แท็ก
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
กระทรวงศึกษาธิการ
ทบวงมหาวิทยาลัย
คณะรัฐมนตรี
ประกัน
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาศึกษาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ และมอบให้กระทรวงศึกษาธิการทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) รับไปพิจารณาดำเนินการ
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการการศึกษาได้พิจารณาเห็นว่าระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นมาตรการสำคัญของการปฏิรูป การเรียนรู้ เป็นระบบและวิธีการใหม่ที่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาไทยจำเป็นต้องเริ่มต้นให้ถูกทาง ถูกวิธีและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ คณะกรรมาธิการฯ จึงได้ดำเนินการพิจารณาศึกษาเรื่องนี้เพื่อให้ทราบปัญหาและเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพที่ถูกต้องเหมาะสม และโดยที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจบริหารการศึกษาไปยังระดับท้องถิ่นและสถานศึกษา จึงมีความจำเป็นต้องมีระบบการประกันคุณภาพ ทั้งนี้ จะมีทั้งการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและการประเมินภายนอก ฉะนั้นการประกันคุณภาพจึงเป็นการประกันคุณภาพเพื่อผู้เรียน ในการจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีหลักการที่ต้องพิจารณาคือ ระบบการประกันคุณภาพ มาตรฐานการศึกษา และการประกันคุณภาพ การประกันคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการในปัจจุบันได้พัฒนาบนฐานความคิดการศึกษาในระบบซึ่งจัดแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาอุดมศึกษา
1. การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการ ดังนี้
1.1 การออกประกาศต่าง ๆ
1.2 การให้หน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัดดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
1.3 การได้รับเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติมาเป็นกรอบในการประเมินคุณภาพภายนอก
1.4 ความก้าวหน้าของการประเมินคุณภาพภายในจากการศึกษาพบว่า กรมวิชาการมีบทบาทในลักษณะเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการศึกษาและพัฒนาระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 การจัดกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายในโดยหน่วยงานต้นสังกัด กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยยึดถือองค์ประกอบด้านคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เป็นแกนร่วมเป็นจำนวน 9 องค์ประกอบ
2.2 การพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในสถาบัน
3. การดำเนินการประกันคุณภาพภายนอก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้มีการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่ง อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ (สมศ.)
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ
1. ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ
1) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 อย่างสมบูรณ์ ขาดความเชื่อมโยงของระบบประกันคุณภาพภายใน คุณภาพภายนอก การศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา
2) ระบบประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งท้องถิ่น ขาดมาตรฐานกลาง ความสอดคล้องและความยืดหยุ่นที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
3) ผู้ประเมินภายนอกอยู่ในวงจำกัด ขาดหลักการที่ชัดเจนของการจัดผู้ประเมินภายนอกในการปฏิบัติงาน ขาดความเชื่อมโยงที่ชัดเจนของการประกันคุณภาพภายในและภายนอก
4) ยังไม่มีความชัดเจนของการประกันคุณภาพของการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยและยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันของการประกันคุณภาพ
2. ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ
1) ควรเร่งปรับปรุงระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการให้มีความเชื่อมโยงทั้งระบบประกันคุณภาพภายในและภายนอก และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา
2) ควรกำหนดมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ของการศึกษาทั้งระดับขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่างสังกัด ให้มีการยืดหยุ่นและเหมาะสมกับท้องถิ่นและให้มีมาตรฐานกลาง
3) องค์ประกอบของคณะผู้ประเมินภายนอกควรมีความหลากหลายและมีความเป็นผู้แทนภาคประชาชน ตัวแทนชุมชน และผู้ปกครอง
3. แนวทางการดำเนินการต่อไป
1) เสนอสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ทำการประเมินโครงการนำร่องการประเมินคุณภาพภายนอก และนำผลการประเมินโครงการมาใช้ปรับปรุงเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานประเมินคุณภาพภายนอกก่อนที่จะขยายการดำเนินงานประเมินภายนอกไปทั่วประเทศ
2) เสนอสภาผู้แทนราษฎรจัดทำโครงการวิจัยผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อติดตามผลการดำเนินงานประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งการประเมินภายในและภายนอกที่จัดทำอยู่ในปัจจุบัน และนำเสนอแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3) เสนอกระทรวงศึกษาธิการให้นำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการศึกษาไปพิจารณาดำเนินการอย่างจริงจัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มีนาคม 46--จบ--
-สส-
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการการศึกษาได้พิจารณาเห็นว่าระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นมาตรการสำคัญของการปฏิรูป การเรียนรู้ เป็นระบบและวิธีการใหม่ที่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาไทยจำเป็นต้องเริ่มต้นให้ถูกทาง ถูกวิธีและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ คณะกรรมาธิการฯ จึงได้ดำเนินการพิจารณาศึกษาเรื่องนี้เพื่อให้ทราบปัญหาและเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพที่ถูกต้องเหมาะสม และโดยที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจบริหารการศึกษาไปยังระดับท้องถิ่นและสถานศึกษา จึงมีความจำเป็นต้องมีระบบการประกันคุณภาพ ทั้งนี้ จะมีทั้งการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและการประเมินภายนอก ฉะนั้นการประกันคุณภาพจึงเป็นการประกันคุณภาพเพื่อผู้เรียน ในการจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีหลักการที่ต้องพิจารณาคือ ระบบการประกันคุณภาพ มาตรฐานการศึกษา และการประกันคุณภาพ การประกันคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการในปัจจุบันได้พัฒนาบนฐานความคิดการศึกษาในระบบซึ่งจัดแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาอุดมศึกษา
1. การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการ ดังนี้
1.1 การออกประกาศต่าง ๆ
1.2 การให้หน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัดดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
1.3 การได้รับเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติมาเป็นกรอบในการประเมินคุณภาพภายนอก
1.4 ความก้าวหน้าของการประเมินคุณภาพภายในจากการศึกษาพบว่า กรมวิชาการมีบทบาทในลักษณะเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการศึกษาและพัฒนาระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 การจัดกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายในโดยหน่วยงานต้นสังกัด กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยยึดถือองค์ประกอบด้านคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เป็นแกนร่วมเป็นจำนวน 9 องค์ประกอบ
2.2 การพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในสถาบัน
3. การดำเนินการประกันคุณภาพภายนอก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้มีการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่ง อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ (สมศ.)
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ
1. ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ
1) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 อย่างสมบูรณ์ ขาดความเชื่อมโยงของระบบประกันคุณภาพภายใน คุณภาพภายนอก การศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา
2) ระบบประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งท้องถิ่น ขาดมาตรฐานกลาง ความสอดคล้องและความยืดหยุ่นที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
3) ผู้ประเมินภายนอกอยู่ในวงจำกัด ขาดหลักการที่ชัดเจนของการจัดผู้ประเมินภายนอกในการปฏิบัติงาน ขาดความเชื่อมโยงที่ชัดเจนของการประกันคุณภาพภายในและภายนอก
4) ยังไม่มีความชัดเจนของการประกันคุณภาพของการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยและยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันของการประกันคุณภาพ
2. ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ
1) ควรเร่งปรับปรุงระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการให้มีความเชื่อมโยงทั้งระบบประกันคุณภาพภายในและภายนอก และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา
2) ควรกำหนดมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ของการศึกษาทั้งระดับขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่างสังกัด ให้มีการยืดหยุ่นและเหมาะสมกับท้องถิ่นและให้มีมาตรฐานกลาง
3) องค์ประกอบของคณะผู้ประเมินภายนอกควรมีความหลากหลายและมีความเป็นผู้แทนภาคประชาชน ตัวแทนชุมชน และผู้ปกครอง
3. แนวทางการดำเนินการต่อไป
1) เสนอสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ทำการประเมินโครงการนำร่องการประเมินคุณภาพภายนอก และนำผลการประเมินโครงการมาใช้ปรับปรุงเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานประเมินคุณภาพภายนอกก่อนที่จะขยายการดำเนินงานประเมินภายนอกไปทั่วประเทศ
2) เสนอสภาผู้แทนราษฎรจัดทำโครงการวิจัยผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อติดตามผลการดำเนินงานประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งการประเมินภายในและภายนอกที่จัดทำอยู่ในปัจจุบัน และนำเสนอแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3) เสนอกระทรวงศึกษาธิการให้นำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการศึกษาไปพิจารณาดำเนินการอย่างจริงจัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มีนาคม 46--จบ--
-สส-