทุกชุดสินค้าที่ส่งออก (all consignments) และหากยังคงตรวจพบยาปฏิชีวนะตกค้างอีก สหภาพยุโรปจะออกมาตรการห้ามนำเข้าไก่และกุ้งจากประเทศไทยทั้งหมด (Total ban) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของสินค้าดังกล่าว และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเกษตรกรคิดเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2545 ที่เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ ในเรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาสารตกค้างในสินค้ากุ้งและไก่ รวม 8 ข้อ ซึ่งมาตรการดังกล่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงและกรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยงานหลักที่ร่วมดำเนินงานตามมาตรการและมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มอัตรากำลังและอุปกรณ์ให้เพียงพอเพื่อให้ทันกับการประเมินสถานการณ์ของสินค้ากุ้งและไก่จากประเทศไทยในเดือนมิถุนายน 2545 ของสหภาพยุโรป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 พฤษภาคม 45--จบ--
-สส-
สำหรับมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบเรื่องโครงการแก้ไขปัญหายาปฏิชีวนะตกค้างในสินค้ากุ้งและไก่ส่งออกของไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ 2 โครงการ คือ
1.1 โครงการตรวจสอบติดตามป้องกันยาปฏิชีวนะตกค้างในผลผลิตกุ้งของกรมประมง งบประมาณดำเนินการในปีแรก จำนวน 174.5 ล้านบาท มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อสร้างความเข้าใจในการควบคุมป้องกันยาปฏิชีวนะตกค้างในผลผลิตกุ้งที่ถูกต้องให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ผู้ผลิตอาหารกุ้ง โรงงานแปรรูป และผู้ส่งออก
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานควบคุม และตรวจสอบคุณภาพผลผลิตกุ้งของกรมประมงให้ครบอคลุมถึงสารตกค้างจากยาปฏิชีวนะในเนื้อกุ้งด้วย
- เพื่อสร้างความมั่นใจในระบบควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้ากุ้งทะเลของไทย ให้แก่ประเทศผู้นำเข้าสินค้ากุ้งจากไทย
2) เป้าหมายของโครงการ
- เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งของไทยสามารถผลิตผลผลิตกุ้งทะเลอย่างเป็นระบบ มีการจัดการฟาร์มที่ดี (Good Management Practise) และปฏิบัติตามกฎการเลี้ยงที่ถูกต้อง (Code of Conduct) ทั้งหมดได้ภายในระยะเวลา 5 ปี
- สามารถควบคุมสารตกค้างจากยาปฏิชีวนะในเนื้อกุ้งที่ห้ามใช้ได้ทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 ปี
3) วิธีดำเนินการ
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อต่าง ๆ การสัมมนา การฝึกอบรม การให้ความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมสารตกค้างจากยาปฏิชีวนะให้แก่เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ห้องเย็น ผู้ส่งออก สมาคมผู้ผลิต เป็นต้น
- กำหนดหน่วยควบคุมคุณภาพพ่อแม่พันธุ์กุ้งและลูกกุ้งเพื่อให้เกษตรกรได้รับพันธุ์กุ้งที่ปลอดโรคและแข็งแรง
- เสริมสร้างประสิทธิภาพการควบคุม และตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์น้ำ เพื่อควบคุมสูตรอาหาร สิ่งเจือปนในอาหารกุ้ง การเก็บรวบรวมตัวอย่างอาหารสัตว์น้ำมาวิเคราะห์
- พัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการตรวจสอบและปรับปรุงระบบการตรวจสอบรับรองคุณภาพผลผลิตกุ้ง และผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก
- ติดตามและประเมินผลในการดำเนินงานทุกกิจกรรม
ทั้งนี้ ระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการ 5 ปี งบประมาณรวมทั้งโครงการ จำนวน 574.5ล้านบาท โดยมีงบประมาณในปีแรกจำนวน 174.5 ล้านบาท ซึ่งมีค่าครุภัณฑ์รวมอยู่ และปีต่อ ๆ ไปเป็นค่าดำเนินงานปีละ100 ล้านบาท
1.2 โครงการแก้ไขปัญหายาปฏิชีวนะกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ตกค้างในไก่ไทยของกรมปศุสัตว์ งบประมาณดำเนินการในปีแรก จำนวน 200.2 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในปีงบประมาณ 2545 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เนื้อไก่ไทยปลอดจากการตกค้างของยาปฏิชีวนะกลุ่มไนโตรฟูแรนส์
- จัดทำมาตรการเพื่อป้องกันปัญหาสารตกค้างอื่นที่เป็นสารต้องห้ามที่มีผลกระทบต่อการส่งออก และความปลอดภัยในระบบห่วงโซ่อาหาร
2) วิธีการดำเนินการ
- ดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม และแก้ไขปัญหาการตกค้างของยาปฏิชีวนะกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ในเนื้อไก่ไทย รวมทั้งสารตกค้างอื่นที่เป็นสารต้องห้ามและมีผลกระทบต่อการส่งออก และความปลอดภัยในระบบห่วงโซ่อาหาร โดยการดูแลและควบคุมทั้งระบบตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อาหารสัตว์ การนำเข้า การจำหน่ายและการใช้ยาหรือเภสัชเคมีภัณฑ์สำหรับสัตว์ จนถึงการตรวจสอบผลิตภัณฑ์
- ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลให้เกษตรกรผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำมาตรการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะ และป้องกันการตกค้างในเนื้อไก่
- ติดตาม และประเมินผล
3) ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเมษายน - กันยายน 2545
2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพาณิชย์ รับประเด็นอภิปราย และข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ตามที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้แจ้งการตรวจพบยาปฏิชีวนะกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ (Nitrofurans) ตกค้างในไก่และกุ้งของไทยที่ด่านประเทศเนเธอร์แลนด์ ในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งสหภาพยุโรปได้แจ้งเตือนและมีมาตรการที่จะตรวจสอบยาปฏิชีวนะตกค้างในไก่และกุ้งจากประเทศไทยทุกชุดสินค้าที่ส่งออก (all consignments) และหากยังคงตรวจพบยาปฏิชีวนะตกค้างอีก สหภาพยุโรปจะออกมาตรการห้ามนำเข้าไก่และกุ้งจากประเทศไทยทั้งหมด (Total ban) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของสินค้าดังกล่าว และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเกษตรกรคิดเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2545 ที่เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ ในเรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาสารตกค้างในสินค้ากุ้งและไก่ รวม 8 ข้อ ซึ่งมาตรการดังกล่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงและกรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยงานหลักที่ร่วมดำเนินงานตามมาตรการและมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มอัตรากำลังและอุปกรณ์ให้เพียงพอเพื่อให้ทันกับการประเมินสถานการณ์ของสินค้ากุ้งและไก่จากประเทศไทยในเดือนมิถุนายน 2545 ของสหภาพยุโรป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 พฤษภาคม 45--จบ--
-สส-