คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้สนับสนุนโครงการฝึกอบรมบำบัดฟื้นฟู "เดือนเพ็ญเพื่อพัฒนาเยาวชน" ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายการต่างประเทศ ความร่วมมือระหว่างประเทศ และกิจกรรมพิเศษ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี) เป็นประธานกรรมการฯ โดยให้เป็นโครงการนำร่องสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำ ไปปรับใช้เพื่อเป็นมาตรการ หนึ่งในการบำบัดฟื้นฟูเยาวชนเนื่องจากปัญหายาเสพติดและกลุ่มเสี่ยง และมอบให้สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 สำนักงบประมาณ กระทรวงกลาโหม กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอตามรายงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการฝึกอบรมบำบัดฟื้นฟู "เดือนเพ็ญเพื่อพัฒนาเยาวชน" ซึ่งมีผลการดำเนินโครงการ ดังนี้
1. จากการติดตามผลหลังจากฝึกอบรม 1 - 6 เดือนพบว่า เยาวชนผู้ต้องขังด้วยข้อหายาเสพติด ระหว่างอายุ 14 - 19 ปี ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 412 คน มีพฤติกรรมดีขึ้น จำนวน 195 คน (ร้อยละ 47.3) และมีเยาวชนได้รับการปล่อยตัว จำนวน 346 คน (ร้อยละ 79.1)
2. ได้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูเยาวชนที่มีปัญหายาเสพติดที่เป็นการบูรณาการทั้งหลักวิชาการ ศาสนาจิตวิทยา และความสัมพันธ์ของครอบครัวที่ช่วยปรับสภาพร่างกาย จิตใจให้เยาวชนมีความอดทน เข้มแข็ง พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมภายนอกได้ระดับหนึ่ง
3. มีเครือข่ายความร่วมมือระหวางหน่วยงานในการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดที่เหมาะสม ประหยัด และบังเกิดผลดี มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และองค์กรศาสนาเข้ามารับช่วงในการส่งเสริมเยาวชน โดยจัดหาที่พักพิง ฝึกอาชีพ และสนับสนุนการทำงาน
4. กระทรวงยุติธรรม โดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในภูมิภาค ได้นำรูปแบบการฝึกอบรมโครงการนี้ไปปรับใช้ในการฝึกอบรมเยาวชนในสถานพินิจฯ จำนวน 4,091 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มิถุนายน 45--จบ--
-นห-
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอตามรายงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการฝึกอบรมบำบัดฟื้นฟู "เดือนเพ็ญเพื่อพัฒนาเยาวชน" ซึ่งมีผลการดำเนินโครงการ ดังนี้
1. จากการติดตามผลหลังจากฝึกอบรม 1 - 6 เดือนพบว่า เยาวชนผู้ต้องขังด้วยข้อหายาเสพติด ระหว่างอายุ 14 - 19 ปี ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 412 คน มีพฤติกรรมดีขึ้น จำนวน 195 คน (ร้อยละ 47.3) และมีเยาวชนได้รับการปล่อยตัว จำนวน 346 คน (ร้อยละ 79.1)
2. ได้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูเยาวชนที่มีปัญหายาเสพติดที่เป็นการบูรณาการทั้งหลักวิชาการ ศาสนาจิตวิทยา และความสัมพันธ์ของครอบครัวที่ช่วยปรับสภาพร่างกาย จิตใจให้เยาวชนมีความอดทน เข้มแข็ง พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมภายนอกได้ระดับหนึ่ง
3. มีเครือข่ายความร่วมมือระหวางหน่วยงานในการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดที่เหมาะสม ประหยัด และบังเกิดผลดี มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และองค์กรศาสนาเข้ามารับช่วงในการส่งเสริมเยาวชน โดยจัดหาที่พักพิง ฝึกอาชีพ และสนับสนุนการทำงาน
4. กระทรวงยุติธรรม โดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในภูมิภาค ได้นำรูปแบบการฝึกอบรมโครงการนี้ไปปรับใช้ในการฝึกอบรมเยาวชนในสถานพินิจฯ จำนวน 4,091 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มิถุนายน 45--จบ--
-นห-