คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเซอร์เบียและมอนเตเนโกร (สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย) ในรูปแบบของหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตระหว่างคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก กับคณะทูตถาวรแห่งเซอร์เบียและมอนเตเนโกรประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ในช่วงปี 2540 - 2543 สถานการณ์ภายในสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียยังมีความไม่สงบสืบเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างชนชาติ กระทรวงการต่างประเทศจึงได้ชะลอการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตออกไป ต่อมาเมื่อปลายปี 2543 ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหพันธ์สาธารณรัฐยูโก-สลาเวีย โดยมีการเลือกตั้งทั่วไป และรัฐบาลชุดใหม่ซึ่งชนะการเลือกตั้งได้รับการยอมรับจากนานาชาติในการเข้าบริหารประเทศ ส่งผลให้สมัชชาสหประชาชาติได้พิจารณารับสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียเข้าเป็นสมาชิกใหม่ กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เริ่มทาบทามสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน โดยประสานกับคณะทูตถาวรของสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กเกี่ยวกับรูปแบบในการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ และได้ตกลงที่จะดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ ในรูปแบบหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตระหว่างกันโดยมีข้อความหลักในหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าวว่า "…the Government of the Kingdom of Thailand has agreed toexchange with the Government of Serbia and Montenegro diplomatic envoys with the rank of ambassador …"ซึ่งตามข้อบัญญัติในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 มิได้กำหนดรูปแบบของการสถาปนา ดังนั้น การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันโดยหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตจึงสามารถกระทำได้และรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียได้ยอมรับสาระในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนของไทยแล้ว หลังจากนั้นได้มีหนังสือแจ้งเลขาธิการสหประชาชาติว่า ได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "เซอร์เบียและมอนเตเนโกร" กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เสนอให้การสถาปนาความสัมพันธ์ในครั้งนี้ เป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเซอร์เบียและมอนเตเนโกรในรูปแบบหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตระหว่างคณะทูตถาวรของไทยฯ กับคณะทูตถาวรของเซอร์เบียและมอนเตเนโกรฯประจำนครนิวยอร์กต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 เมษายน 2546--จบ--
-ปส-
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ในช่วงปี 2540 - 2543 สถานการณ์ภายในสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียยังมีความไม่สงบสืบเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างชนชาติ กระทรวงการต่างประเทศจึงได้ชะลอการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตออกไป ต่อมาเมื่อปลายปี 2543 ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหพันธ์สาธารณรัฐยูโก-สลาเวีย โดยมีการเลือกตั้งทั่วไป และรัฐบาลชุดใหม่ซึ่งชนะการเลือกตั้งได้รับการยอมรับจากนานาชาติในการเข้าบริหารประเทศ ส่งผลให้สมัชชาสหประชาชาติได้พิจารณารับสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียเข้าเป็นสมาชิกใหม่ กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เริ่มทาบทามสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน โดยประสานกับคณะทูตถาวรของสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กเกี่ยวกับรูปแบบในการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ และได้ตกลงที่จะดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ ในรูปแบบหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตระหว่างกันโดยมีข้อความหลักในหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าวว่า "…the Government of the Kingdom of Thailand has agreed toexchange with the Government of Serbia and Montenegro diplomatic envoys with the rank of ambassador …"ซึ่งตามข้อบัญญัติในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 มิได้กำหนดรูปแบบของการสถาปนา ดังนั้น การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันโดยหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตจึงสามารถกระทำได้และรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียได้ยอมรับสาระในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนของไทยแล้ว หลังจากนั้นได้มีหนังสือแจ้งเลขาธิการสหประชาชาติว่า ได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "เซอร์เบียและมอนเตเนโกร" กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เสนอให้การสถาปนาความสัมพันธ์ในครั้งนี้ เป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเซอร์เบียและมอนเตเนโกรในรูปแบบหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตระหว่างคณะทูตถาวรของไทยฯ กับคณะทูตถาวรของเซอร์เบียและมอนเตเนโกรฯประจำนครนิวยอร์กต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 เมษายน 2546--จบ--
-ปส-