คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอว่า ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการจัดทำวิสัยทัศน์ นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง โดยมีการประชุมหารือและระดมความคิดจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคณะที่ปรึกษาวิชาการ โดยประสานงานกับที่ปรึกษาของสำนักงบประมาณในการกำหนดเป้าหมายการให้บริการสาธารณะและตัวชี้วัดผลงานของกระทรวงฯ เพื่อให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกัน และอยู่ในขีดความสามารถที่จะดำเนินการได้อย่างบรรลุผลสัมฤทธิ์ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. วิสัยทัศน์ คืนธรรมชาติให้สังคมไทย และผลักดันให้การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ และเป็นรากฐานของการพัฒนา ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการเชิงรุก โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และยึดหลักธรรมาภิบาล
2. พันธกิจ สงวน อนุรักษ์ พัฒนา และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
3. วัตถุประสงค์
- วัตถุประสงค์เร่งด่วน
1) เพื่อเร่งรัดฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และมีแนวโน้มจะนำไปสู่ปัญหาวิกฤตให้กลับฟื้นความสมบูรณ์
2) เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและลดปัญหามลพิษในพื้นที่วิกฤต
3) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรของรัฐ และเพิ่มภูมิปัญญาของสังคมทุกระดับให้สามารถบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้อย่างสัมฤทธิ์ผล
- วัตถุประสงค์ระยะปานกลาง - ระยะยาว
1) เพื่อดำรงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งความสมดุลของระบบนิเวศและคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์เพื่อเป็นฐานทรัพยากรในการพัฒนาประเทศ
2) เพื่อพัฒนาการนำทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นทุนทางสังคมไปใช้อย่างชาญฉลาด เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศ
3) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการแบบบูรณาการเชิงรุก ครอบคลุมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกประเภท โดยมีดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน
4) เพื่อปฏิรูป ทบทวน บัญญัติกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านมลพิษให้สอดคล้องกับแนวนโยบายทั้งระบบ ตลอดจนให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
4. เป้าหมายการให้บริการสาธารณะ
4.1 ประชาชนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเต็มศักยภาพและเป็นธรรม
4.2 ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพสมบูรณ์และยั่งยืน
4.3 คุณภาพสิ่งแวดล้อม
4.4 ประชาชนได้เรียนรู้และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
4.5 การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ผลิตภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และทันสมัย
5. นโยบาย ประกอบด้วยนโยบายหลัก 3 ด้าน คือ นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายด้านบริหารจัดการ
6. ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก 14 กลยุทธ์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สงวน คุ้มครอง อนุรักษ์ ใช้ประโยชน์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพโดยประชาชนมีส่วนร่วม
กลยุทธ์ที่ 1.1 ลดความขัดแย้ง เพิ่มความร่วมมือ
กลยุทธ์ที่ 1.2 สงวน อนุรักษ์ พัฒนาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นฐานชุมชน
กลยุทธ์ที่ 1.3 สร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 กำกับ ดูแล ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และลดมลพิษ
กลยุทธ์ที่ 2.1 ป้องกัน ควบคุม และลดมลพิษ
กลยุทธ์ที่ 2.2 ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านกิจกรรมเชิงบวกเพื่อให้ประชาชนและองค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา คุ้มครอง และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนอย่างเป็นธรรม
กลยุทธ์ที่ 3.1 สร้างความพร้อมของชุมชนและองค์กรท้องถิ่นเพื่อให้เข้าถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนาแหล่งความรู้ และเติมภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการแบบบูรณาการเชิงรุก
กลยุทธที่ 4.1 เร่งรัดปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย
กลยุทธ์ที่ 4.2 บริหารจัดการเชิงพื้นที่โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
กลยุทธ์ที่ 4.3 เสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กร
กลยุทธ์ที่ 4.4 วิจัยและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการให้บริการประชาชน
กลยุทธ์ที่ 4.5 ประชาสัมพันธ์เชิงรุกในระดับภาพรวมและในเชิงลึกระดับพื้นที่ และพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
กลยุทธ์ที่ 4.6 เพิ่มบทบาทในเวทีโลก เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศและพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
กลยุทธ์ที่ 4.7 สร้างกลไกและติดตามการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และประเมินผลการดำเนินงานโดยมีตัวชี้วัดชัดเจน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มีนาคม 46--จบ--
-สส-
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอว่า ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการจัดทำวิสัยทัศน์ นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง โดยมีการประชุมหารือและระดมความคิดจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคณะที่ปรึกษาวิชาการ โดยประสานงานกับที่ปรึกษาของสำนักงบประมาณในการกำหนดเป้าหมายการให้บริการสาธารณะและตัวชี้วัดผลงานของกระทรวงฯ เพื่อให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกัน และอยู่ในขีดความสามารถที่จะดำเนินการได้อย่างบรรลุผลสัมฤทธิ์ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. วิสัยทัศน์ คืนธรรมชาติให้สังคมไทย และผลักดันให้การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ และเป็นรากฐานของการพัฒนา ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการเชิงรุก โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และยึดหลักธรรมาภิบาล
2. พันธกิจ สงวน อนุรักษ์ พัฒนา และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
3. วัตถุประสงค์
- วัตถุประสงค์เร่งด่วน
1) เพื่อเร่งรัดฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และมีแนวโน้มจะนำไปสู่ปัญหาวิกฤตให้กลับฟื้นความสมบูรณ์
2) เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและลดปัญหามลพิษในพื้นที่วิกฤต
3) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรของรัฐ และเพิ่มภูมิปัญญาของสังคมทุกระดับให้สามารถบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้อย่างสัมฤทธิ์ผล
- วัตถุประสงค์ระยะปานกลาง - ระยะยาว
1) เพื่อดำรงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งความสมดุลของระบบนิเวศและคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์เพื่อเป็นฐานทรัพยากรในการพัฒนาประเทศ
2) เพื่อพัฒนาการนำทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นทุนทางสังคมไปใช้อย่างชาญฉลาด เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศ
3) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการแบบบูรณาการเชิงรุก ครอบคลุมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกประเภท โดยมีดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน
4) เพื่อปฏิรูป ทบทวน บัญญัติกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านมลพิษให้สอดคล้องกับแนวนโยบายทั้งระบบ ตลอดจนให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
4. เป้าหมายการให้บริการสาธารณะ
4.1 ประชาชนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเต็มศักยภาพและเป็นธรรม
4.2 ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพสมบูรณ์และยั่งยืน
4.3 คุณภาพสิ่งแวดล้อม
4.4 ประชาชนได้เรียนรู้และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
4.5 การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ผลิตภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และทันสมัย
5. นโยบาย ประกอบด้วยนโยบายหลัก 3 ด้าน คือ นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายด้านบริหารจัดการ
6. ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก 14 กลยุทธ์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สงวน คุ้มครอง อนุรักษ์ ใช้ประโยชน์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพโดยประชาชนมีส่วนร่วม
กลยุทธ์ที่ 1.1 ลดความขัดแย้ง เพิ่มความร่วมมือ
กลยุทธ์ที่ 1.2 สงวน อนุรักษ์ พัฒนาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นฐานชุมชน
กลยุทธ์ที่ 1.3 สร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 กำกับ ดูแล ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และลดมลพิษ
กลยุทธ์ที่ 2.1 ป้องกัน ควบคุม และลดมลพิษ
กลยุทธ์ที่ 2.2 ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านกิจกรรมเชิงบวกเพื่อให้ประชาชนและองค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา คุ้มครอง และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนอย่างเป็นธรรม
กลยุทธ์ที่ 3.1 สร้างความพร้อมของชุมชนและองค์กรท้องถิ่นเพื่อให้เข้าถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนาแหล่งความรู้ และเติมภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการแบบบูรณาการเชิงรุก
กลยุทธที่ 4.1 เร่งรัดปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย
กลยุทธ์ที่ 4.2 บริหารจัดการเชิงพื้นที่โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
กลยุทธ์ที่ 4.3 เสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กร
กลยุทธ์ที่ 4.4 วิจัยและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการให้บริการประชาชน
กลยุทธ์ที่ 4.5 ประชาสัมพันธ์เชิงรุกในระดับภาพรวมและในเชิงลึกระดับพื้นที่ และพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
กลยุทธ์ที่ 4.6 เพิ่มบทบาทในเวทีโลก เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศและพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
กลยุทธ์ที่ 4.7 สร้างกลไกและติดตามการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และประเมินผลการดำเนินงานโดยมีตัวชี้วัดชัดเจน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มีนาคม 46--จบ--
-สส-