คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดนำผู้ต้องขังคดียาเสพติด ไปรับการฟื้นฟูสมรรถภาพในค่ายทหาร (โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ซึ่งสรุปขั้นตอน และผลการดำเนินการได้ดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 การอบรมเจ้าหน้าที่ทหารประจำโรงเรียน โรงพยาบาลธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ ได้จัดอบรมหลักสูตรเชิงปฏิบัติการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST MODEL) สำหรับเจ้าหน้าที่ทหารให้กับกองทัพบก จำนวน 360 คน ใช้ระยะเวลาอบรม 1 เดือน
1.2 การกำหนดคุณสมบัติในการคัดเลือกผู้ต้องขัง กระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้กรมราชทัณฑ์จัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางคัดเลือกผู้ต้องขังเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพในค่ายทหาร ซึ่งจากการประชุมหารือได้ข้อสรุปคุณสมบัติของผู้ต้องขัง คือ
1) เป็นนักโทษเด็ดขาดคดียาเสพติดให้โทษ ฐานเสพหรือครอบครองเพื่อเสพฐานจำหน่ายหรือครองครองเพื่อจำหน่าย (ยาบ้าไม่เกิน 25 เม็ด) หรือผู้ต้องโทษคดีลักทรัพย์ ซึ่งมีประวัติและพฤติการณ์เสพติดมาก่อน
2) ได้รับโทษจำคุกอยู่ในเรือนจำมาก่อนแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
3) เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นดีขึ้นไป
4) ต้องไปเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพในค่ายทหารมีกำหนด 90 วัน ก่อนปล่อยคุมประพฤติตามกำหนดโทษที่เหลืออยู่ 5) อายุไม่เกิน 45 ปี
6) ไม่เป็นบุคคลต่างด้าว
7) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการ
8) ไม่เป็นโรคติดต่อ เช่น วัณโรค โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
9) ไม่เป็นผู้มีจิตบกพร่อง หรือมีอาการแทรกซ้อนทางจิตประสาท
1.3 การพิจารณาคุณสมบัติผู้ต้องขัง กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาคัดเลือกผู้ต้องขังเพื่อพักการลงโทษ โดยอาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงมหาดไทย ข้อ 92 ออกตามความมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 เป็นการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ ให้แก่ผู้ต้องขัง จำนวนทั้งสิ้น 5,000 คน
1.4 สถานที่สำหรับการฟื้นฟู กองทัพบกได้จัดสถานที่ในการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ ผู้ต้องขัง จำนวน 25 ค่าย ๆ ละ100 คน โดยในรุ่นที่ 1 แบ่งเป็นค่ายผู้ต้องขังชาย จำนวน 24 ค่าย และผู้ต้องขังหญิง จำนวน 1 ค่าย ส่วนในรุ่นที่ 2 แบ่งเป็นค่ายผู้ต้องขังชายจำนวน 23 ค่ายและผู้ต้องขังหญิง จำนวน 2 ค่าย
2. งบประมาณในการดำเนินการได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 86 ล้านบาท
3. ขั้นการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ มีระยะเวลา 10 สัปดาห์ หรือประมาณ 3 เดือน โดยยึดแนวทางการฝึกทหารใหม่ 8 สัปดาห์ ศึกษาวิชาหลัก 4 วิชา คือ วิชาการทหารเบื้องต้นวิชาอุดมการณ์และประชาธิปไตย วิชาสุขภาพอนามัย (การบำบัดฟื้นฟู) วิชาศีลธรรมและศาสนา และ 2 สัปดาห์ สุดท้าย เพิ่มการฝึกวิชาชีพ และหลักการ FAST Model ทั้งนี้จะมีการกำหนดตารางปฏิบัติประจำวันในรอบ 1 สัปดาห์ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติ และประเมินผล โดยครูฝึก เป็นผู้กำหนดตารางปฏิบัติประจำวัน ในส่วนของกรมราชทัณฑ์ได้มอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานประจำอยู่ทุกค่าย
4 การติดตามประเมินผล
4.1 ระหว่างอยู่ในค่ายทหาร
1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทย ได้ติดตามผลการปฏิบัติงานของทุกค่ายทหาร และได้เข้าตรวจเยี่ยมค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี ได้พบว่า ผู้ต้องขังมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง มีจิตใจเข้มแข็ง อยู่ในระเบียบวินัยของค่ายทหาร และผู้ต้องขังได้ให้คำปฏิญาณว่าจะเลิกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้มีการติดตามประเมินผล และรายงานให้ทราบด้วย
2) กรมราชทัณฑ์ได้ร่วมกับสภาสถาบันราชภัฎ กระทรวงศึกษาธิการ ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งได้ผลสรุปในเบื้องต้น ดังนี้.-
- นักเรียนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น สภาพจิตใจเข้มแข็งมีแนวโน้มจะเลิกยาเสพ ติดได้ในอนาคต
- นักเรียนส่วนใหญ่มีความพอใจในสวัสดิการที่ทุกค่ายจัดให้
- การฝึกอาชีพควรเป็นอาชีพที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ภายหลังพ้นโทษ โดยเน้นอาชีพอิสระ
- อยากให้สังคมให้โอกาส และให้ความช่วยเหลือ
4.2 การปฏิบัติและการสงเคราะห์หลังปล่อย กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้ทุกจังหวัด องค์กรท้องถิ่น (อบต.) และชุมชนในการดูแลให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา เช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาสุขภาพ ปัญหาครอบครัว การอุปการะบุตร และให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ แก่ผู้พ้นโทษ
ในส่วนการส่งผู้ต้องขังกลับภูมิลำเนา กรมราชทัณฑ์ได้ประสานงานกับกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง พร้อมให้อาสาสมัครคุมประพฤติของกรมราชทัณฑ์ ในท้องที่นั้น ๆ ไปติดตามสอดส่องและเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ
4.3 การติดตามผลภายหลังผู้ต้องขังกลับสู่ชุมชน ได้รับรายงานว่า ผู้ที่ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพในค่าย ทหาร ได้กลับไปกระทำผิดซ้ำ ดังนี้
- รุ่นที่ 1 คดีเกี่ยวกับยาเสพติด 13 ราย คดีอื่น ๆ 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.64
- รุ่นที่ 2 คดีเกี่ยวกับยาเสพติด 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.60
สำหรับการกระทำผิดซ้ำ ในเบื้องต้น พบว่า มีสาเหตุมาจากปัญหาการว่างงาน สังคมไม่ยอมรับ ยาเสพติดสามารถหาซื้อได้ง่าย และครอบครัวค้ายาเสพติด ซึ่งกรมราชทัณฑ์จะได้ศึกษา วิจัย ถึงมูลเหตุในการกระทำผิดซ้ำ และจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามให้ความช่วยเหลือผู้ที่ผ่านการฟื้นฟูฯ จำนวน 5,000 คน อย่างต่อเนื่องต่อไป
5. สรุปผลที่ได้รับ
โครงการนี้ เป็นการดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ในการนำนวัตกรรมการลงโทษด้วยวิธีอื่น ๆ มาใช้แทนการจำคุก โดยให้เรือนจำเป็นสถานที่สำหรับคุมขังนักโทษที่ถูกจำคุกระยะยาว ส่วนผู้ที่กระทำผิดเล็กน้อย โดยเฉพาะผู้ต้องขังคดีเสพยาเสพติด ซึ่งถือว่าเป็นผู้ป่วย จะต้องได้รับการบำบัดรักษา ซึ่งสอดคล้องกับระบบสากล โครงการนำผู้เสพติดเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพในค่ายทหารนี้ จึงนับว่าเป็นโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามแนวทางเพื่อเอาชนะยาเสพติด โดยตัดวงจรผู้เสพออกจากผู้ค้า สามารถแบ่งเบาภาระกรมราชทัณฑ์ในการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด และช่วยแก้ปัญหาความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานได้ในระดับหนึ่ง และยังถือเป็นโครงการนำร่องในการแก้ไขผู้ติดยาเสพติดได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 สิงหาคม 45--จบ--
-สส-
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 การอบรมเจ้าหน้าที่ทหารประจำโรงเรียน โรงพยาบาลธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ ได้จัดอบรมหลักสูตรเชิงปฏิบัติการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST MODEL) สำหรับเจ้าหน้าที่ทหารให้กับกองทัพบก จำนวน 360 คน ใช้ระยะเวลาอบรม 1 เดือน
1.2 การกำหนดคุณสมบัติในการคัดเลือกผู้ต้องขัง กระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้กรมราชทัณฑ์จัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางคัดเลือกผู้ต้องขังเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพในค่ายทหาร ซึ่งจากการประชุมหารือได้ข้อสรุปคุณสมบัติของผู้ต้องขัง คือ
1) เป็นนักโทษเด็ดขาดคดียาเสพติดให้โทษ ฐานเสพหรือครอบครองเพื่อเสพฐานจำหน่ายหรือครองครองเพื่อจำหน่าย (ยาบ้าไม่เกิน 25 เม็ด) หรือผู้ต้องโทษคดีลักทรัพย์ ซึ่งมีประวัติและพฤติการณ์เสพติดมาก่อน
2) ได้รับโทษจำคุกอยู่ในเรือนจำมาก่อนแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
3) เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นดีขึ้นไป
4) ต้องไปเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพในค่ายทหารมีกำหนด 90 วัน ก่อนปล่อยคุมประพฤติตามกำหนดโทษที่เหลืออยู่ 5) อายุไม่เกิน 45 ปี
6) ไม่เป็นบุคคลต่างด้าว
7) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการ
8) ไม่เป็นโรคติดต่อ เช่น วัณโรค โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
9) ไม่เป็นผู้มีจิตบกพร่อง หรือมีอาการแทรกซ้อนทางจิตประสาท
1.3 การพิจารณาคุณสมบัติผู้ต้องขัง กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาคัดเลือกผู้ต้องขังเพื่อพักการลงโทษ โดยอาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงมหาดไทย ข้อ 92 ออกตามความมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 เป็นการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ ให้แก่ผู้ต้องขัง จำนวนทั้งสิ้น 5,000 คน
1.4 สถานที่สำหรับการฟื้นฟู กองทัพบกได้จัดสถานที่ในการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ ผู้ต้องขัง จำนวน 25 ค่าย ๆ ละ100 คน โดยในรุ่นที่ 1 แบ่งเป็นค่ายผู้ต้องขังชาย จำนวน 24 ค่าย และผู้ต้องขังหญิง จำนวน 1 ค่าย ส่วนในรุ่นที่ 2 แบ่งเป็นค่ายผู้ต้องขังชายจำนวน 23 ค่ายและผู้ต้องขังหญิง จำนวน 2 ค่าย
2. งบประมาณในการดำเนินการได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 86 ล้านบาท
3. ขั้นการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ มีระยะเวลา 10 สัปดาห์ หรือประมาณ 3 เดือน โดยยึดแนวทางการฝึกทหารใหม่ 8 สัปดาห์ ศึกษาวิชาหลัก 4 วิชา คือ วิชาการทหารเบื้องต้นวิชาอุดมการณ์และประชาธิปไตย วิชาสุขภาพอนามัย (การบำบัดฟื้นฟู) วิชาศีลธรรมและศาสนา และ 2 สัปดาห์ สุดท้าย เพิ่มการฝึกวิชาชีพ และหลักการ FAST Model ทั้งนี้จะมีการกำหนดตารางปฏิบัติประจำวันในรอบ 1 สัปดาห์ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติ และประเมินผล โดยครูฝึก เป็นผู้กำหนดตารางปฏิบัติประจำวัน ในส่วนของกรมราชทัณฑ์ได้มอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานประจำอยู่ทุกค่าย
4 การติดตามประเมินผล
4.1 ระหว่างอยู่ในค่ายทหาร
1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทย ได้ติดตามผลการปฏิบัติงานของทุกค่ายทหาร และได้เข้าตรวจเยี่ยมค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี ได้พบว่า ผู้ต้องขังมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง มีจิตใจเข้มแข็ง อยู่ในระเบียบวินัยของค่ายทหาร และผู้ต้องขังได้ให้คำปฏิญาณว่าจะเลิกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้มีการติดตามประเมินผล และรายงานให้ทราบด้วย
2) กรมราชทัณฑ์ได้ร่วมกับสภาสถาบันราชภัฎ กระทรวงศึกษาธิการ ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งได้ผลสรุปในเบื้องต้น ดังนี้.-
- นักเรียนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น สภาพจิตใจเข้มแข็งมีแนวโน้มจะเลิกยาเสพ ติดได้ในอนาคต
- นักเรียนส่วนใหญ่มีความพอใจในสวัสดิการที่ทุกค่ายจัดให้
- การฝึกอาชีพควรเป็นอาชีพที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ภายหลังพ้นโทษ โดยเน้นอาชีพอิสระ
- อยากให้สังคมให้โอกาส และให้ความช่วยเหลือ
4.2 การปฏิบัติและการสงเคราะห์หลังปล่อย กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้ทุกจังหวัด องค์กรท้องถิ่น (อบต.) และชุมชนในการดูแลให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา เช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาสุขภาพ ปัญหาครอบครัว การอุปการะบุตร และให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ แก่ผู้พ้นโทษ
ในส่วนการส่งผู้ต้องขังกลับภูมิลำเนา กรมราชทัณฑ์ได้ประสานงานกับกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง พร้อมให้อาสาสมัครคุมประพฤติของกรมราชทัณฑ์ ในท้องที่นั้น ๆ ไปติดตามสอดส่องและเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ
4.3 การติดตามผลภายหลังผู้ต้องขังกลับสู่ชุมชน ได้รับรายงานว่า ผู้ที่ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพในค่าย ทหาร ได้กลับไปกระทำผิดซ้ำ ดังนี้
- รุ่นที่ 1 คดีเกี่ยวกับยาเสพติด 13 ราย คดีอื่น ๆ 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.64
- รุ่นที่ 2 คดีเกี่ยวกับยาเสพติด 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.60
สำหรับการกระทำผิดซ้ำ ในเบื้องต้น พบว่า มีสาเหตุมาจากปัญหาการว่างงาน สังคมไม่ยอมรับ ยาเสพติดสามารถหาซื้อได้ง่าย และครอบครัวค้ายาเสพติด ซึ่งกรมราชทัณฑ์จะได้ศึกษา วิจัย ถึงมูลเหตุในการกระทำผิดซ้ำ และจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามให้ความช่วยเหลือผู้ที่ผ่านการฟื้นฟูฯ จำนวน 5,000 คน อย่างต่อเนื่องต่อไป
5. สรุปผลที่ได้รับ
โครงการนี้ เป็นการดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ในการนำนวัตกรรมการลงโทษด้วยวิธีอื่น ๆ มาใช้แทนการจำคุก โดยให้เรือนจำเป็นสถานที่สำหรับคุมขังนักโทษที่ถูกจำคุกระยะยาว ส่วนผู้ที่กระทำผิดเล็กน้อย โดยเฉพาะผู้ต้องขังคดีเสพยาเสพติด ซึ่งถือว่าเป็นผู้ป่วย จะต้องได้รับการบำบัดรักษา ซึ่งสอดคล้องกับระบบสากล โครงการนำผู้เสพติดเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพในค่ายทหารนี้ จึงนับว่าเป็นโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามแนวทางเพื่อเอาชนะยาเสพติด โดยตัดวงจรผู้เสพออกจากผู้ค้า สามารถแบ่งเบาภาระกรมราชทัณฑ์ในการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด และช่วยแก้ปัญหาความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานได้ในระดับหนึ่ง และยังถือเป็นโครงการนำร่องในการแก้ไขผู้ติดยาเสพติดได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 สิงหาคม 45--จบ--
-สส-