คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST-EC ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2546 ณ กรุงโคมลัมโบ ประเทศศรีลังกา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST-EC ครั้งที่ 4
1.1 การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA)
อินเดียและศรีลังการได้แสดงท่าทีผลักดันที่จะให้มีการจัดทำเขตการค้าเสรี BIMST-EC โดยเร็วอย่างไรก็ดี ประเทศสมาชิกยังมีท่าทีแตกต่างกัน โดยในขณะที่พม่าและบังคลาเทศซึ่งยังขาดความพร้อมด้านเศรษฐกิจต้องการชะลอเรื่อง สำหรับฝ่ายไทยได้แสดงท่าทีไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอให้มีการจัดทำเขตการค้าเสรีโดยเร็ว แต่ก็ได้แสดงความห่วงใยต่อความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ซึ่งอาจทำให้การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่ม BIMST-EC จึงควรที่จะเห็นชอบในหลักการในเชิงกว้าง และให้มีการเจรจาจนพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็นเขตการค้าเสรีในที่สุด ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้คณะทำงานร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมระดับผู้นำของ BIMST-EC ที่จะจัดขึ้นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ณ ประเทศไทย
1.2 การตั้งสำนักเลขาธิการ BIMST-EC
ปัจจุบันนี้ BIMST-EC ยังไม่มีสำนักเลขาธิการถาวร แต่ประเทศสมาชิกที่เป็นเจ้าภาพการประชุมในแต่ละปี จะรับหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มมีความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง และมีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ฝ่ายไทยจึงได้เสนอให้มีการตั้งสำนักเลขาธิการ BIMST-EC ขึ้นอย่างถาวร ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบกับข้อเสนอของไทย
1.3 ความร่วมมือระหว่าง BIMST-EC กับองค์กรอื่น ๆ ไทยได้เสนอว่า ไทยและพม่าเป็นสมาชิกอาเซียน ดังนั้นจึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเอเชียใต้ ซึ่งจะเป็นการขยายความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับเอเชียใต้ต่อไป
นอกจากนั้น ที่ประชุมมีความเห็นว่าสมาชิก BIMST-EC ควรประสานท่าทีร่วมกันในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกันในเวที WTO โดยผู้แทนถาวรประจำ WTO ของสมาชิกควรมีการหารือกันเป็นประจำ
1.4 โครงการ "Vsit BIMST-EC Year"
ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับกิจกรรมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวโดยกำหนดโครงการ "Vsit BIMST-EC Year" ขึ้นในปี 2547 โดยประเทศไทยได้รับที่จะเป็นผู้ประสานงานโครงการ ซึ่งจะช่วยให้การท่องเที่ยวของไทยและของสมาชิกในภูมิภาคขยายตัวมากขึ้น
1.5 การอำนวยความสะดวกทางการค้า
ที่ประชุมเห็นชอบให้เร่งจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านศุลกากร และจัดให้มีการประชุมในกลางปี2546 และมอบหมายให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญสิ่งทอทบทวนรายงานผลการศึกษาของเอสแคป เรื่องความร่วมมือสิ่งทอภายหลังการยกเลิกข้อตกลงสิ่งทอในปี 2548 และจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ นอกจากนี้ ให้มีการพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมและขนส่งทางอากาศและทางบก รวมทั้งเรียกร้องให้ดำเนินการในเรื่องตรวจคนเข้าเมือง การธนาคาร และการลงทุนในเรื่องการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาค (e-BIMST-EC) เพื่อเร่งขยายการค้าและการลงทุนในภูมิภาค BIMST-EC
1.6 กำหนดการประชุมครั้งต่อไป
ที่ประชุมเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้าครั้งต่อไป ก่อนหน้าการประชุมสุดยอดที่ประเทศไทย
2. การหารือทวิภาคี
2.1 การหารือกับอินเดีย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย (นายราชีพ ประทาป รูดี) ถึงแนวทางในการเร่งรัดการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีตามที่ผู้นำของทั้งสองประเทศได้เห็นชอบในหลักการ และได้มีการลงนามในบันทึกความตกลง (Agreed Minutes) ว่าทั้งสองฝ่ายจะเร่งรัดการเจรจาจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับอินเดียให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2546
2.2 การหารือกับศรีลังกา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และคุ้มครองผู้บริโภคของศรีลังกา (นายระวี การุณ นายาเก) เกี่ยวกับการขยายการค้าระหว่างกัน และฝ่ายศรีลังกาได้เสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับศรีลังกา ฝ่ายไทยได้แจ้งว่า การจัดทำเขตการค้าเสรีอาจต้องใช้เวลานาน แต่สิ่งที่สามารถดำเนินการได้เร็วกว่าคือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถดำเนินการได้รวดเร็วกว่า และเพื่อให้ผลการหารือครั้งนี้มีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานร่วมขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อพิจารณารายละเอียดแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันต่อไป นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือถึงความคืบหน้าการนำระบบการค้าหักบัญชี (Account Trade) มาใช้เพื่อเพิ่มการค้าระหว่างกัน และไทยได้เสนอให้มีการพัฒนาการเชื่อมโยงคมนาคมทางอากาศระหว่างกัน เพื่อขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองฝ่าย
2.3 การหารือกับบังคลาเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของบังคลาเทศ(Mr. Amir Khosru Mahmud Chowdhury) ถึงแนวโน้มการค้าของทั้งสองประเทศ บังคลาเทศได้ขอความช่วยเหลือจากไทยในการพัฒนาด้านการเกษตรและสินค้าเกษตรบางชนิด เช่น ผลไม้ ผัก และไม้ตัดดอก เป็นต้น ซึ่งไทยได้ตอบรับที่จะให้ความช่วยเหลือแก่บังคลาเทศ เนื่องจากไทยมีความชำนาญทางด้านนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มีนาคม 46--จบ--
-สส-
1. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMST-EC ครั้งที่ 4
1.1 การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA)
อินเดียและศรีลังการได้แสดงท่าทีผลักดันที่จะให้มีการจัดทำเขตการค้าเสรี BIMST-EC โดยเร็วอย่างไรก็ดี ประเทศสมาชิกยังมีท่าทีแตกต่างกัน โดยในขณะที่พม่าและบังคลาเทศซึ่งยังขาดความพร้อมด้านเศรษฐกิจต้องการชะลอเรื่อง สำหรับฝ่ายไทยได้แสดงท่าทีไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอให้มีการจัดทำเขตการค้าเสรีโดยเร็ว แต่ก็ได้แสดงความห่วงใยต่อความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ซึ่งอาจทำให้การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่ม BIMST-EC จึงควรที่จะเห็นชอบในหลักการในเชิงกว้าง และให้มีการเจรจาจนพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็นเขตการค้าเสรีในที่สุด ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้คณะทำงานร่างกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมระดับผู้นำของ BIMST-EC ที่จะจัดขึ้นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ณ ประเทศไทย
1.2 การตั้งสำนักเลขาธิการ BIMST-EC
ปัจจุบันนี้ BIMST-EC ยังไม่มีสำนักเลขาธิการถาวร แต่ประเทศสมาชิกที่เป็นเจ้าภาพการประชุมในแต่ละปี จะรับหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มมีความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง และมีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ฝ่ายไทยจึงได้เสนอให้มีการตั้งสำนักเลขาธิการ BIMST-EC ขึ้นอย่างถาวร ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบกับข้อเสนอของไทย
1.3 ความร่วมมือระหว่าง BIMST-EC กับองค์กรอื่น ๆ ไทยได้เสนอว่า ไทยและพม่าเป็นสมาชิกอาเซียน ดังนั้นจึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเอเชียใต้ ซึ่งจะเป็นการขยายความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับเอเชียใต้ต่อไป
นอกจากนั้น ที่ประชุมมีความเห็นว่าสมาชิก BIMST-EC ควรประสานท่าทีร่วมกันในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกันในเวที WTO โดยผู้แทนถาวรประจำ WTO ของสมาชิกควรมีการหารือกันเป็นประจำ
1.4 โครงการ "Vsit BIMST-EC Year"
ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับกิจกรรมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวโดยกำหนดโครงการ "Vsit BIMST-EC Year" ขึ้นในปี 2547 โดยประเทศไทยได้รับที่จะเป็นผู้ประสานงานโครงการ ซึ่งจะช่วยให้การท่องเที่ยวของไทยและของสมาชิกในภูมิภาคขยายตัวมากขึ้น
1.5 การอำนวยความสะดวกทางการค้า
ที่ประชุมเห็นชอบให้เร่งจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านศุลกากร และจัดให้มีการประชุมในกลางปี2546 และมอบหมายให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญสิ่งทอทบทวนรายงานผลการศึกษาของเอสแคป เรื่องความร่วมมือสิ่งทอภายหลังการยกเลิกข้อตกลงสิ่งทอในปี 2548 และจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ นอกจากนี้ ให้มีการพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมและขนส่งทางอากาศและทางบก รวมทั้งเรียกร้องให้ดำเนินการในเรื่องตรวจคนเข้าเมือง การธนาคาร และการลงทุนในเรื่องการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาค (e-BIMST-EC) เพื่อเร่งขยายการค้าและการลงทุนในภูมิภาค BIMST-EC
1.6 กำหนดการประชุมครั้งต่อไป
ที่ประชุมเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้าครั้งต่อไป ก่อนหน้าการประชุมสุดยอดที่ประเทศไทย
2. การหารือทวิภาคี
2.1 การหารือกับอินเดีย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย (นายราชีพ ประทาป รูดี) ถึงแนวทางในการเร่งรัดการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีตามที่ผู้นำของทั้งสองประเทศได้เห็นชอบในหลักการ และได้มีการลงนามในบันทึกความตกลง (Agreed Minutes) ว่าทั้งสองฝ่ายจะเร่งรัดการเจรจาจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับอินเดียให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2546
2.2 การหารือกับศรีลังกา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และคุ้มครองผู้บริโภคของศรีลังกา (นายระวี การุณ นายาเก) เกี่ยวกับการขยายการค้าระหว่างกัน และฝ่ายศรีลังกาได้เสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับศรีลังกา ฝ่ายไทยได้แจ้งว่า การจัดทำเขตการค้าเสรีอาจต้องใช้เวลานาน แต่สิ่งที่สามารถดำเนินการได้เร็วกว่าคือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถดำเนินการได้รวดเร็วกว่า และเพื่อให้ผลการหารือครั้งนี้มีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานร่วมขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อพิจารณารายละเอียดแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันต่อไป นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือถึงความคืบหน้าการนำระบบการค้าหักบัญชี (Account Trade) มาใช้เพื่อเพิ่มการค้าระหว่างกัน และไทยได้เสนอให้มีการพัฒนาการเชื่อมโยงคมนาคมทางอากาศระหว่างกัน เพื่อขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองฝ่าย
2.3 การหารือกับบังคลาเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของบังคลาเทศ(Mr. Amir Khosru Mahmud Chowdhury) ถึงแนวโน้มการค้าของทั้งสองประเทศ บังคลาเทศได้ขอความช่วยเหลือจากไทยในการพัฒนาด้านการเกษตรและสินค้าเกษตรบางชนิด เช่น ผลไม้ ผัก และไม้ตัดดอก เป็นต้น ซึ่งไทยได้ตอบรับที่จะให้ความช่วยเหลือแก่บังคลาเทศ เนื่องจากไทยมีความชำนาญทางด้านนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มีนาคม 46--จบ--
-สส-