คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย “โครงการบ้านเอื้ออาทร” ระยะที่ 4 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย “โครงการบ้านเอื้ออาทร” ระยะที่ 4 จำนวน 150,000 หน่วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในวงเงินจำนวน 70,500 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยเงินอุดหนุนจำนวน 13,200 ล้านบาท และเงินกู้จำนวน 57,300 ล้านบาท โดยขอรับการจัดสรรงบกลางปี 2548 จำนวน 1,320 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณปี 2549 จำนวน จำนวน 6,000 ล้านบาท ปี 2550 จำนวน 5,480 ล้านบาท และปี 2551 จำนวน 400 ล้านบาท โดยให้ตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานว่า
1. ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย “โครงการบ้านเอื้ออาทร” ระยะที่ 1-3 จำนวน 151,727 หน่วย มีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นจำนวน 4,500 หน่วย และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 38,609 หน่วย จัดหาผู้รับจ้าง จำนวน 73,843 หน่วย และจัดหาที่ดินหรือจัดซื้อโครงการอีก จำนวน 36,746 หน่วย ขณะนี้ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2546 — 2548 จำนวน 9,379.837 ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนในปีงบประมาณ 2546 และประมาณการเบิกจ่ายจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2547 จำนวนประมาณ 2,471.670 ล้านบาท และมีแผนการใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2548 ประมาณ 6,908.167 ล้านบาท ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 1 — 3 โดยรวมได้แก่ ปัญหาที่ กคช.ไม่สามารถจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากผู้ประกอบการที่เป็นผู้รับเหมารายย่อยไม่สามารถรับงานที่มีผลตอบแทนต่ำและงบประมาณจำกัด รวมทั้งการประกวดราคาแบบ E — Auction กำหนดให้มีผู้เสนอราคาไม่น้อยกว่า 3 ราย และราคาต้องไม่สูงกว่าราคากลางทำให้มีผู้เสนอราคาจำนวนน้อยหรือไม่มีผู้เสนอราคา กคช. จึงจำเป็นต้องยกเลิกการประกวดราคาลักษณะดังกล่าว และใช้ระบบการจัดหาผู้รับจ้างแบบปกติหรือวิธีพิเศษ ส่งผลให้การเริ่มก่อสร้างโครงการล่าช้ากว่ากำหนดประมาณ 6 — 8 เดือน มีผลกระทบต่อแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนและงบประมาณอุดหนุนซึ่งทำให้การเบิกจ่ายต่ำกว่าประมาณการในปีงบประมาณ 2547
สำหรับกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กคช. ได้ดำเนินการจัดหาผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีระบบการก่อสร้างแบบอุตสาหกรรม (Mass Production) ภายใต้กระบวนการผลิตโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป (Pre — Fabrication) หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก สามารถควบคุมคุณภาพและต้นทุนค่าก่อสร้างรวมทั้งก่อสร้างได้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ กคช. เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภายในประเทศร่วมกับพันธมิตรต่างชาติเข้ามารับงานของ กคช.ได้
2. โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 1 — 3 ที่ผ่านมามีผู้จองสิทธิโครงการกับ กคช. ที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรโครงการอีกเป็นจำนวน 317,000 ราย และในส่วนของผู้ลงทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจนในพื้นที่ที่ต้องการซื้อบ้านราคาถูกมากกว่า 400 ราย ขึ้นไปซึ่งมีความสามารถในการจ่ายได้มากกว่า 1,000 บาทต่อเดือน มีจำนวนประมาณ 88,000 ราย ประมาณการผู้ที่จะมาจองสิทธิกับ กคช. จนถึงสิ้นปี 2548 อีกจำนวน 150,000 ราย สรุปรวมประมาณการความต้องการที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในปี 2548 จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 555,000 ราย กคช. จึงได้จัดเตรียมโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย “โครงการบ้านเอื้ออาทร” ระยะที่ 4 ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 150,000 หน่วย โดยมีแนวทางดำเนินงานและแนวทางในการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ เช่นเดียวกับ โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานว่า
1. ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย “โครงการบ้านเอื้ออาทร” ระยะที่ 1-3 จำนวน 151,727 หน่วย มีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นจำนวน 4,500 หน่วย และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 38,609 หน่วย จัดหาผู้รับจ้าง จำนวน 73,843 หน่วย และจัดหาที่ดินหรือจัดซื้อโครงการอีก จำนวน 36,746 หน่วย ขณะนี้ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2546 — 2548 จำนวน 9,379.837 ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนในปีงบประมาณ 2546 และประมาณการเบิกจ่ายจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2547 จำนวนประมาณ 2,471.670 ล้านบาท และมีแผนการใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2548 ประมาณ 6,908.167 ล้านบาท ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 1 — 3 โดยรวมได้แก่ ปัญหาที่ กคช.ไม่สามารถจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากผู้ประกอบการที่เป็นผู้รับเหมารายย่อยไม่สามารถรับงานที่มีผลตอบแทนต่ำและงบประมาณจำกัด รวมทั้งการประกวดราคาแบบ E — Auction กำหนดให้มีผู้เสนอราคาไม่น้อยกว่า 3 ราย และราคาต้องไม่สูงกว่าราคากลางทำให้มีผู้เสนอราคาจำนวนน้อยหรือไม่มีผู้เสนอราคา กคช. จึงจำเป็นต้องยกเลิกการประกวดราคาลักษณะดังกล่าว และใช้ระบบการจัดหาผู้รับจ้างแบบปกติหรือวิธีพิเศษ ส่งผลให้การเริ่มก่อสร้างโครงการล่าช้ากว่ากำหนดประมาณ 6 — 8 เดือน มีผลกระทบต่อแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนและงบประมาณอุดหนุนซึ่งทำให้การเบิกจ่ายต่ำกว่าประมาณการในปีงบประมาณ 2547
สำหรับกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กคช. ได้ดำเนินการจัดหาผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีระบบการก่อสร้างแบบอุตสาหกรรม (Mass Production) ภายใต้กระบวนการผลิตโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป (Pre — Fabrication) หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก สามารถควบคุมคุณภาพและต้นทุนค่าก่อสร้างรวมทั้งก่อสร้างได้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ กคช. เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภายในประเทศร่วมกับพันธมิตรต่างชาติเข้ามารับงานของ กคช.ได้
2. โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 1 — 3 ที่ผ่านมามีผู้จองสิทธิโครงการกับ กคช. ที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรโครงการอีกเป็นจำนวน 317,000 ราย และในส่วนของผู้ลงทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจนในพื้นที่ที่ต้องการซื้อบ้านราคาถูกมากกว่า 400 ราย ขึ้นไปซึ่งมีความสามารถในการจ่ายได้มากกว่า 1,000 บาทต่อเดือน มีจำนวนประมาณ 88,000 ราย ประมาณการผู้ที่จะมาจองสิทธิกับ กคช. จนถึงสิ้นปี 2548 อีกจำนวน 150,000 ราย สรุปรวมประมาณการความต้องการที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในปี 2548 จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 555,000 ราย กคช. จึงได้จัดเตรียมโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย “โครงการบ้านเอื้ออาทร” ระยะที่ 4 ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 150,000 หน่วย โดยมีแนวทางดำเนินงานและแนวทางในการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ เช่นเดียวกับ โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--