คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สรุปได้ดังนี้
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 อนุมัติการจัดตั้งองค์การมหาชน โดยการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงที่ราคาน้ำมันแพง ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาด้วยว่าจะมีแนวทางดำเนินการจัดตั้งกองทุนโดยวิธีอื่นใดที่เหมาะสมกว่าการจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนหรือไม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นโดยสรุปว่า การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นองค์การมหาชนเพื่อให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลอันจะสามารถกู้เงินมาใช้ในการชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น อาจกระทำได้ในทำนองเดียวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 แนวทางนี้จะเป็นการแก้ไขปัญหาได้เป็นรูปธรรมในระยะยาวสำหรับในอนาคต และถ้ารัฐบาลประสงค์จะให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการเป็นการชั่วคราวแล้วย่อมสามารถกำหนดการยุบเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งได้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงเห็นว่า การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นองค์การมหาชนจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดเพื่อแก้ปัญหาการจัดหาเงินเพื่อนำมาชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการดำเนินการในแนวทางดังกล่าว ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องสอดคล้องกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดไว้ชัดเจน
2. ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2546ฯ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานมิได้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแต่อย่างใด แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงการคลัง อีกทั้งคณะกรรมการดังกล่าวยังมีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้องเพลิงซึ่งมิได้เกี่ยวกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีผู้บริการกองทุนนี้ในรูปของคณะกรรมการต่างหากด้วย
3. เมื่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ย่อมเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นนิติบุคคล โดยไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จึงไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี แต่จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รับผิดชอบเท่านั้น ดังนั้น จึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การดำเนินงานขององค์การมหาชนจะต้องมีระบบบุคลากรและทรัพย์สินเป็นของตนเองด้วย จึงจำเป็นต้องมีรายได้เป็นของตนเองด้วย แต่ในปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายได้และรายจ่ายจำกัดแต่เฉพาะเท่าที่กำหนดไว้ในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2546ฯ เท่านั้น กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจึงจำเป็นต้องมีรายได้ที่เพียงพอแก่การดำเนินการของกองทุนด้วย ซึ่งในกรณีนี้อาจจะกำหนดในลักษณะอย่างเดียวกับกองทุนหมู่บ้านและพัฒนาชุมชนเมืองแห่งชาติก็ได้แต่อย่างไรก็ดี ถ้ากำหนดให้ผู้ประกอบการด้านน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ควรจะต้องมีการแยกบัญชีระหว่างเงินดังกล่าวกับเงินรายได้อื่นด้วย เพราะโดยหลักเงินที่ผู้ประกอบการด้านน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเข้ากองทุนจะต้องนำไปจ่ายเป็นเงินชดเชยต่อไป
สำหรับสถาบันบริหารกองทุนพลังงานที่จะเป็นองค์กรมหาชนนั้น จะมีโครงสร้าง ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของสถาบัน
1.1 จัดหาเงินนำมาให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนำไปชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศไม่ให้สูงเกินกว่าระดับที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
1.2 ดำเนินการใด ๆ ตามนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการพลังงาน การแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนพลังงานหรือเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกพลังงานภายในประเทศ
2. อำนาจหน้าที่สำคัญของสถาบัน
2.1 ดำเนินการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบันภายใต้นโยบายรัฐบาล กพช. หรือ กบง.
2.2 จัดหาเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลกพช. หรือ กบง.
3. การบริหารจัดการ
3.1 มีคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุน ประกอบไปด้วย ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง กรรมการโดยตำแหน่ง 4 คน คือ ผู้อำนวยการสถาบัน อัยการสูงสุด อธิบดีกรมบัญชีกลาง และผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง 5 คน โดยมีผู้อำนวยการสถาบันเป็นกรรมการและเลขานุการ
3.2 ผู้ปฏิบัติงานของสถาบัน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถาบัน เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาปฏิบัติงานชั่วคราว
3.3 ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินงาน เงินกู้จากสถาบันการเงิน เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากทรัพย์สินของสถาบัน
4. การตรวจสอบ กำกับและควบคุม
4.1 การบัญชีสถาบันจัดทำตามหลักสากล
4.2 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน/บุคคลภายนอกที่คณะกรรมการแต่งตั้ง เป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผล
4.3 สถาบันทำรายงานประจำปีเสนอรัฐมนตรี
4.4 สถาบันจัดให้มีการประเมินผลการทำงานตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแต่ต้องไม่นานกว่า 1 ปี
4.5 รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการของสถาบัน
5. ขั้นตอนดำเนินการ
5.1 ขออนุมัติวงเงินกู้ยืมตามมาตรา 31 จำนวน 6,000 ล้านบาท
5.2 ขออนุมัติหลักการให้ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานคณะกรรมการบริหารสถาบัน
5.3 กระทรวงพลังงานจะนำเสนอแต่งตั้งรายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 46--จบ--
-สส-
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 อนุมัติการจัดตั้งองค์การมหาชน โดยการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงที่ราคาน้ำมันแพง ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาด้วยว่าจะมีแนวทางดำเนินการจัดตั้งกองทุนโดยวิธีอื่นใดที่เหมาะสมกว่าการจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนหรือไม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นโดยสรุปว่า การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นองค์การมหาชนเพื่อให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลอันจะสามารถกู้เงินมาใช้ในการชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น อาจกระทำได้ในทำนองเดียวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 แนวทางนี้จะเป็นการแก้ไขปัญหาได้เป็นรูปธรรมในระยะยาวสำหรับในอนาคต และถ้ารัฐบาลประสงค์จะให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการเป็นการชั่วคราวแล้วย่อมสามารถกำหนดการยุบเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งได้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงเห็นว่า การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นองค์การมหาชนจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดเพื่อแก้ปัญหาการจัดหาเงินเพื่อนำมาชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการดำเนินการในแนวทางดังกล่าว ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องสอดคล้องกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดไว้ชัดเจน
2. ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2546ฯ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานมิได้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแต่อย่างใด แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงการคลัง อีกทั้งคณะกรรมการดังกล่าวยังมีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้องเพลิงซึ่งมิได้เกี่ยวกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีผู้บริการกองทุนนี้ในรูปของคณะกรรมการต่างหากด้วย
3. เมื่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ย่อมเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นนิติบุคคล โดยไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จึงไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี แต่จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รับผิดชอบเท่านั้น ดังนั้น จึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การดำเนินงานขององค์การมหาชนจะต้องมีระบบบุคลากรและทรัพย์สินเป็นของตนเองด้วย จึงจำเป็นต้องมีรายได้เป็นของตนเองด้วย แต่ในปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายได้และรายจ่ายจำกัดแต่เฉพาะเท่าที่กำหนดไว้ในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2546ฯ เท่านั้น กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจึงจำเป็นต้องมีรายได้ที่เพียงพอแก่การดำเนินการของกองทุนด้วย ซึ่งในกรณีนี้อาจจะกำหนดในลักษณะอย่างเดียวกับกองทุนหมู่บ้านและพัฒนาชุมชนเมืองแห่งชาติก็ได้แต่อย่างไรก็ดี ถ้ากำหนดให้ผู้ประกอบการด้านน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ควรจะต้องมีการแยกบัญชีระหว่างเงินดังกล่าวกับเงินรายได้อื่นด้วย เพราะโดยหลักเงินที่ผู้ประกอบการด้านน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเข้ากองทุนจะต้องนำไปจ่ายเป็นเงินชดเชยต่อไป
สำหรับสถาบันบริหารกองทุนพลังงานที่จะเป็นองค์กรมหาชนนั้น จะมีโครงสร้าง ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของสถาบัน
1.1 จัดหาเงินนำมาให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนำไปชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศไม่ให้สูงเกินกว่าระดับที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
1.2 ดำเนินการใด ๆ ตามนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการพลังงาน การแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนพลังงานหรือเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกพลังงานภายในประเทศ
2. อำนาจหน้าที่สำคัญของสถาบัน
2.1 ดำเนินการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบันภายใต้นโยบายรัฐบาล กพช. หรือ กบง.
2.2 จัดหาเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลกพช. หรือ กบง.
3. การบริหารจัดการ
3.1 มีคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุน ประกอบไปด้วย ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง กรรมการโดยตำแหน่ง 4 คน คือ ผู้อำนวยการสถาบัน อัยการสูงสุด อธิบดีกรมบัญชีกลาง และผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง 5 คน โดยมีผู้อำนวยการสถาบันเป็นกรรมการและเลขานุการ
3.2 ผู้ปฏิบัติงานของสถาบัน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถาบัน เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาปฏิบัติงานชั่วคราว
3.3 ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินงาน เงินกู้จากสถาบันการเงิน เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากทรัพย์สินของสถาบัน
4. การตรวจสอบ กำกับและควบคุม
4.1 การบัญชีสถาบันจัดทำตามหลักสากล
4.2 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน/บุคคลภายนอกที่คณะกรรมการแต่งตั้ง เป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผล
4.3 สถาบันทำรายงานประจำปีเสนอรัฐมนตรี
4.4 สถาบันจัดให้มีการประเมินผลการทำงานตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแต่ต้องไม่นานกว่า 1 ปี
4.5 รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการของสถาบัน
5. ขั้นตอนดำเนินการ
5.1 ขออนุมัติวงเงินกู้ยืมตามมาตรา 31 จำนวน 6,000 ล้านบาท
5.2 ขออนุมัติหลักการให้ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานคณะกรรมการบริหารสถาบัน
5.3 กระทรวงพลังงานจะนำเสนอแต่งตั้งรายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 46--จบ--
-สส-