การให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงานในโครงการคลังสินค้า โครงการครัวการบิน โครงการอุปกรณ์บริการ ภาคพื้นและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุง และโครงการระบบให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (ยกเว้น Hydrant) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ขอให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงานในโครงการคลังสินค้า โครงการครัวการบิน โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุง และโครงการระบบให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (ยกเว้น Hydrant) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระการลงทุนภาครัฐ และการดำเนินโครงการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้กิจกรรมการขนส่งทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการได้อย่างสมบูรณ์เมื่อเปิดให้บริการ ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาสู่ความเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.)ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการรายแรกที่จะได้รับสัมปทานในโครงการทั้ง 3 โครงการดังกล่าว สำหรับการคัดเลือกผู้ประกอบการรายที่เหลือของแต่ละโครงการ จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535 ต่อไป
ในส่วนของการลงทุนสำหรับกิจกรรมสนับสนุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 4 โครงการ รวมเงินลงทุนทั้งสิ้น22,998.05 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการลงทุนในระยะแรก 15,387.28 ล้านบาท และการลงทุนในระยะที่สอง 7,610.77ล้านบาท ซึ่งสามารถสรุปรายละเอียดการลงทุนของโครงการทั้ง 4 โครงการได้ ดังนี้ โครงการคลังสินค้า ผู้ประกอบการ 2 ราย จำนวนเงินลงทุนรวม 5,589.93 ล้านบาท โครงการครัวการบิน ผู้ประกอบการ 3 ราย จำนวนเงินลงทุนรวม 6,254.34 ล้านบาท โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นฯ จำนวนผู้ประกอบการ 2 ราย จำนวนเงินลงทุนรวม 8,364.70ล้านบาท โครงการระบบให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน จำนวนเงินลงทุนรวม 2,789.08 ล้านบาท
สำหรับสถานที่ตั้งโครงการ ได้แก่
1. โครงการคลังสินค้า กำหนดพื้นที่ตั้งในบริเวณด้านเหนือของทางวิ่งฝั่งตะวันตกมีพื้นที่ จำนวน 208,000 ตารางเมตร
2. โครงการครัวการบิน กำหนดพื้นที่ 2 จุด ตั้งอยู่ทางทิศเหนือฝั่งตะวันออกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยจุดที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณด้านเหนือของถนนภายในท่าอากาศยานด้านตะวันออกมีพื้นที่ 33,250 ตารางเมตร และจุดที่ 2ตั้งอยู่ด้านใต้ของพื้นที่โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นฯ (จุดที่ 2) มีพื้นที่ 37,200 ตารางเมตร
3. โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นฯ กำหนดพื้นที่ 2 จุด ตั้งอยู่ทางทิศเหนือฝั่งตะวันออกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจุดที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณด้านเหนือของถนนภายในท่าอากาศยานสายตะวันออกมีพื้นที่ 39,100 ตารางเมตร และจุดที่ 2 ตั้งอยู่ด้านใต้ของถนนภายในท่าอากาศยานด้านตะวันออกมีพื้นที่ 43,500 ตารางเมตร ซึ่งในอนาคตสามารถขยายขอบเขตพื้นที่ได้สูงสุดถึง 74,100 ตารางเมตร
4. โครงการระบบให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (ยกเว้น Hydrant) พื้นที่คลังน้ำมัน ตั้งอยู่ใกล้แนวขอบของท่าอากาศยานด้านตะวันออกใกล้คลองหนองงูเห่ามีพื้นที่ 112,547 ตารางเมตร และพื้นที่บริการจ่ายน้ำมันอากาศยาน(Into-plane Services) ตั้งอยู่ในเขต Airside ใกล้ทางวิ่งฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ 11,764 ตารางเมตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 มกราคม 46--จบ--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ขอให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงานในโครงการคลังสินค้า โครงการครัวการบิน โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุง และโครงการระบบให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (ยกเว้น Hydrant) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระการลงทุนภาครัฐ และการดำเนินโครงการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้กิจกรรมการขนส่งทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการได้อย่างสมบูรณ์เมื่อเปิดให้บริการ ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาสู่ความเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.)ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการรายแรกที่จะได้รับสัมปทานในโครงการทั้ง 3 โครงการดังกล่าว สำหรับการคัดเลือกผู้ประกอบการรายที่เหลือของแต่ละโครงการ จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535 ต่อไป
ในส่วนของการลงทุนสำหรับกิจกรรมสนับสนุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 4 โครงการ รวมเงินลงทุนทั้งสิ้น22,998.05 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการลงทุนในระยะแรก 15,387.28 ล้านบาท และการลงทุนในระยะที่สอง 7,610.77ล้านบาท ซึ่งสามารถสรุปรายละเอียดการลงทุนของโครงการทั้ง 4 โครงการได้ ดังนี้ โครงการคลังสินค้า ผู้ประกอบการ 2 ราย จำนวนเงินลงทุนรวม 5,589.93 ล้านบาท โครงการครัวการบิน ผู้ประกอบการ 3 ราย จำนวนเงินลงทุนรวม 6,254.34 ล้านบาท โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นฯ จำนวนผู้ประกอบการ 2 ราย จำนวนเงินลงทุนรวม 8,364.70ล้านบาท โครงการระบบให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน จำนวนเงินลงทุนรวม 2,789.08 ล้านบาท
สำหรับสถานที่ตั้งโครงการ ได้แก่
1. โครงการคลังสินค้า กำหนดพื้นที่ตั้งในบริเวณด้านเหนือของทางวิ่งฝั่งตะวันตกมีพื้นที่ จำนวน 208,000 ตารางเมตร
2. โครงการครัวการบิน กำหนดพื้นที่ 2 จุด ตั้งอยู่ทางทิศเหนือฝั่งตะวันออกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยจุดที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณด้านเหนือของถนนภายในท่าอากาศยานด้านตะวันออกมีพื้นที่ 33,250 ตารางเมตร และจุดที่ 2ตั้งอยู่ด้านใต้ของพื้นที่โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นฯ (จุดที่ 2) มีพื้นที่ 37,200 ตารางเมตร
3. โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นฯ กำหนดพื้นที่ 2 จุด ตั้งอยู่ทางทิศเหนือฝั่งตะวันออกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจุดที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณด้านเหนือของถนนภายในท่าอากาศยานสายตะวันออกมีพื้นที่ 39,100 ตารางเมตร และจุดที่ 2 ตั้งอยู่ด้านใต้ของถนนภายในท่าอากาศยานด้านตะวันออกมีพื้นที่ 43,500 ตารางเมตร ซึ่งในอนาคตสามารถขยายขอบเขตพื้นที่ได้สูงสุดถึง 74,100 ตารางเมตร
4. โครงการระบบให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (ยกเว้น Hydrant) พื้นที่คลังน้ำมัน ตั้งอยู่ใกล้แนวขอบของท่าอากาศยานด้านตะวันออกใกล้คลองหนองงูเห่ามีพื้นที่ 112,547 ตารางเมตร และพื้นที่บริการจ่ายน้ำมันอากาศยาน(Into-plane Services) ตั้งอยู่ในเขต Airside ใกล้ทางวิ่งฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ 11,764 ตารางเมตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 มกราคม 46--จบ--
-สส-