คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ การให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออลส่วนที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม ณ กรุงมอนทรีออล ในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกพิธีสารมอนทรีออล ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 15 - 17 กันยายน พ.ศ. 2540 และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออลฯ ดังกล่าว
ทั้งนี้ พิธีสารมอนทรีออลส่วนที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม ณ กรุงมอนทรีออล มีสาระสำคัญเพื่อย่นระยะเวลาการเลิกใช้สารเมทิลโบรไมด์ รวมทั้งกำหนดให้ประเทศภาคีจัดระบบการควบคุมการนำเข้าและส่งออกสารควบคุมตามพิธีสารฯ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นชอบด้วยแล้ว ดังนี้
1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นว่า การให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออลส่วนที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม ณ กรุงมอนทรีออล จะทำให้การควบคุมสารทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของโลกต่อไปในอนาคต
2. กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออลส่วนที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมโดยพิจารณาเห็นว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีความพร้อมในการอนุวัติตามพันธกรณีใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการให้สัตยาบัน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องมีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเทศไทยควรให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออลส่วนที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม ณ กรุงมอนทรีออล ดังนี้
3.1 ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออลแล้ว เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 และเคยให้สัตยาบันพิธีสารมอลทรีออลส่วนที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วถึง 2 ครั้ง
3.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรเกี่ยวข้องกับพิธีสารนี้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานควบคุมเมทิลโบรไมด์ ซึ่งเป็นสารที่ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตเพียงแต่นำเข้ามาใช้เท่านั้น หากประเทศผู้ผลิตเลิกผลิตเมทิลโบรไมด์ตามพันธกรณีแล้ว ประเทศไทยก็ต้องเลิกใช้ตามไปด้วย
3.3 สาระสำคัญที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมพิธีสารมอนทรีออลในครั้งนี้เป็นผลมาจากการประชุมภาคีสมาชิก ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 15 - 17 กันยายน 2540 ณ กรุงมอนทรีออล โดยมีพันธกรณีที่เพิ่มขึ้นจากเดิม คือ ปี พ.ศ. 2548 ลดปริมาณการใช้และการผลิตจากค่าเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2538 - 2541 ลด 20% และปี พ.ศ. 2558 เลิกการใช้และการผลิตเว้นแต่ประเทศภาคีสมาชิกอนุญาตเมื่อเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ซึ่งในส่วนของเมทิลโบรไมด์ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มีนาคม 46--จบ--
-สส-
ทั้งนี้ พิธีสารมอนทรีออลส่วนที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม ณ กรุงมอนทรีออล มีสาระสำคัญเพื่อย่นระยะเวลาการเลิกใช้สารเมทิลโบรไมด์ รวมทั้งกำหนดให้ประเทศภาคีจัดระบบการควบคุมการนำเข้าและส่งออกสารควบคุมตามพิธีสารฯ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นชอบด้วยแล้ว ดังนี้
1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นว่า การให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออลส่วนที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม ณ กรุงมอนทรีออล จะทำให้การควบคุมสารทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของโลกต่อไปในอนาคต
2. กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออลส่วนที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมโดยพิจารณาเห็นว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีความพร้อมในการอนุวัติตามพันธกรณีใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการให้สัตยาบัน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องมีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเทศไทยควรให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออลส่วนที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม ณ กรุงมอนทรีออล ดังนี้
3.1 ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออลแล้ว เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 และเคยให้สัตยาบันพิธีสารมอลทรีออลส่วนที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วถึง 2 ครั้ง
3.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรเกี่ยวข้องกับพิธีสารนี้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานควบคุมเมทิลโบรไมด์ ซึ่งเป็นสารที่ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตเพียงแต่นำเข้ามาใช้เท่านั้น หากประเทศผู้ผลิตเลิกผลิตเมทิลโบรไมด์ตามพันธกรณีแล้ว ประเทศไทยก็ต้องเลิกใช้ตามไปด้วย
3.3 สาระสำคัญที่ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมพิธีสารมอนทรีออลในครั้งนี้เป็นผลมาจากการประชุมภาคีสมาชิก ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 15 - 17 กันยายน 2540 ณ กรุงมอนทรีออล โดยมีพันธกรณีที่เพิ่มขึ้นจากเดิม คือ ปี พ.ศ. 2548 ลดปริมาณการใช้และการผลิตจากค่าเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2538 - 2541 ลด 20% และปี พ.ศ. 2558 เลิกการใช้และการผลิตเว้นแต่ประเทศภาคีสมาชิกอนุญาตเมื่อเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ซึ่งในส่วนของเมทิลโบรไมด์ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มีนาคม 46--จบ--
-สส-