แท็ก
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ
การท่องเที่ยว
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ. …. ที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ไปพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชกฤษฎีกาให้เหมาะสม แล้วดำเนินการต่อไปได้
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการนอกสถานที่ ณ เกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2545 นายกรัฐมนตรีได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า องค์กรที่จะใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่พิเศษ นั้น ให้จัดทำในลักษณะเป็นระดับชาติ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการต่อพื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษเฉพาะซึ่งรัฐบาลอาจจะประกาศอีกหลายแห่งในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ ขอให้เร่งดำเนินการโดยด่วนที่สุด
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้จัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า "อพท." มีวัตถุประสงค์เพื่อการประสานงาน และบริหารจัดการการท่องเที่ยวระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและรักษาแหล่งท่องเที่ยว สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นจัดให้มีการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
2. ให้มีคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรียกโดยย่อว่า "กพท."มีอำนาจหน้าที่จัดทำและเสนอนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีกำหนดแผนปฏิบัติการให้คำแนะนำเสนอแนะและแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการบริหารจัดการในพื้นที่แต่ละแห่ง ติดตามประเมินผล เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือจัดสรรงบประมาณเพื่อการบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยว อนุมัติแผนลงทุนและแผนการเงินขององค์การ ประกาศกำหนดพื้นที่พิเศษด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาในพื้นที่พิเศษควบคุมดูแลการดำเนินงานและการบริหาร ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนด เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ทรัพย์สินขององค์การ และสวัสดิการสิทธิประโยชน์อื่นของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
3. นโยบายและแผนยุทธศาสตร์จะเป็นกลไกสำคัญในการบริหาร การจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์นั้น จะต้องคำนึงถึงหลักการผังเมืองและสิ่งแวดล้อมที่ดี และอย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียดของเรื่อง 6 เรื่อง คือ
1) การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควบคุมการก่อสร้างให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
2) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่สมดุล
3) การสนับสนุนอุตสาหกรรมในครัวเรือนโดยใช้วัสดุท้องถิ่น
4) การมีส่วนร่วมของชุมชน
5) การพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว
6) การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการตลาดอย่างครบวงจร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 46--จบ--
-สส-
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการนอกสถานที่ ณ เกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2545 นายกรัฐมนตรีได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า องค์กรที่จะใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่พิเศษ นั้น ให้จัดทำในลักษณะเป็นระดับชาติ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการต่อพื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษเฉพาะซึ่งรัฐบาลอาจจะประกาศอีกหลายแห่งในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ ขอให้เร่งดำเนินการโดยด่วนที่สุด
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้จัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า "อพท." มีวัตถุประสงค์เพื่อการประสานงาน และบริหารจัดการการท่องเที่ยวระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและรักษาแหล่งท่องเที่ยว สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นจัดให้มีการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
2. ให้มีคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรียกโดยย่อว่า "กพท."มีอำนาจหน้าที่จัดทำและเสนอนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีกำหนดแผนปฏิบัติการให้คำแนะนำเสนอแนะและแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการบริหารจัดการในพื้นที่แต่ละแห่ง ติดตามประเมินผล เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือจัดสรรงบประมาณเพื่อการบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยว อนุมัติแผนลงทุนและแผนการเงินขององค์การ ประกาศกำหนดพื้นที่พิเศษด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาในพื้นที่พิเศษควบคุมดูแลการดำเนินงานและการบริหาร ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนด เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ทรัพย์สินขององค์การ และสวัสดิการสิทธิประโยชน์อื่นของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
3. นโยบายและแผนยุทธศาสตร์จะเป็นกลไกสำคัญในการบริหาร การจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์นั้น จะต้องคำนึงถึงหลักการผังเมืองและสิ่งแวดล้อมที่ดี และอย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียดของเรื่อง 6 เรื่อง คือ
1) การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควบคุมการก่อสร้างให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
2) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่สมดุล
3) การสนับสนุนอุตสาหกรรมในครัวเรือนโดยใช้วัสดุท้องถิ่น
4) การมีส่วนร่วมของชุมชน
5) การพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว
6) การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการตลาดอย่างครบวงจร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 46--จบ--
-สส-