คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพเศรษฐกิจเบลโก - ลักเซมเบิร์ก ตามข้อเสนอของกระทรวงการต่างประเทศ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพเศรษฐกิจเบลโก - ลักเซมเบิร์ก โดยอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับปรุงถ้อยคำในร่างความตกลงฯ ซึ่งไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของร่างความตกลงดังกล่าว ก่อนการลงนาม
2. อนุมัติให้มีการลงนามความตกลงฯ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
3. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการทางการทูตเพื่อให้ความตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ตามที่ไทยและสหภาพเศรษฐกิจเบลโก - ลักเซมเบิร์กได้เคยลงนามความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529 แต่ความตกลงดังกล่าวยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังไม่มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารระหว่างกัน ทั้งนี้ เพราะไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทการลงทุนระหว่างรัฐและคนชาติของรัฐอื่น ซึ่งเปิดให้ลงนาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1965 นั้น
ต่อมา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2544 ฝ่ายเบลโก - ลักเซมเบิร์กได้เสนอขอให้มีการเจรจาแก้ไขความตกลงฉบับดังกล่าว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่า การขอแก้ไขความตกลงดังกล่าวเป็นการแก้ไขในสารัตถะที่สำคัญหลายประการ จึงสมควรให้มีการเจรจาความตกลงฯ ใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งฝ่ายเบลโก - ลักเซมเบิร์กเห็นชอบด้วย ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศจึงจัดให้มีการเจรจาความตกลงฯ กับฝ่ายเบลโก - ลักเซมเบิร์ก ในระหว่างวันที่ 22 - 24 มกราคม 2544 ที่กรุงเทพมหานคร และได้มีการลงนามย่อร่างความตกลงฯ ระหว่างกันเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544และต่อมาฝ่ายเบลโก - ลักเซมเบิร์กเสนอขอให้มีการลงนามความตกลงฯ อย่างเป็นทางการ ในช่วงการเยือนเบลเยียมและสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 - 14 มิถุนายน 28545 การลงนามความตกลงฯ ในช่วงการเยือนดังกล่าว นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของการเยือนแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนทั้งสองฝ่ายที่จะไปลงทุนในดินแดนของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์และผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยนาย Guy Verhofstadt นายกรัฐมนตรีเบลเยี่ยม จะเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ในนามสหภาพเศรษฐกิจเบลโก - ลักเซมเบิร์ก และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามในนามของไทย
อนึ่ง สาระสำคัญของความตกลงฯ สรุปได้ ดังนี้
1. ภาคีคู่สัญญา โดยคำนึงถึงแผนและนโยบายของตน ตกลงที่จะสนับสนุนและสร้างสภาวะที่เอื้ออำนวยสำหรับผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
2. ภาคีคู่สัญญาตกลงที่จะให้การประติบัติที่เป็นธรรมและการคุ้มครองอย่างเต็มที่แก่การลงทุน และผลตอบแทนของการลงทุนของอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่ด้อยไปกว่าที่ให้แก่การลงทุนและผลตอบแทนการลงทุนของตนเองหรือของชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง
3. การลงทุนโดยผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากความตกลงนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานผู้มีอำนาจ และเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
4. ในกรณีที่มีการยึดหรือโอนการลงทุนของผู้ลงทุนอีกฝ่ายหนึ่งเป็นของรัฐหรือดำเนินมาตรการใดที่มีผลเท่าเทียมกัน เว้นแต่จะทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ภาคีคู่สัญญาตกลงที่จะชดใช้ค่าเสียหายอย่างเป็นธรรมและไม่ล่าช้า ด้วยเงินสกุลที่สามารถใช้ได้โดยเสรี
5. การลงทุนของผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งซึ่งประสบความสูญเสียอันเนื่องจากสงครามหรือการขัดกันด้วยอาวุธอื่น ๆ ภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ การก่อกบฏ การต่อต้านรัฐบาล การจลาจล จะได้รับการประติบัติที่ไม่ด้อยไปกว่าที่ภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนของตนหรือของชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง
6. ภาคีคู่สัญญาให้หลักประกันว่า การลงทุน ผลตอบแทนของผู้ลงทุน และรายได้ของคนชาติที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง จะได้รับอนุญาตให้มีการโอนกลับออกไปโดยไม่ล่าช้า หลังจากที่ได้มีการชำระภาษีและค่าใช้จ่ายแล้วด้วยเงินสกุลที่สามารถใช้ได้โดยเสรี ในอัตราแลกเปลี่ยนตลาดของวันที่มีการโอนเงิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มิถุนายน 2545--
-สส-
1. ให้ความเห็นชอบความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพเศรษฐกิจเบลโก - ลักเซมเบิร์ก โดยอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับปรุงถ้อยคำในร่างความตกลงฯ ซึ่งไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของร่างความตกลงดังกล่าว ก่อนการลงนาม
2. อนุมัติให้มีการลงนามความตกลงฯ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
3. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการทางการทูตเพื่อให้ความตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ตามที่ไทยและสหภาพเศรษฐกิจเบลโก - ลักเซมเบิร์กได้เคยลงนามความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529 แต่ความตกลงดังกล่าวยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังไม่มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารระหว่างกัน ทั้งนี้ เพราะไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทการลงทุนระหว่างรัฐและคนชาติของรัฐอื่น ซึ่งเปิดให้ลงนาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1965 นั้น
ต่อมา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2544 ฝ่ายเบลโก - ลักเซมเบิร์กได้เสนอขอให้มีการเจรจาแก้ไขความตกลงฉบับดังกล่าว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่า การขอแก้ไขความตกลงดังกล่าวเป็นการแก้ไขในสารัตถะที่สำคัญหลายประการ จึงสมควรให้มีการเจรจาความตกลงฯ ใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งฝ่ายเบลโก - ลักเซมเบิร์กเห็นชอบด้วย ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศจึงจัดให้มีการเจรจาความตกลงฯ กับฝ่ายเบลโก - ลักเซมเบิร์ก ในระหว่างวันที่ 22 - 24 มกราคม 2544 ที่กรุงเทพมหานคร และได้มีการลงนามย่อร่างความตกลงฯ ระหว่างกันเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544และต่อมาฝ่ายเบลโก - ลักเซมเบิร์กเสนอขอให้มีการลงนามความตกลงฯ อย่างเป็นทางการ ในช่วงการเยือนเบลเยียมและสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 - 14 มิถุนายน 28545 การลงนามความตกลงฯ ในช่วงการเยือนดังกล่าว นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของการเยือนแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนทั้งสองฝ่ายที่จะไปลงทุนในดินแดนของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์และผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยนาย Guy Verhofstadt นายกรัฐมนตรีเบลเยี่ยม จะเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ในนามสหภาพเศรษฐกิจเบลโก - ลักเซมเบิร์ก และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามในนามของไทย
อนึ่ง สาระสำคัญของความตกลงฯ สรุปได้ ดังนี้
1. ภาคีคู่สัญญา โดยคำนึงถึงแผนและนโยบายของตน ตกลงที่จะสนับสนุนและสร้างสภาวะที่เอื้ออำนวยสำหรับผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
2. ภาคีคู่สัญญาตกลงที่จะให้การประติบัติที่เป็นธรรมและการคุ้มครองอย่างเต็มที่แก่การลงทุน และผลตอบแทนของการลงทุนของอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่ด้อยไปกว่าที่ให้แก่การลงทุนและผลตอบแทนการลงทุนของตนเองหรือของชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง
3. การลงทุนโดยผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากความตกลงนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานผู้มีอำนาจ และเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
4. ในกรณีที่มีการยึดหรือโอนการลงทุนของผู้ลงทุนอีกฝ่ายหนึ่งเป็นของรัฐหรือดำเนินมาตรการใดที่มีผลเท่าเทียมกัน เว้นแต่จะทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ภาคีคู่สัญญาตกลงที่จะชดใช้ค่าเสียหายอย่างเป็นธรรมและไม่ล่าช้า ด้วยเงินสกุลที่สามารถใช้ได้โดยเสรี
5. การลงทุนของผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งซึ่งประสบความสูญเสียอันเนื่องจากสงครามหรือการขัดกันด้วยอาวุธอื่น ๆ ภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ การก่อกบฏ การต่อต้านรัฐบาล การจลาจล จะได้รับการประติบัติที่ไม่ด้อยไปกว่าที่ภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนของตนหรือของชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง
6. ภาคีคู่สัญญาให้หลักประกันว่า การลงทุน ผลตอบแทนของผู้ลงทุน และรายได้ของคนชาติที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง จะได้รับอนุญาตให้มีการโอนกลับออกไปโดยไม่ล่าช้า หลังจากที่ได้มีการชำระภาษีและค่าใช้จ่ายแล้วด้วยเงินสกุลที่สามารถใช้ได้โดยเสรี ในอัตราแลกเปลี่ยนตลาดของวันที่มีการโอนเงิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มิถุนายน 2545--
-สส-