สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4 (ภาคตะวันออก) ณ การนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง
วันนี้ เวลา 14.00 น. พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เดินทางไปยังการนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง เพื่อประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4 (ภาคตะวันออก)
โดยได้เยี่ยมชมการนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง เป็นแห่งแรก หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้เดินทางไปยังการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เพื่อประชุมเรื่อง “การส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก” ทั้งนี้ก่อนการประชุมดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้รับข้อเรียกร้องจากสหภาพแรงงานบริษัท ทีพีไอ โดยขอให้รัฐบาลจัดตั้งคณะทำงานพิเศษ ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายรัฐบาล หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายสหภาพฯ และนักวิชาการเพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาและป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการบริษัททีพีไอของบริษัทแอ็ฟเฟ็คทีฟแพลนเนอร์ จำกัด
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมดังกล่าว นายชัชวาล ชมภูแดง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ที่ประชุมรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและการนิคมอุตสาหกรรมเสนอ รายงานสรุปภาพรวมและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นฐานการผลิตและบริการที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคระหว่างเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก เฉพาะอย่างยิ่ง ภาคกลางซึ่งรวมถึงภาคตะวันออก เป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศ ดังจะเห็นได้จากนโยบายการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาได้กำหนดให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นฐานอุตสาหกรรมและประตูเศรษฐกิจด่านหน้าของประเทศ โดยได้มีการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานไว้
ส่งผลให้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากการเยี่ยมชมการนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด และการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งได้สร้างสาธารณูปโภคไว้รองรับ และการจัดระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อลดต้นทุนผู้ประกอบการ และเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อาทิ การแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมตามลักษณะอุตสาหกรรม (cluster) ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วนรายย่อยส่งผลิตภัณฑ์ให้แก่อุตสาหกรรมรายใหญ่ได้โดยตรง เป็นต้น
ดังนั้น แนวนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันจึงได้มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถของพื้นที่ดังกล่าว
โดยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ ดังนี้ 1) พัฒนาให้เป็นพื้นที่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมหลักสมัยใหม่ 2) พัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายผลไม้เพื่อการส่งออกที่เชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro-Tourism) 3) ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลให้กลับสู่ระดับนานาชาติ และ 4) พัฒนาให้เป็นประตูการค้าเชื่อมกับกลุ่มประเทศอินโดจีน โดยเตรียมความพร้อมในการรองรับการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการยกระดับให้เป็นประตูเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ สามารถแบ่งประเด็นการพัฒนาภาคตะวันออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1) พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง) และปราจีนบุรี-นครนายก มีแนวโน้มเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศกับเศรษฐกิจโลกได้โดยตรง แต่ยังประสบปัญหาต่างๆ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเร่งด่วน คือ ปัญหาการจัดการด้านมลพิษในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมหลักๆ ปัญหาการแข่งขันการให้บริการจากประเทศเพื่อนบ้าน และปัญหาข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินและแหล่งน้ำในเขตลุ่มน้ำบางปะกง-ปราจีนบุรี โดยการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจและบทบาทระบบชุมชนของพื้นที่ และการพัฒนาขยายฐานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมให้เข้มแข็งและสมดุลมากขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2) พื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน (สระแก้ว-จันทบุรี-ตราด) ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มาก แต่ประสบปัญหาขาดการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและมีการใช้อย่างสิ้นเปลือง และปัญหาการขาดกฎระเบียบและมาตรการทางการค้ากับกัมพูชาที่เป็นมาตรฐานสากล อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาเร่งด่วนต่างๆ ได้แก่ ปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดเป็นประจำ ปัญหาข้อจำกัดในการเก็บเกี่ยวดูแลรักษาผลิตผลทางการเกษตร และการประสานความร่วมมือกับกัมพูชา สำหรับแนวทางการพัฒนานั้น รัฐบาลจำเป็นต้องพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจการเกษตรสมัยใหม่ การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจชายแดนไทย-กัมพูชา ให้สามารถดึงดูดธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน
ดังนั้น การพัฒนาการส่งออกให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมใช้ประโยชน์จากศักยภาพดังกล่าวของภาคตะวันออกอย่างเต็มที่ ที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องต่างๆ ไปดำเนินการศึกษาหาแนวทางการส่งเสริมการส่งออก และให้เร่งดำเนินการเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ของโลก ได้แก่ กระทรวงคมนาคมดูแลเรื่องระบบการขนส่ง ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาหาแนวทางการสร้างถนนเชื่อมโยงทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรองรับทางหลวงหมายเลข 9 ของประเทศลาว ที่เชื่อมสู่สุวรรณภูมิสู่ดานัง อันจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมทั้งการพัฒนาการขนส่งทางรถไฟในระบบรางคู่ เพื่อให้การบรรทุกสินค้ารวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยลดความแออัดในท่าเรือคลองเตยนอกจากนี้ ที่ประชุมให้มีการทบทวนระบบภาษี เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการส่งออกด้วย
ทั้งนี้ ที่ประชุมตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาการส่งออก จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการกำจัดขยะให้ถูกต้อง ไม่เป็นภัยต่อสภาวะแวดล้อม ตลอดจนเร่งให้มีการกำหนดผังเมืองให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการควบคุมสภาพแวดล้อม
นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้มีการศึกษาการพัฒนาการส่งออก โดยกำหนดยุทธศาสตร์และแผน เพื่อเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21-23 มิถุนายน 45--จบ--
-สส-
วันนี้ เวลา 14.00 น. พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เดินทางไปยังการนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง เพื่อประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4 (ภาคตะวันออก)
โดยได้เยี่ยมชมการนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง เป็นแห่งแรก หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้เดินทางไปยังการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เพื่อประชุมเรื่อง “การส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก” ทั้งนี้ก่อนการประชุมดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้รับข้อเรียกร้องจากสหภาพแรงงานบริษัท ทีพีไอ โดยขอให้รัฐบาลจัดตั้งคณะทำงานพิเศษ ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายรัฐบาล หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายสหภาพฯ และนักวิชาการเพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาและป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการบริษัททีพีไอของบริษัทแอ็ฟเฟ็คทีฟแพลนเนอร์ จำกัด
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมดังกล่าว นายชัชวาล ชมภูแดง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ที่ประชุมรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและการนิคมอุตสาหกรรมเสนอ รายงานสรุปภาพรวมและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นฐานการผลิตและบริการที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคระหว่างเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก เฉพาะอย่างยิ่ง ภาคกลางซึ่งรวมถึงภาคตะวันออก เป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศ ดังจะเห็นได้จากนโยบายการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาได้กำหนดให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นฐานอุตสาหกรรมและประตูเศรษฐกิจด่านหน้าของประเทศ โดยได้มีการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานไว้
ส่งผลให้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากการเยี่ยมชมการนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด และการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งได้สร้างสาธารณูปโภคไว้รองรับ และการจัดระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อลดต้นทุนผู้ประกอบการ และเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อาทิ การแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมตามลักษณะอุตสาหกรรม (cluster) ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วนรายย่อยส่งผลิตภัณฑ์ให้แก่อุตสาหกรรมรายใหญ่ได้โดยตรง เป็นต้น
ดังนั้น แนวนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันจึงได้มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถของพื้นที่ดังกล่าว
โดยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ ดังนี้ 1) พัฒนาให้เป็นพื้นที่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมหลักสมัยใหม่ 2) พัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายผลไม้เพื่อการส่งออกที่เชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro-Tourism) 3) ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลให้กลับสู่ระดับนานาชาติ และ 4) พัฒนาให้เป็นประตูการค้าเชื่อมกับกลุ่มประเทศอินโดจีน โดยเตรียมความพร้อมในการรองรับการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการยกระดับให้เป็นประตูเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ สามารถแบ่งประเด็นการพัฒนาภาคตะวันออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1) พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง) และปราจีนบุรี-นครนายก มีแนวโน้มเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศกับเศรษฐกิจโลกได้โดยตรง แต่ยังประสบปัญหาต่างๆ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเร่งด่วน คือ ปัญหาการจัดการด้านมลพิษในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมหลักๆ ปัญหาการแข่งขันการให้บริการจากประเทศเพื่อนบ้าน และปัญหาข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินและแหล่งน้ำในเขตลุ่มน้ำบางปะกง-ปราจีนบุรี โดยการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจและบทบาทระบบชุมชนของพื้นที่ และการพัฒนาขยายฐานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมให้เข้มแข็งและสมดุลมากขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2) พื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน (สระแก้ว-จันทบุรี-ตราด) ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มาก แต่ประสบปัญหาขาดการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและมีการใช้อย่างสิ้นเปลือง และปัญหาการขาดกฎระเบียบและมาตรการทางการค้ากับกัมพูชาที่เป็นมาตรฐานสากล อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาเร่งด่วนต่างๆ ได้แก่ ปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดเป็นประจำ ปัญหาข้อจำกัดในการเก็บเกี่ยวดูแลรักษาผลิตผลทางการเกษตร และการประสานความร่วมมือกับกัมพูชา สำหรับแนวทางการพัฒนานั้น รัฐบาลจำเป็นต้องพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจการเกษตรสมัยใหม่ การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจชายแดนไทย-กัมพูชา ให้สามารถดึงดูดธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน
ดังนั้น การพัฒนาการส่งออกให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมใช้ประโยชน์จากศักยภาพดังกล่าวของภาคตะวันออกอย่างเต็มที่ ที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องต่างๆ ไปดำเนินการศึกษาหาแนวทางการส่งเสริมการส่งออก และให้เร่งดำเนินการเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ของโลก ได้แก่ กระทรวงคมนาคมดูแลเรื่องระบบการขนส่ง ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาหาแนวทางการสร้างถนนเชื่อมโยงทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรองรับทางหลวงหมายเลข 9 ของประเทศลาว ที่เชื่อมสู่สุวรรณภูมิสู่ดานัง อันจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมทั้งการพัฒนาการขนส่งทางรถไฟในระบบรางคู่ เพื่อให้การบรรทุกสินค้ารวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยลดความแออัดในท่าเรือคลองเตยนอกจากนี้ ที่ประชุมให้มีการทบทวนระบบภาษี เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการส่งออกด้วย
ทั้งนี้ ที่ประชุมตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาการส่งออก จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการกำจัดขยะให้ถูกต้อง ไม่เป็นภัยต่อสภาวะแวดล้อม ตลอดจนเร่งให้มีการกำหนดผังเมืองให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการควบคุมสภาพแวดล้อม
นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้มีการศึกษาการพัฒนาการส่งออก โดยกำหนดยุทธศาสตร์และแผน เพื่อเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21-23 มิถุนายน 45--จบ--
-สส-