คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานผลการจัดงานเทศกาลของขวัญปีใหม่ สินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ สรุปผลดังนี้
1. พิธีเปิดงาน มีรองนายกรัฐมนตรี (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ประธานกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ) เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา มาลีนนท์) เป็นผู้กล่าวรายงาน ผู้เข้าร่วมพิธีประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ เอกอัครราชทูต หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรมรัฐวิสาหกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัด พัฒนาการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน และผู้แทนกลุ่มอาชีพ รวมจำนวน 1,600 คน
2. การประกวดผลิตภัณฑ์ และการแสดงผลิตภัณฑ์ที่ชนะการประกวด กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายจาก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา มาลีนนท์) ให้จัดการประกวดผลิตภัณฑ์ผ้าและสุราแช่ไทยเพื่อการส่งออก โดยผลิตภัณฑ์ผ้า ได้แก่ ผ้าไหม และผ้าฝ้าย แบ่งออกเป็นประเภทภูมิปัญญา และประเภทเชิงพาณิชย์ผลิตภัณฑ์สุราแช่ไทย ได้แก่ สุราแช่ไทยที่ผลิตจากผลไม้ สมุนไพร (กระชายดำ) และธัญพืช (ข้าว) มีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทละ 1 รางวัล รางวัลชมเชยประเภทละ 3 รางวัล และได้นำผลิตภัณฑ์ที่ชนะการประกวดทั้งหมด จัดแสดงบริเวณลานคอนคอร์ต
3. การจำหน่ายสินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีการจำหน่ายสินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จาก 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 ประเภท ได้แก่ อาหารแปรรูป ผลไม้และเครื่องดื่ม ผ้าและสิ่งทอ จักสาน ศิลปะประดิษฐ์ เครื่องใช้และของใช้ และสุราแช่ไทย รวมจำนวนทั้งสิ้น 768 บูธ รวม 1,040 กลุ่มมียอดการจำหน่ายตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 15 - 25 ธันวาคม 2545 รวม 124,825,549 บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบสี่ล้านแปดแสนสองหมื่นห้าพันห้าร้อยสี่สิบเก้าบาทถ้วน) แยกเป็นการจำหน่ายภายในงาน จำนวน 106,195,107 บาท (หนึ่งร้อยหกล้านหนึ่งแสนเก้าหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยเจ็ดบาทถ้วน) และการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า (Order) จำนวน 18,630,442 บาท (สิบแปดล้านหกแสนสามหมื่นสี่ร้อยสี่สิบสองบาทถ้วน) โดยประเภทสินค้าที่จำหน่ายได้มากตามลำดับ ได้แก่ ผ้าและสิ่งทอ ศิลปะประดิษฐ์ อาหารแปรรูป ผลไม้และเครื่องดื่ม เครื่องใช้และของใช้ จักสานและสุราแช่ไทย
4. การฝึกอาชีพ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้จัดฝึกอาชีพ จำนวน 32 หลักสูตร วันละ3 หลักสูตร ๆ ละ 30 คน รวม 1,200 คน (บางหลักสูตรอบรมได้วันละ 2 ครั้ง รวม 60 คน) และปรากฏว่า อาชีพที่มีผู้สนใจขอเข้ารับการฝึกอบรมมากตามลำดับ ได้แก่ การเสริมสวยลูกปัด การเขียนสีขวด การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากรกมะพร้าว การทำดอกกุหลาบจากกระดาษสา และการทำดอกไม้จันทน์ เป็นต้น
5. ผู้เข้าชมงาน รวม 11 วัน จำนวนประมาณ 324,500 คน เฉลี่ยมีผู้เข้าชมงาน วันละประมาณ 29,500 คน
6. งบประมาณ กอ.นตผ อนุมัติงบประมาณตามโครงการในวงเงินไม่เกิน 30,000,000 บาท (สามสิบล้านบาทถ้วน) แต่ในการดำเนินงาน คณะกรรมการจัดงานเทศกาลของขวัญปีใหม่ สินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งมี นายระวี หิรัญโชติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นประธาน ได้ใช้งบประมาณอย่างประหยัด โดยใช้จ่ายเพียง 24,373,000 บาท (ยี่สิบสี่ล้านสามแสนเจ็ดหมื่นสามพันบาทถ้วน)
7. ผลการประเมินเบื้องต้น พบว่าผู้ชมงานมีความพึงพอใจในการจัดงานเทศกาลของขวัญปีใหม่ในระดับมากที่สุด ผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30 - 50 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ผู้ชมงานส่วนใหญ่ตั้งใจมาซื้อสินค้าเพื่อเป็นของขวัญของฝาก โดยสินค้าที่ผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่ให้ความสนใจมากที่สุดคือ อาหารแปรรูปผลไม้และเครื่องดื่ม รองลงมาได้แก่ ผ้าและสิ่งทอ ในด้านความพึงพอใจในการจัดงานฯ ผู้เข้าชมงานมีความพึงพอใจสถานที่จัดงานมากที่สุดรองลงมาได้แก่ การส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ส่วนใหญ่ผู้ชมงานเห็นว่า ควรมีการจัดงานเทศบาลของขวัญปีใหม่ฯ ในปีต่อไปด้วย และผู้ชมงานมีข้อเสนอแนะว่า ควรจะมีการประชาสัมพันธ์การจัดงานให้มากกว่านี้ และควรมีความหลากหลายของสินค้า รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีการจัดงานในลักษณะนี้ปีละ2 ครั้ง
โดยสรุป การจัดงานเทศกาลของขวัญปีใหม่ สินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้เสร็จสิ้นลงแล้วด้วยความเรียบร้อยและประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างดียิ่ง ทั้งในด้านความพึงพอใจของผู้ชมงาน การสร้างรายได้ให้กับชุมชน ผู้ประกอบการจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากลตามนโยบาย หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาล ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กอ.นตผ จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ เพื่อขยายผลในด้านการพัฒนาคุณภาพและการตลาดของสินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 มกราคม 46--จบ--
-สส-
1. พิธีเปิดงาน มีรองนายกรัฐมนตรี (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ประธานกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ) เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา มาลีนนท์) เป็นผู้กล่าวรายงาน ผู้เข้าร่วมพิธีประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ เอกอัครราชทูต หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรมรัฐวิสาหกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัด พัฒนาการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน และผู้แทนกลุ่มอาชีพ รวมจำนวน 1,600 คน
2. การประกวดผลิตภัณฑ์ และการแสดงผลิตภัณฑ์ที่ชนะการประกวด กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายจาก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา มาลีนนท์) ให้จัดการประกวดผลิตภัณฑ์ผ้าและสุราแช่ไทยเพื่อการส่งออก โดยผลิตภัณฑ์ผ้า ได้แก่ ผ้าไหม และผ้าฝ้าย แบ่งออกเป็นประเภทภูมิปัญญา และประเภทเชิงพาณิชย์ผลิตภัณฑ์สุราแช่ไทย ได้แก่ สุราแช่ไทยที่ผลิตจากผลไม้ สมุนไพร (กระชายดำ) และธัญพืช (ข้าว) มีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทละ 1 รางวัล รางวัลชมเชยประเภทละ 3 รางวัล และได้นำผลิตภัณฑ์ที่ชนะการประกวดทั้งหมด จัดแสดงบริเวณลานคอนคอร์ต
3. การจำหน่ายสินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีการจำหน่ายสินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จาก 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 ประเภท ได้แก่ อาหารแปรรูป ผลไม้และเครื่องดื่ม ผ้าและสิ่งทอ จักสาน ศิลปะประดิษฐ์ เครื่องใช้และของใช้ และสุราแช่ไทย รวมจำนวนทั้งสิ้น 768 บูธ รวม 1,040 กลุ่มมียอดการจำหน่ายตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 15 - 25 ธันวาคม 2545 รวม 124,825,549 บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบสี่ล้านแปดแสนสองหมื่นห้าพันห้าร้อยสี่สิบเก้าบาทถ้วน) แยกเป็นการจำหน่ายภายในงาน จำนวน 106,195,107 บาท (หนึ่งร้อยหกล้านหนึ่งแสนเก้าหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยเจ็ดบาทถ้วน) และการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า (Order) จำนวน 18,630,442 บาท (สิบแปดล้านหกแสนสามหมื่นสี่ร้อยสี่สิบสองบาทถ้วน) โดยประเภทสินค้าที่จำหน่ายได้มากตามลำดับ ได้แก่ ผ้าและสิ่งทอ ศิลปะประดิษฐ์ อาหารแปรรูป ผลไม้และเครื่องดื่ม เครื่องใช้และของใช้ จักสานและสุราแช่ไทย
4. การฝึกอาชีพ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้จัดฝึกอาชีพ จำนวน 32 หลักสูตร วันละ3 หลักสูตร ๆ ละ 30 คน รวม 1,200 คน (บางหลักสูตรอบรมได้วันละ 2 ครั้ง รวม 60 คน) และปรากฏว่า อาชีพที่มีผู้สนใจขอเข้ารับการฝึกอบรมมากตามลำดับ ได้แก่ การเสริมสวยลูกปัด การเขียนสีขวด การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากรกมะพร้าว การทำดอกกุหลาบจากกระดาษสา และการทำดอกไม้จันทน์ เป็นต้น
5. ผู้เข้าชมงาน รวม 11 วัน จำนวนประมาณ 324,500 คน เฉลี่ยมีผู้เข้าชมงาน วันละประมาณ 29,500 คน
6. งบประมาณ กอ.นตผ อนุมัติงบประมาณตามโครงการในวงเงินไม่เกิน 30,000,000 บาท (สามสิบล้านบาทถ้วน) แต่ในการดำเนินงาน คณะกรรมการจัดงานเทศกาลของขวัญปีใหม่ สินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งมี นายระวี หิรัญโชติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นประธาน ได้ใช้งบประมาณอย่างประหยัด โดยใช้จ่ายเพียง 24,373,000 บาท (ยี่สิบสี่ล้านสามแสนเจ็ดหมื่นสามพันบาทถ้วน)
7. ผลการประเมินเบื้องต้น พบว่าผู้ชมงานมีความพึงพอใจในการจัดงานเทศกาลของขวัญปีใหม่ในระดับมากที่สุด ผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30 - 50 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ผู้ชมงานส่วนใหญ่ตั้งใจมาซื้อสินค้าเพื่อเป็นของขวัญของฝาก โดยสินค้าที่ผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่ให้ความสนใจมากที่สุดคือ อาหารแปรรูปผลไม้และเครื่องดื่ม รองลงมาได้แก่ ผ้าและสิ่งทอ ในด้านความพึงพอใจในการจัดงานฯ ผู้เข้าชมงานมีความพึงพอใจสถานที่จัดงานมากที่สุดรองลงมาได้แก่ การส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ส่วนใหญ่ผู้ชมงานเห็นว่า ควรมีการจัดงานเทศบาลของขวัญปีใหม่ฯ ในปีต่อไปด้วย และผู้ชมงานมีข้อเสนอแนะว่า ควรจะมีการประชาสัมพันธ์การจัดงานให้มากกว่านี้ และควรมีความหลากหลายของสินค้า รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีการจัดงานในลักษณะนี้ปีละ2 ครั้ง
โดยสรุป การจัดงานเทศกาลของขวัญปีใหม่ สินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้เสร็จสิ้นลงแล้วด้วยความเรียบร้อยและประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างดียิ่ง ทั้งในด้านความพึงพอใจของผู้ชมงาน การสร้างรายได้ให้กับชุมชน ผู้ประกอบการจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากลตามนโยบาย หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาล ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กอ.นตผ จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ เพื่อขยายผลในด้านการพัฒนาคุณภาพและการตลาดของสินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 มกราคม 46--จบ--
-สส-