คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ ในปี 2547 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอดังนี้
1. การให้ความช่วยเหลือและรักษาผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 ถึง 31 ธันวาคม 2547 รวมทั้งสิ้น 5,182 คน ประกอบด้วยการช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยาก (เจ็บป่วย ถูกทอดทิ้งในต่างประเทศ และตกทุกข์ในลักษณะอื่น) 1,146 คน ช่วยเหลือและรักษาผลประโยชน์แรงงานไทย 484 คน ช่วยเหลือชาวประมงไทยที่ถูกจับกุมคุมขังในต่างประเทศ จำนวน 639 คน ช่วยเหลือคนไทยที่ถูกหลอกลวงไปขายบริการ 318 คน รับเรื่องร้องทุกข์ ติดตามเงินพึงได้ ติดตามหาคนไทยในต่างประเทศ หรือ งานคนไทยเสียชีวิตในต่างประเทศ 1,108 คน นอกจากนั้น ยังมีงานดูแลนักเรียนทุนรัฐบาลไทย รวมทั้งข้าราชการที่ไปฝึกอบรมในต่างประเทศ จำนวนรวม 1,487 คน ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศสามารถติดตามเงินพึงได้จากการเสียชีวิตของไทยในต่างประเทศให้กับทายาทหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินพึงได้ รวมเป็นจำนวน 28,411,296.98 บาท
2. การดำเนินงานตามนโยบายเข้าถึงประชาชน
กระทรวงการต่างประเทศตระหนักถึงภารกิจการทูตเพื่อประชาชนโดยให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทั้งในและนอกประเทศอย่างใกล้ชิด ในรอบปี 2547 กระทรวงฯได้จัดให้มีโครงการกงสุลสัญจรในจังหวัดชียงราย พะเยา เลย และกระบี่ เพื่อรับฟังเรื่องราวร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือจากผู้นำท้องถิ่นและประชาชนโดยตรง และได้ติดตามผลการช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังได้มีการพบปะกับคนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด ตามโครงการกงสุลสัญจรของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ต่าง ๆ เพื่อให้กำลังใจ รับทราบปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวไทยในต่างประเทศ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความทุกข์ร้อนของพี่น้องในต่างประเทศด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้วย
3. การอพยพคนไทย
3.1 การเคลื่อนย้ายแรงงานไทยออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยในอิสราเอล โดยที่สถานการณ์การสู้รบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในปีที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้เตรียมแผนการช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายแรงงานไทย ซึ่งอาจได้รับผลกระทบต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินออกจากพื้นที่ฉนวนกาซ่า โดยได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2547 แต่มีบางส่วนหลบหนีกลับเข้าไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยอีก และขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการประสานกับกระทรวงแรงงานอย่างใกล้ชิดเพื่อเคลื่อนย้ายแรงงานไทยทั้งหมดออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเร็วที่สุด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548
3.2 การอพยพคนไทยจากมัลดีฟส์ จากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ คลื่นสึนามิ กระทรวงการต่างประเทศจึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางไปดูแลให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ทำงานอยู่ในหมู่เกาะมัลดีฟส์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว และดำเนินการอพยพคนไทยที่ประสบภัยพิบัติ จำนวน 48 คน กลับประเทศไทย
4. การดำเนินการเพื่อป้องปรามการถูกหลอกลวงไปต่างประเทศ
4.1 การประชาสัมพันธ์ กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันการหลอกลวงคนไทยไปต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยกรมการกงสุลได้ผลิตสปอตโทรทัศน์ ชุด "เรื่องจริงผู้หญิงไทย" สปอตวิทยุ และสารคดี ตลอดจนแผ่นผับ เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรณรงค์ป้องกันมิให้คนไทยโดยเฉพาะหญิงไทยและแรงงานไทยถูกหลอกไปทำงานหรือขายบริการในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากหนังสือพิมพ์ด้านแรงงาน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ตลาดแรงงาน สำหรับเผยแพร่ข้อความเตือนภัยเกี่ยวกับการหลอกลวงไปต่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ และสาระน่ารู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการให้บริการของกระทรวงการต่างประเทศ
4.2 การลงพื้นที่ กระทรวงการต่างประเทศโดยเอกอัครราชทูตและเจ้าหน้าที่กรมการกงสุลได้เดินทางไปพบประชาชนในพื้นที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์หรือถูกหลอกลวงในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา เพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยในต่างประเทศ ตลอดจนเตือนคนไทยให้เพิ่มความระมัดระวังและตรวจสอบข้อมูลก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ให้หลงเชื่อคำชักชวนของนายหน้า ซึ่งเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้คนไทยตกเป็นเหยื่อของการถูกหลอกลวงจากขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ
4.3 การปราบปราม กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมสอบสวนคดีพิเศษ และหน่วยงานปราบปรามที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายกับขบวนการหลอกลวงคนงานและการค้ามนุษย์ข้ามชาติ อีกทั้งยังประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ในประเทศเป้าหมายอาทิ ญี่ปุ่น บาห์เรน มาเลเซีย และสิงค์โปร์ ในการปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--
1. การให้ความช่วยเหลือและรักษาผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 ถึง 31 ธันวาคม 2547 รวมทั้งสิ้น 5,182 คน ประกอบด้วยการช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ได้ยาก (เจ็บป่วย ถูกทอดทิ้งในต่างประเทศ และตกทุกข์ในลักษณะอื่น) 1,146 คน ช่วยเหลือและรักษาผลประโยชน์แรงงานไทย 484 คน ช่วยเหลือชาวประมงไทยที่ถูกจับกุมคุมขังในต่างประเทศ จำนวน 639 คน ช่วยเหลือคนไทยที่ถูกหลอกลวงไปขายบริการ 318 คน รับเรื่องร้องทุกข์ ติดตามเงินพึงได้ ติดตามหาคนไทยในต่างประเทศ หรือ งานคนไทยเสียชีวิตในต่างประเทศ 1,108 คน นอกจากนั้น ยังมีงานดูแลนักเรียนทุนรัฐบาลไทย รวมทั้งข้าราชการที่ไปฝึกอบรมในต่างประเทศ จำนวนรวม 1,487 คน ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศสามารถติดตามเงินพึงได้จากการเสียชีวิตของไทยในต่างประเทศให้กับทายาทหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินพึงได้ รวมเป็นจำนวน 28,411,296.98 บาท
2. การดำเนินงานตามนโยบายเข้าถึงประชาชน
กระทรวงการต่างประเทศตระหนักถึงภารกิจการทูตเพื่อประชาชนโดยให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทั้งในและนอกประเทศอย่างใกล้ชิด ในรอบปี 2547 กระทรวงฯได้จัดให้มีโครงการกงสุลสัญจรในจังหวัดชียงราย พะเยา เลย และกระบี่ เพื่อรับฟังเรื่องราวร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือจากผู้นำท้องถิ่นและประชาชนโดยตรง และได้ติดตามผลการช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังได้มีการพบปะกับคนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด ตามโครงการกงสุลสัญจรของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ต่าง ๆ เพื่อให้กำลังใจ รับทราบปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวไทยในต่างประเทศ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความทุกข์ร้อนของพี่น้องในต่างประเทศด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้วย
3. การอพยพคนไทย
3.1 การเคลื่อนย้ายแรงงานไทยออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยในอิสราเอล โดยที่สถานการณ์การสู้รบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในปีที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้เตรียมแผนการช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายแรงงานไทย ซึ่งอาจได้รับผลกระทบต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินออกจากพื้นที่ฉนวนกาซ่า โดยได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2547 แต่มีบางส่วนหลบหนีกลับเข้าไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยอีก และขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการประสานกับกระทรวงแรงงานอย่างใกล้ชิดเพื่อเคลื่อนย้ายแรงงานไทยทั้งหมดออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเร็วที่สุด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548
3.2 การอพยพคนไทยจากมัลดีฟส์ จากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ คลื่นสึนามิ กระทรวงการต่างประเทศจึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางไปดูแลให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ทำงานอยู่ในหมู่เกาะมัลดีฟส์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว และดำเนินการอพยพคนไทยที่ประสบภัยพิบัติ จำนวน 48 คน กลับประเทศไทย
4. การดำเนินการเพื่อป้องปรามการถูกหลอกลวงไปต่างประเทศ
4.1 การประชาสัมพันธ์ กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันการหลอกลวงคนไทยไปต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยกรมการกงสุลได้ผลิตสปอตโทรทัศน์ ชุด "เรื่องจริงผู้หญิงไทย" สปอตวิทยุ และสารคดี ตลอดจนแผ่นผับ เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรณรงค์ป้องกันมิให้คนไทยโดยเฉพาะหญิงไทยและแรงงานไทยถูกหลอกไปทำงานหรือขายบริการในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากหนังสือพิมพ์ด้านแรงงาน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ตลาดแรงงาน สำหรับเผยแพร่ข้อความเตือนภัยเกี่ยวกับการหลอกลวงไปต่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ และสาระน่ารู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการให้บริการของกระทรวงการต่างประเทศ
4.2 การลงพื้นที่ กระทรวงการต่างประเทศโดยเอกอัครราชทูตและเจ้าหน้าที่กรมการกงสุลได้เดินทางไปพบประชาชนในพื้นที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์หรือถูกหลอกลวงในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา เพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยในต่างประเทศ ตลอดจนเตือนคนไทยให้เพิ่มความระมัดระวังและตรวจสอบข้อมูลก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ให้หลงเชื่อคำชักชวนของนายหน้า ซึ่งเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้คนไทยตกเป็นเหยื่อของการถูกหลอกลวงจากขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ
4.3 การปราบปราม กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมสอบสวนคดีพิเศษ และหน่วยงานปราบปรามที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายกับขบวนการหลอกลวงคนงานและการค้ามนุษย์ข้ามชาติ อีกทั้งยังประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ในประเทศเป้าหมายอาทิ ญี่ปุ่น บาห์เรน มาเลเซีย และสิงค์โปร์ ในการปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--