คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ความตกลงกลไกการชำระเงินแบบทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ในวงเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยรัฐบาลจะให้ความคุ้มครองธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และสละเอกสิทธิ์ในการได้รับความคุ้มครองบนทรัพย์สินแห่งรัฐ (CrownImmunity) และให้ ธสน. ลงนามในข้อตกลงกลไกการชำระเงินแบบทวิภาคีในนามของรัฐบาลไทยร่วมกับ BNM ธนาคารกลางแห่งประเทศมาเลเซีย (For and on behalf of the Government of Thailand)
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) กับประเทศคู่ค้า และได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เจรจาจัดทำร่างข้อตกลงกลไกการชำระบัญชีแบบทวิภาคี(Bilateral Payments Arrangement : BPA) กับประเทศต่าง ๆ โดย ธสน. ได้จัดทำร่างข้อตกลงกับธนาคารกลางแห่งประเทศมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia : BNM) เสร็จเรียบร้อยเป็นฉบับแรก
ทั้งนี้ ธสน. เป็นผู้ทำหน้าที่ศูนย์หักบัญชี (Clearing Agent) ฝ่ายไทย และ BNM เป็นผู้ทำหน้าที่ศูนย์หักบัญชีฝ่ายมาเลเซีย วงเงินสุทธิของความตกลงกลไกชำระเงินแบบทวิภาคี เท่ากับ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2,200 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 44 บาท) โดยในระยะแรกจะชำระบัญชีด้วยเงินสกุลเหรียญสหรัฐฯ และพัฒนาให้มีการชำระบัญชีด้วยเงินตราสกุลท้องถิ่นในระยะเวลาต่อไป
อย่างไรก็ตาม เพื่อจำกัดความเสียหายในการดำเนินงาน และให้เป็นภาระแก่รัฐบาลไทยน้อยที่สุด ธสน.อาจดำเนินการเพิ่มเติม คือ ลดความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือทางการเงินในการบริหารฐานะเงินตราต่างประเทศให้สมดุลได้แก่ การกำหนดอัตราซื้อขายเงินตราล่วงหน้าเพื่อรองรับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจจะเกิดขึ้น จัดทำระบบบัญชีแยกต่างหากจากระบบบัญชีปกติสำหรับทำการหักบัญชีระหว่างกัน สร้างระบบติดตามหนี้หรือการชำระคืนอย่างรัดกุมระหว่างศูนย์หักบัญชีกับธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมความตกลง และระหว่างธนาคารพาณิชย์กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมความตกลง
ทั้งนี้ ธสน. สามารถดำเนินการทำความตกลงกลไกการชำระเงินแบบทวิภาคี (Bilateral Payment Arrangement : BPA) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่นได้ในนามของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ การกำหนดวงเงินและรายละเอียดปลีกย่อย ให้อยู่ภายใต้ดุลพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกระทรวงการคลังจะรายงานผลการทำความตกลงให้คณะรัฐมนตรีทราบ แต่กรณีที่มีความแตกต่างจากกรณีของประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ให้กระทรวงการคลังนำเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้ กลไก BPA เป็นการชำระบัญชีการค้าระหว่างกันเพื่อลดการพึ่งพิงการใช้เงินสกุลแข็ง โดยเป็นกลไกเพิ่มเติมจากขั้นตอนการค้าระหว่างประเทศตามปกติ โดยมีศูนย์หักบัญชีระหว่างประเทศทำหน้าที่ตัวกลางในการชำระบัญชีแบบทวิภาคี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กันยายน 45--จบ--
-สส-
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) กับประเทศคู่ค้า และได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เจรจาจัดทำร่างข้อตกลงกลไกการชำระบัญชีแบบทวิภาคี(Bilateral Payments Arrangement : BPA) กับประเทศต่าง ๆ โดย ธสน. ได้จัดทำร่างข้อตกลงกับธนาคารกลางแห่งประเทศมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia : BNM) เสร็จเรียบร้อยเป็นฉบับแรก
ทั้งนี้ ธสน. เป็นผู้ทำหน้าที่ศูนย์หักบัญชี (Clearing Agent) ฝ่ายไทย และ BNM เป็นผู้ทำหน้าที่ศูนย์หักบัญชีฝ่ายมาเลเซีย วงเงินสุทธิของความตกลงกลไกชำระเงินแบบทวิภาคี เท่ากับ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2,200 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 44 บาท) โดยในระยะแรกจะชำระบัญชีด้วยเงินสกุลเหรียญสหรัฐฯ และพัฒนาให้มีการชำระบัญชีด้วยเงินตราสกุลท้องถิ่นในระยะเวลาต่อไป
อย่างไรก็ตาม เพื่อจำกัดความเสียหายในการดำเนินงาน และให้เป็นภาระแก่รัฐบาลไทยน้อยที่สุด ธสน.อาจดำเนินการเพิ่มเติม คือ ลดความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือทางการเงินในการบริหารฐานะเงินตราต่างประเทศให้สมดุลได้แก่ การกำหนดอัตราซื้อขายเงินตราล่วงหน้าเพื่อรองรับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจจะเกิดขึ้น จัดทำระบบบัญชีแยกต่างหากจากระบบบัญชีปกติสำหรับทำการหักบัญชีระหว่างกัน สร้างระบบติดตามหนี้หรือการชำระคืนอย่างรัดกุมระหว่างศูนย์หักบัญชีกับธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมความตกลง และระหว่างธนาคารพาณิชย์กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมความตกลง
ทั้งนี้ ธสน. สามารถดำเนินการทำความตกลงกลไกการชำระเงินแบบทวิภาคี (Bilateral Payment Arrangement : BPA) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่นได้ในนามของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ การกำหนดวงเงินและรายละเอียดปลีกย่อย ให้อยู่ภายใต้ดุลพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกระทรวงการคลังจะรายงานผลการทำความตกลงให้คณะรัฐมนตรีทราบ แต่กรณีที่มีความแตกต่างจากกรณีของประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ให้กระทรวงการคลังนำเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้ กลไก BPA เป็นการชำระบัญชีการค้าระหว่างกันเพื่อลดการพึ่งพิงการใช้เงินสกุลแข็ง โดยเป็นกลไกเพิ่มเติมจากขั้นตอนการค้าระหว่างประเทศตามปกติ โดยมีศูนย์หักบัญชีระหว่างประเทศทำหน้าที่ตัวกลางในการชำระบัญชีแบบทวิภาคี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กันยายน 45--จบ--
-สส-