คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามที่กระทรวงการคลังเสนอ พร้อมทั้งเห็นชอบร่างพระราชกำหนด 3 ฉบับ ได้แก่
1. ร่างพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ….
2. ร่างพระราชกำหนดโอนสินทรัพย์บางส่วนในบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา พ.ศ. ….
3. ร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ทั้งนี้ ตามที่รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสถาบันการเงิน เพื่อรักษาเสถียรภาพ และความเชื่อมั่น ของประชาชนในระบบสถาบันการเงิน โดยมอบหมายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟ ูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน) เป็นตัวแทนดำเนินการและส่งผ่านมาตรการต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการประกันผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 โดยการเพิ่มทุนเพื่อแก้ไขหนี้ด้อยคุณภาพ และมาตรการอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด นั้น
จากการดำเนินการตามภาระหน้าที่ข้างต้น เป็นผลให้กองทุนประสบปัญหาทางการเงินและสภาพคล่องตลอดมา เมื่อคำนวณความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วแล้วที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็น ดังนี้
ประมาณความเสียหาย
1. ประมาณความเสียหายจำแนกตามประเภทการให้ความช่วยเหลือ
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทความช่วยเหลือ ความเสียหายสุทธิ
1. การให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ และการให้ความช่วยเหลือสภาพ 554,149
คล่อง (56 สถาบันการเงินและสถาบันการเงินอื่น ๆ)
2. ขาดทุนจากการถือหุ้นในสถาบันการเงินที่ทางการแทรกแซง 169,139
3. ขาดทุนจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ 650,750
4. ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและอื่น ๆ 165,975
หัก เงินนำส่งและอื่น ๆ 138,563
รวมความเสียหายทั้งสิ้น 1,401,450
2. ภาระความเสียหายของกองทุนที่เกิดขึ้นแล้วและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งหมด 1,401,450ล้านบาท ในข้อ 1. สามารถจำแนกได้เป็นส่วนที่ได้รับการแก้ไขแล้วจากการออกพันธบัตรรัฐบาลในระหว่างปี 2541 จำนวน 500,000 ล้านบาท ซึ่งออกจำหน่ายได้เป็นเงินรวม 512,824 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ยังมีส่วนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอีกจำนวน 888,626 ล้านบาท ในจำนวนนี้กองทุนได้ออกพันธบัตรจำนวน 112,000 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน และกำหนดจ่ายดอกเบี้ยจากงบประมาณ แผ่นดิน ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 แต่การชำระเงินต้นยังมิได้กำหนดไว้ แนวทางนี้แม้จะช่วยบรรเทาภาระดอกเบี้ยจ่ายและช่วยปรับโครงสร้างเงินทุนได้บ้าง แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเสียหายข้างต้นที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและครบถ้วน
แนวทางแก้ไข
ในการพิจารณาวิธีการแก้ไขปัญหาผลขาดทุนที่เกิดจากการเข้าไปช่วยเหลือระบบสถาบันการเงินของกองทุนนั้น กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเห็นร่วมกันว่าควรมีรูปแบบที่ชัดเจน และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยให้เป็นภาระต่อฐานะการคลังและภาษีของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวน้อยที่สุด ให้มีความโปร่งใสและไม่ก่อปัญหาในการดำเนินนโยบายการเงิน รวมทั้งเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี และในขณะเดียวกันให้มีผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้น้อยที่สุดด้วย
เพื่อให้การแก้ปัญหามีลักษณะครบถ้วนและเบ็ดเสร็จ จึงได้แยกการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน คือ
ก. การแก้ไขปัญหาความเสียหายที่ยังไม่ได้รับการชดเชย
ข. การเตรียมการเพื่อจ่ายชำระคืนพันธบัตร 500,000 ล้านบาท
วิธีการแก้ไข
1. ในการแก้ไขปัญหาความเสียหายของกองทุนนั้น กระทรวงการคลังจะดำเนินการชดเชยตามความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นแก่กองทุน โดยรัฐบาลจะออกพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนโดยการออกพันธบัตรวงเงินไม่เกิน 780,000 ล้านบาท
การออกพันธบัตรนี้ กระทรวงการคลังจะรับภาระการจ่ายดอกเบี้ย โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน แต่สำหรับการจ่ายชำระคืนเงินต้นนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้รับภาระโดยใช้แหล่งเงินจากดอกผลของสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของการดำเนินการตามนี้จะมีการจัดตั้งบัญชีหนึ่งขึ้นในฝ่ายการธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทย เรียกว่าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
2. สำหรับในส่วนของพันธบัตรวงเงิน 500,000 ล้านบาท ที่ออกตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 และกำหนดให้จัดสรรการจ่ายชำระจากรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และจากกำไรสุทธิซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งในแต่ละปีให้แก่รัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 นั้น ในระยะที่ผ่านมารายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีผลขาดทุนจากการดำเนินนโยบายรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทในช่วงปี 2540 ดังนั้น จำต้องดำเนินการเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ในฐานะที่สามารถนำส่งกำไรให้รัฐบาลเพื่อเตรียมชำระคืนพันธบัตรดังกล่าว
ด้วยเหตุนี้ จึงให้มีการออกพระราชกำหนดอีก 2 ฉบับ เพื่อล้างผลขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยและเพื่อให้ใช้สินทรัพย์จากบัญชีสำรองพิเศษหนุนหลังธนบัตรออกใช้ได้ อันจะช่วยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถดำเนินกิจการมีรายได้นำส่งได้มากขึ้น และสามารถดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกพันธบัตร
คาดว่าพันธบัตรใหม่ที่จะออกทั้งหมดจะมีจำนวนประมาณ 780,000 ล้านบาท โดยจะทยอยออกพันธบัตรตามความต้องการใช้เงินของกองทุน และพิจารณาจากภาวะตลาดในขณะนั้นประกอบด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดพันธบัตรน้อยที่สุด
เนื่องจากในช่วงเดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2545 นี้ กองทุนมีภาระที่จะต้องชำระคืนเงินฝากแก่ผู้ฝากเงินของ 56 บริษัทเงินทุนประมาณ 115,000 ล้านบาท และมียอดกู้ยืมคงค้างในตลาดซื้อคืนอยู่ประมาณ 300,000 ล้านบาทกองทุนจึงมีความจำเป็นต้องออกพันธบัตรเป็นจำนวนมากภายในปีนี้ ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบต่อตลาดพันธบัตรโดยรวมรัฐบาลจึงจะออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์อายุ 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี รวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000 ล้านบาท เน้นจำหน่ายให้แก่ผู้ออมเท่านั้น กล่าวคือ ผู้มีสิทธิ์ซื้อจะได้แก่ บุคคลธรรมดา สหกรณ์ และมูลนิธิ
การออกพันธบัตรออมทรัพย์นี้ นอกจากเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาผลขาดทุนที่เกิดจากการดำเนินการช่วยเหลือระบบสถาบันการเงินของกองทุนแล้ว ยังช่วยเพิ่มทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงินที่ธนาคารพาณิชย์สำหรับผู้ออมรายย่อย
ผู้สนใจสามารถซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ดังกล่าวผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศโดยจะเปิดให้จองซื้อเป็นเวลา 45 วัน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ถึง 30 สิงหาคม 2545 และเริ่มชำระเงินตั้งแต่วันที่ 2กันยายน 2545 เป็นต้นไป เป็นเวลา 45 วันจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2545 ทั้งนี้ ผู้จองซื้อสามารถระบุวันที่ต้องการชำระเงินได้ทันและสอดคล้องกับระยะเวลาเงินฝากหรือเงินลงทุนอื่น ๆ ที่ครบกำหนด
สำหรับพันธบัตรส่วนที่เหลืออีกประมาณ 480,000 ล้านบาท นั้น จะทยอยออกตามความต้องการใช้เงินของกองทุนโดยดูภาวะตลาดในขณะนั้นประกอบเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ อาจไม่จำเป็นต้องออกพันธบัตรทั้งจำนวนหรือทุกปีก็ได้ขึ้นอยู่กับความเสียหายของกองทุนที่จะเกิดขึ้นจริง และหากภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวย กองทุนอาจจะกู้ยืมระยะสั้นผ่านตลาดซื้อคืนชั่วคราวไปก่อนได้
การที่รัฐบาลออกพันธบัตรและรับภาระดอกเบี้ยจ่ายนั้น ในด้านผลต่อนโยบายการเงินถือเป็นการที่รัฐบาลเข้ามารับภาระการแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงิน (fiscalization) ซึ่งช่วยสร้างความชัดเจนในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต ส่วนการชำระคืนเงินต้นจากกำไรนำส่งโดยธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ไม่ถือเป็นการพิมพ์ธนบัตรขึ้นมาใช้หนี้ (monetization) เนื่องจากเป็นการส่งกำไรให้รัฐบาลตามการดำเนินการโดยปกติของธนาคารกลางโดยทั่วไป
ตามมาตรการดังกล่าวนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสามารถดูแลให้ปริมาณเงินอยู่ในระดับเหมาะสม ตลอดจนรักษาเป้าหมายเงินเฟ้อให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 มิถุนายน 45--จบ--
-สส-
1. ร่างพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ….
2. ร่างพระราชกำหนดโอนสินทรัพย์บางส่วนในบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา พ.ศ. ….
3. ร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ทั้งนี้ ตามที่รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสถาบันการเงิน เพื่อรักษาเสถียรภาพ และความเชื่อมั่น ของประชาชนในระบบสถาบันการเงิน โดยมอบหมายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟ ูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน) เป็นตัวแทนดำเนินการและส่งผ่านมาตรการต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการประกันผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 โดยการเพิ่มทุนเพื่อแก้ไขหนี้ด้อยคุณภาพ และมาตรการอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด นั้น
จากการดำเนินการตามภาระหน้าที่ข้างต้น เป็นผลให้กองทุนประสบปัญหาทางการเงินและสภาพคล่องตลอดมา เมื่อคำนวณความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วแล้วที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็น ดังนี้
ประมาณความเสียหาย
1. ประมาณความเสียหายจำแนกตามประเภทการให้ความช่วยเหลือ
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทความช่วยเหลือ ความเสียหายสุทธิ
1. การให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ และการให้ความช่วยเหลือสภาพ 554,149
คล่อง (56 สถาบันการเงินและสถาบันการเงินอื่น ๆ)
2. ขาดทุนจากการถือหุ้นในสถาบันการเงินที่ทางการแทรกแซง 169,139
3. ขาดทุนจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ 650,750
4. ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและอื่น ๆ 165,975
หัก เงินนำส่งและอื่น ๆ 138,563
รวมความเสียหายทั้งสิ้น 1,401,450
2. ภาระความเสียหายของกองทุนที่เกิดขึ้นแล้วและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งหมด 1,401,450ล้านบาท ในข้อ 1. สามารถจำแนกได้เป็นส่วนที่ได้รับการแก้ไขแล้วจากการออกพันธบัตรรัฐบาลในระหว่างปี 2541 จำนวน 500,000 ล้านบาท ซึ่งออกจำหน่ายได้เป็นเงินรวม 512,824 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ยังมีส่วนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอีกจำนวน 888,626 ล้านบาท ในจำนวนนี้กองทุนได้ออกพันธบัตรจำนวน 112,000 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน และกำหนดจ่ายดอกเบี้ยจากงบประมาณ แผ่นดิน ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 แต่การชำระเงินต้นยังมิได้กำหนดไว้ แนวทางนี้แม้จะช่วยบรรเทาภาระดอกเบี้ยจ่ายและช่วยปรับโครงสร้างเงินทุนได้บ้าง แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเสียหายข้างต้นที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและครบถ้วน
แนวทางแก้ไข
ในการพิจารณาวิธีการแก้ไขปัญหาผลขาดทุนที่เกิดจากการเข้าไปช่วยเหลือระบบสถาบันการเงินของกองทุนนั้น กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเห็นร่วมกันว่าควรมีรูปแบบที่ชัดเจน และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยให้เป็นภาระต่อฐานะการคลังและภาษีของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวน้อยที่สุด ให้มีความโปร่งใสและไม่ก่อปัญหาในการดำเนินนโยบายการเงิน รวมทั้งเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี และในขณะเดียวกันให้มีผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้น้อยที่สุดด้วย
เพื่อให้การแก้ปัญหามีลักษณะครบถ้วนและเบ็ดเสร็จ จึงได้แยกการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน คือ
ก. การแก้ไขปัญหาความเสียหายที่ยังไม่ได้รับการชดเชย
ข. การเตรียมการเพื่อจ่ายชำระคืนพันธบัตร 500,000 ล้านบาท
วิธีการแก้ไข
1. ในการแก้ไขปัญหาความเสียหายของกองทุนนั้น กระทรวงการคลังจะดำเนินการชดเชยตามความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นแก่กองทุน โดยรัฐบาลจะออกพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนโดยการออกพันธบัตรวงเงินไม่เกิน 780,000 ล้านบาท
การออกพันธบัตรนี้ กระทรวงการคลังจะรับภาระการจ่ายดอกเบี้ย โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน แต่สำหรับการจ่ายชำระคืนเงินต้นนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้รับภาระโดยใช้แหล่งเงินจากดอกผลของสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของการดำเนินการตามนี้จะมีการจัดตั้งบัญชีหนึ่งขึ้นในฝ่ายการธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทย เรียกว่าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
2. สำหรับในส่วนของพันธบัตรวงเงิน 500,000 ล้านบาท ที่ออกตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 และกำหนดให้จัดสรรการจ่ายชำระจากรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และจากกำไรสุทธิซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งในแต่ละปีให้แก่รัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 นั้น ในระยะที่ผ่านมารายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีผลขาดทุนจากการดำเนินนโยบายรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทในช่วงปี 2540 ดังนั้น จำต้องดำเนินการเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ในฐานะที่สามารถนำส่งกำไรให้รัฐบาลเพื่อเตรียมชำระคืนพันธบัตรดังกล่าว
ด้วยเหตุนี้ จึงให้มีการออกพระราชกำหนดอีก 2 ฉบับ เพื่อล้างผลขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยและเพื่อให้ใช้สินทรัพย์จากบัญชีสำรองพิเศษหนุนหลังธนบัตรออกใช้ได้ อันจะช่วยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถดำเนินกิจการมีรายได้นำส่งได้มากขึ้น และสามารถดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกพันธบัตร
คาดว่าพันธบัตรใหม่ที่จะออกทั้งหมดจะมีจำนวนประมาณ 780,000 ล้านบาท โดยจะทยอยออกพันธบัตรตามความต้องการใช้เงินของกองทุน และพิจารณาจากภาวะตลาดในขณะนั้นประกอบด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดพันธบัตรน้อยที่สุด
เนื่องจากในช่วงเดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2545 นี้ กองทุนมีภาระที่จะต้องชำระคืนเงินฝากแก่ผู้ฝากเงินของ 56 บริษัทเงินทุนประมาณ 115,000 ล้านบาท และมียอดกู้ยืมคงค้างในตลาดซื้อคืนอยู่ประมาณ 300,000 ล้านบาทกองทุนจึงมีความจำเป็นต้องออกพันธบัตรเป็นจำนวนมากภายในปีนี้ ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบต่อตลาดพันธบัตรโดยรวมรัฐบาลจึงจะออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์อายุ 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี รวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000 ล้านบาท เน้นจำหน่ายให้แก่ผู้ออมเท่านั้น กล่าวคือ ผู้มีสิทธิ์ซื้อจะได้แก่ บุคคลธรรมดา สหกรณ์ และมูลนิธิ
การออกพันธบัตรออมทรัพย์นี้ นอกจากเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาผลขาดทุนที่เกิดจากการดำเนินการช่วยเหลือระบบสถาบันการเงินของกองทุนแล้ว ยังช่วยเพิ่มทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงินที่ธนาคารพาณิชย์สำหรับผู้ออมรายย่อย
ผู้สนใจสามารถซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ดังกล่าวผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศโดยจะเปิดให้จองซื้อเป็นเวลา 45 วัน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ถึง 30 สิงหาคม 2545 และเริ่มชำระเงินตั้งแต่วันที่ 2กันยายน 2545 เป็นต้นไป เป็นเวลา 45 วันจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2545 ทั้งนี้ ผู้จองซื้อสามารถระบุวันที่ต้องการชำระเงินได้ทันและสอดคล้องกับระยะเวลาเงินฝากหรือเงินลงทุนอื่น ๆ ที่ครบกำหนด
สำหรับพันธบัตรส่วนที่เหลืออีกประมาณ 480,000 ล้านบาท นั้น จะทยอยออกตามความต้องการใช้เงินของกองทุนโดยดูภาวะตลาดในขณะนั้นประกอบเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ อาจไม่จำเป็นต้องออกพันธบัตรทั้งจำนวนหรือทุกปีก็ได้ขึ้นอยู่กับความเสียหายของกองทุนที่จะเกิดขึ้นจริง และหากภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวย กองทุนอาจจะกู้ยืมระยะสั้นผ่านตลาดซื้อคืนชั่วคราวไปก่อนได้
การที่รัฐบาลออกพันธบัตรและรับภาระดอกเบี้ยจ่ายนั้น ในด้านผลต่อนโยบายการเงินถือเป็นการที่รัฐบาลเข้ามารับภาระการแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงิน (fiscalization) ซึ่งช่วยสร้างความชัดเจนในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต ส่วนการชำระคืนเงินต้นจากกำไรนำส่งโดยธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ไม่ถือเป็นการพิมพ์ธนบัตรขึ้นมาใช้หนี้ (monetization) เนื่องจากเป็นการส่งกำไรให้รัฐบาลตามการดำเนินการโดยปกติของธนาคารกลางโดยทั่วไป
ตามมาตรการดังกล่าวนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสามารถดูแลให้ปริมาณเงินอยู่ในระดับเหมาะสม ตลอดจนรักษาเป้าหมายเงินเฟ้อให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 มิถุนายน 45--จบ--
-สส-